สภาวะความรู้สึกหวาดกลัวอิสลามของชุมชนในเทศบาลเมืองปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจนิยาม ความหมาย ลักษณะสภาวะความรู้สึกหวาดกลัวอิสลาม และสำรวจความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ผลกระทบของสภาวะความรู้สึกหวาดกลัวอิสลาม (Islamophobia) โดยดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ในกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้จากการสุ่มแบบโควตา (Quota Sampling) โดยกำหนดสัดส่วนเพื่อเปรียบเทียบระหว่างประชาชนในชุมชนเทศบาลเมืองปัตตานี
ทั้ง 19 ชุมชนที่นับถือศาสนาอิสลามหรือที่เรียกว่ามุสลิม กับกลุ่มประชาชนที่ไม่ใช่มุสลิม จำนวนทั้งสิ้น 114 ตัวอย่าง โดยใช้กรอบแนวคิดที่สำคัญคือ ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมเพื่อสำรวจความรู้ ความเข้าใจ และแนวคิดปิรามิดแห่งความเกลียดชัด (Pyramid of Hate) เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาผลกระทบของสภาวะความรู้สึกหวาดกลัวอิสลาม
ผลการวิจัยพบว่า สภาวะความรู้สึกหวาดกลัวอิสลามเป็นความรู้สึกเกลียดชังหรือหวาดกลัวอิสลามหรือคนที่นับถือศาสนาอิสลามที่เรียกว่ามุสลิม รวมทั้งสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลามหรือมุสลิม ซึ่งลักษณะของสภาวะความรู้สึกหวาดกลัวอิสลามแบ่งได้ 3 ระดับ คือ 1) ระดับปัจเจกชนที่ซุกซ่อนไม่แสดงพฤติกรรม 2) ระดับปัจเจกชนที่แสดงพฤติกรรมทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่ม และ3) ระดับโครงสร้างในรัฐระดับต่างๆที่มาจากนโยบาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ กฎหมายที่มุ่งปิดกั้น ลดทอน กีดกันสิทธิบางประการ หรือการเลือกปฏิบัติทางสังคมหรือทางการเมืองต่อกลุ่มมุสลิมหรือศาสนาอิสลาม
ผลการศึกษาด้านความรู้ ความเข้าใจและการรับรู้ผลกระทบของสภาวะความรู้สึกหวาดกลัวอิสลาม พบว่ากลุ่มตัวอย่างในชุมชนเขตเทศบาลเมืองปัตตานี มีระดับความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ผลกระทบของสภาวะความรู้สึกหวาดกลัวอิสลามน้อยหรือต่ำ อีกทั้งไม่มีความแตกต่างระหว่างตัวแปรศาสนาอิสลามและศาสนาอื่น ๆ ในด้านระดับความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ผลกระทบ แต่ตัวแปรด้านการศึกษาระดับปริญญาโทและการศึกษาระดับซะนาวีย์ซึ่งเป็นการศึกษาด้านศาสนาอิสลามระดับสูงกลับส่งผลต่อระดับความรู้ ความเข้าใจและการรับรู้ผลกระทบของกลุ่มตัวอย่างในระดับสูง นั่นหมายความว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาระดับปริญญาโทและซะนาวีย์มีระดับความรู้ ความเข้าใจและการรับรู้ผลกระทบของสภาวะความรู้สึกหวาดกลัวอิสลามสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษรReferences
จรัญ มะลูลีม. (2559). การใช้อิสลาโมโฟเบีย เป็นเครื่องมือหาเสียง ของนักการเมืองสหรัฐ. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.matichonweekly.com/column /article_2030
ซากีย์ พิทักษ์คุมพล. (2550). ทัศนของอิสลามต่อความรุนแรง: ความท้าทายในยุคสมัยการก่อการร้ายสากล. ดำรงวิชาการ, 6(2), 99-125. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.damrong-journal.su.ac.th/upload/pdf/75_7.pdf
ฐิติมาศ คำวงษ์. (2560). ความสัมพันธ์มุสลิมและไทยพุทธในโลกออนไลน์: กรณีศึกษา Facebook กลุ่มต่อต้านมุสลิมหัวรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ Cerita Patani (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). สืบค้นจาก https://sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/15148/BA_ Thitimas_Kam wong.pdf?sequence=1&isAllowed=y
ดอน ปาทาน เอกรินทร์ ต่วนศิริ และ อันวาร์ กอมะ. (2561). รายงานสัญญาณความหวาดกลัวอิสลามในสังคม ไทย. ปัตตานี: สมิลัน เพรส.
ผกาวดี สุพรรณจิตวนา. (2561). ความไม่คุ้นเคยกับการต่อต้านการก่อสร้างมัสยิดในพื้นที่ภาคเหนือของไทย. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 24(2), 3-33.
ภานุพงศ์ เพชรพลอย. (2559). นัยของความหวาดกลัวอิสลามต่อกระแสต่อต้านสหภาพยุโรปในกลุ่มวิเชอกราดกรณีศึกษา: ฮังการี. วารสารยุโรปศึกษา, 24(2), 10-51.
มาโนชญ์ อารีย์. (2559). ทรัมป์กับโลกมุสลิม ความสัมพันธ์ที่ไม่ง่าย. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://deepsouthwatch.org/th/node/9843.
มูหามัดรูยานี บากา และ อิบรอเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต. (2552). สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารปาริชาติ, 22(1), 131-139.
ร้องสวมฮิญาบ ในรร.อนุบาล. (2565). สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จากhttps://www. khaosod.co.th/newspaper/newspaper-front-page/news_7103019
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปัตตานี. (2564). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดปัตตานี ประจำปี 2564. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565, จากhttps://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/down load/article/article_20211110164810.pdf
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (ม.ป.ป.ก). Pattani Heritage City ประวัติชุมชนไทย/จีน ความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2567, จาก https://pattani heritagecity.psu.ac.th/ประวัติชุมชนไทย/จีน/ความเป็นมา
__________________________________. (ม.ป.ป.ข). Pattani Heritage City มัสยิดปากีสถาน. สืบค้น 30 กรกฎาคม 2567, จาก https://pattaniheritagecity. psu.ac.th/landmark/มัสยิดปากีสถาน
อับดุลสุโก ดินอะ. (2558ก). โรคหวาดกลัวอิสลาม (Islamophobia) ทั้งโลกตะวันตกและไทย. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://deepsouthwatch.org/th /node/7583
____________. (2558ข). โรคหวาดกลัวอิสลาม (Islamophobia) กับความท้าทายของมุสลิมในยุคเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www. publicpostonline.net/2460
เอกรินทร์ ต่วนศิริ และอันวาร์ กอมะ. (2561). ว่าด้วยความสัมพันธ์ที่เปราะบาง ระหว่างกลุ่มชาวพุทธและมุสลิมในสังคมไทย. ปัตตานี: ปาตานีฟอรั่ม.
¬¬¬____________________________. (2562). ความสัมพันธ์ที่เปราะบางระหว่างชาวพุทธและมุสลิมในสังคมไทย. วารสารอิสลามศึกษา, 10(2), 14-26.
Anti-Defamation League. (2021). Pyramid of Hate. Retrieved November 1, 2022, from https://www.adl.org/sites/ default/files/ pyramid-of-hate-web-english_1.pdf
Armstrong, P. (2010). Bloom’s Taxonomy. Retrieved November 5, 2022, from https://cft.vanderbilt. edu/guides-sub-pages/blooms-taxonomy/
Awad, N. (2014). Religio-phobia; Western Islam, Social Integration and the Resurgence of Religiosity in Europe. The Muslim World, 103(4), 433-447.
Bloom, B. S., Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. Handbook I: Cognitive domain. London: Longmans.
Qiu, L. (2016). Obama vs/ Trump on the phrase ‘radical Islam’. from https://www.politifact.com/ article/2016/jun/14/obama-vs-trump-radical-islam/
The Bridge Initiative Team. (2019). Factsheet: Polls on Islam, Muslims and Islamophobia in Canada. Retrieved February 12, 2021, from https://bridge.georgetown.edu/research/factsheet-polls-on-islam-muslims-and-islamophobia-in-canada/
______________________. (2016). When Isamophobia Turns Violence: The 2016 U.S. Presidential Elections. Retrieved February 12, 2021, from https://bridge.georgetown.edu/wpcontent /uploads/ 2018/11/When-Islamophobia-Turns-Violent.pdf
Wigura, C. (2016). Poland’s Islamophobia. Retrieved January 14, 2020, from https://carnegieeurope. eu/strategiceurope/63892