สถานภาพงานวิจัยภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง

Main Article Content

ดีอนา คาซา

บทคัดย่อ

การศึกษาภาษาไทยในฐานะภาษาที่สองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมถือเป็นแขนงหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่งในโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจากภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพรวมสถานภาพงานวิจัย สังเคราะห์เนื้อหาและชี้ให้เห็นแนวโน้มของงานวิจัยภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง โดยรวบรวมข้อมูลงานวิจัยจากเว็บไซต์ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย หรือ Thai Journals Online (ThaiJo) และวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2566 ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาเกี่ยวกับภาษาไทยในฐานะภาษาที่สองมีสองแนวทางหลัก คือ ภาษาศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ทั้งสองแนวทางต่างมีลักษณะการวิจัยเฉพาะทางของตนเอง แนวทางภาษาศาสตร์เน้นการศึกษาระบบภาษาไทยและการประยุกต์ใช้ผลการวิจัยเพื่อออกแบบในการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและข้อมูลธรรมชาติ ส่วนแนวทางศึกษาศาสตร์มุ่งวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ และการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลกึ่งทดลอง โดยทั้งสองแนวทางมีความสนใจในกลุ่มประชากรที่หลากหลายในการศึกษา ผู้วิจัยเห็นว่างานวิจัยแนวนี้จะได้รับการพัฒนาให้มีประเด็นการศึกษาที่หลากหลายมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดีอนา คาซา และณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2566). สิทธิทางสังคม หรือ หน้า?: ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจในการปฏิสัมพันธ์ของชาวอินโดนีเซียที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองกับชาวไทย. ภาษาและภาษาศาสตร์. 41(1), 118-143.

ทรรศนีย์ โมรา. (2560). โครงสร้างวากยสัมพันธ์คำประสมไทย-จีนที่ส่งผลต่อผู้เรียนภาษาในฐานะภาษาที่สอง. จีนศึกษา. 10(2), 341-364.

พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ. (2559). สถานภาพงานวิจัยด้านการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 12(2), 207–222.

เมตตา วิวัฒนานุกูล (กฤตวิทย์) . (2551). รายงานการวิจัยเรื่องสถานภาพการศึกษาการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมระหว่างปี 2540-2551. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมตตา วิวัฒนานุกูล (กฤตวิทย์). (2555). การจัดการความรู้การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์. 30(4), 48-66.

เยี่ยน หลัว. (2556). การสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิไล ธรรมวาจา. (2561). การศึกษาปัญหาการกล่าวสุนทรพจน์ภาษาไทยของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549, 19 ตุลาคม). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบ พ.ศ. 2550 – 2554. https://www.nesdc.go.th/download/article/article_20160323112418.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554, 26 ตุลาคม). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. https://www.nesdc.go.th/download/article/article_ 20160323112431.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559, 29 ธันวาคม). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid =6422

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565, 24 ตุลาคม). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566 – 2570. https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20230307173518.pdf

อรทัย ขันโท. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้าใจในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของนักศึกษาจีนและชุมชนบริเวณโดยรอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสาร

ฟ้าเหนือ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 11(1), 118-148.

Bill, V., & Benati Allessandro, G. (2010). Key Terms in Second Language Acquisition. London: Continuum.

Ellis, R. (2015). Understanding second language acquisition. 2nd edition. Oxford: Oxford University Press.

Krashen, S. (1981). Second language acquisition. Second Language Learning. 3(7), 19-39.

Ringbom, H. (1980). On the distinction between second-language acquisition and foreign-language learning. AFinLAn vuosikirja, 37-44.