ชื่อภาษาจีนของผลิตภัณฑ์อาหารไทยที่ใช้ในประเทศจีน: ลักษณะภาษาและความหมาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะภาษาและวิเคราะห์ความหมายที่ปรากฏในชื่อภาษาจีนของผลิตภัณฑ์อาหารไทยที่ใช้ในประเทศจีน 4 ประเภท ได้แก่ ข้าวสาร ขนมขบเคี้ยว ขนมอบ และผลไม้แปรรูปด้วยการทำแห้ง จากเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ของประเทศจีน 3 เว็บไซต์ ได้แก่ www.taobao.com www.1688.com และ www.tmall.com
ผลการศึกษาลักษณะภาษาพบการใช้ชื่อภาษาจีน ชื่อภาษาไทย และชื่อภาษาอังกฤษในรูปแบบภาษาเดียว สองภาษา และสามภาษา ทั้งสิ้น 7 รูปแบบ โดยรูปแบบสามภาษาเป็นที่นิยมมากที่สุด ในขณะเดียวกันพบว่า ภาษาจีนเป็นภาษาพื้นฐานที่ปรากฏใช้ในชื่อผลิตภัณฑ์
มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ภาษาอังกฤษและภาษาไทยตามลำดับ จำนวนพยางค์ที่ใช้ในการ
ตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ภาษาจีนพบตั้งแต่ 2 พยางค์ไปจนถึง 18 พยางค์ โดยชื่อ 6 พยางค์นิยมมากที่สุด การตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ภาษาจีนด้วยโครงสร้างไวยากรณ์เดี่ยวโดยใช้วิธีส่วนขยาย-ส่วนหลักพบมากที่สุด สำหรับผลการวิเคราะห์ความหมายพบ 13 กลุ่มความหมายที่สัมพันธ์โดยตรงกับประเภทของผลิตภัณฑ์อาหารทั้ง 4 ประเภท ทั้งยังเป็นความหมายตรงที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แก่ผู้บริโภคได้อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา สำหรับโครงสร้าง
ทางความหมายของชื่อผลิตภัณฑ์ภาษาจีนที่ปรากฏทั้งหมดต่างเป็นชื่อที่มีโครงสร้างความหมายประกอบตั้งแต่ 2-11 กลุ่มความหมาย ในทางกลับกันไม่พบชื่อผลิตภัณฑ์ภาษาจีนที่มีโครงสร้างความหมายเดี่ยว เนื่องจากชื่อผลิตภัณฑ์อาหารส่วนใหญ่เป็นชื่อที่บรรยายถึงรสชาติ ลักษณะ วัตถุดิบสำคัญ กรรมวิธีการผลิต ประเภท และชื่อแบรนด์ของผลิตภัณฑ์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษรReferences
Boonpaisarnsatit, N. & Srioutai, J. (2012). Thailand’s Exported Food Product Brand Naming: A Focus on Semantics and Pragmatics. FEU Academic Review Journal, 6(1), 63-78.
Bryant, C. J. & Barnett, J. C. (2019). What’s in A Name? Consumer Perceptions of In Vitro Meat under Different Names. Appetite, 137, 104-113.
CASS Institute of Linguistics Dictionary. (2016). The Contemporary of Chinese Dictionary (7th ed.). Beijing: The Commercial Press.
Chan, A. and Huang, Y. (1997). Brand Naming in China: a linguistics approach. Marketing Intelligence & Planning, 15(5), 227-234.
Ebaid, H. A. (2018). Adjectives as Persuasive Tools: The Case of Product Naming. Open Journal of Modern Linguistics, 8, 262-293.
Kronrod, A., Hammar, M.E., Lee, J., Thind, H.K. & Mangano, K.M. (2021). Linguistic Delight Promotes Eating Right: Figurative Language Increases Perceived Enjoyment And Encourages Healthier Food Choices. Health Communication, 36(14), 1898-1908.
Laokhetkit, A. & Kanchanakhuha, W. (2018). Structure Meaning Names of OTOP. The 9th International Science, Social Science, Engineering and Energy Conference's e-Proceeding, May 2nd– 4th 2018. Bangkok: Kasem Bundit University. Retrieved from http://iseec2018.kbu.ac.th/e-Proceeding/proceeding_docs/Proceeding-Track-II-SocialScience/v2/09-Art8_180220100121-Amonwadee.pdf
Liu, Y., Pan, W. & Gu, W. (2010). Shiyong Xiandai Hanyu Yufa [Practical Grammar of Modern Chinese]. Beijing: The Commercial Press.
Ministry of Health of the People’s Republic of China. (2011). National Food Safety Standard General Rules for the labeling of Prepackaged Foods: GB7718-2011. Retrieved December 1, 2023, from https://fic.nfi.or.th/law/upload/file1/LR5712-1-CN_ฉลากอาหารทั่วไปในภาชนะบรรจุ-Dec2014_fic.pdf
Papies, E.K., Johannes, N., Daneva, T., Semyte, G. & Kauhanen, L.L. (2020). Using Consumption And Reward Simulations to Increase The Appeal of Plant-Based Foods. Appetite, 155, 104812.
Snodin, N. S.; Higgins, J. & Yoovathaworn, S. (2017). How Thai Businesses Utilize English in Their Product Names. Kasetsart Journal-Social Sciences, 38(2), 1-6.
Ye, T., Mattila, A. S. & Dai, S. (2023). The Impact of Product Name on Consumer Responses to Meat Alternatives. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 35(3), 1051-1067.
กรมการข้าว. (2566). องค์ความรู้เรื่องข้าว. สืบค้น 31 มีนาคม 2566, จาก http://www.ricethailand.go.th/rkb3/Varieties.htm
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). การแปรรูปผัก ผลไม้ เพื่อเพิ่มมูลค่า. สืบค้น 31 มีนาคม 2566, จาก https://mediatank.doae.go.th/medias/file_upload/07-2022/2-1738850811685209.pdf
ณัฐดาพร เลิศชีวะ. (2553). การรู้จำชื่อเฉพาะภาษาไทย: การศึกษาชื่อผลิตภัณฑ์ในข่าวเศรษฐกิจ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ) สืบค้นจาก https://www.arts.chula.ac.th/~ling/thesis/2553MA-Ling-Nattadaporn.pdf
เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2560). พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น (1997).
นิธิวดี จรรยาสวัสดิ์. (2560). การศึกษามาตรการกีดกันที่มิใช่ภาษีของประเทศจีน: ข้อกำหนด และแนวปฏิบัติว่าด้วยฉลากสินค้าอาหารบรรจุหีบห่อสำหรับสินค้าส่งออก. วารสารนักบริหาร, 37(2), 83-100.
นิรุตน์ จีระมะกร, จิราพร เกิดชูชื่น, ศราวุทธ แจ้งใจดี และสุชารัตน์ ศศิพัฒนวงษ์. (2563). การตั้งชื่อสินค้าในธุรกิจสายการบินของไทย: การเลือกใช้ภาษาและลักษณะของชื่อ. วารสารนักบริหาร, 40(2), 95-107.
ปุ่น คงเกียรติเจริญ และสมพร คงเกียรติเจริญ. (2541). บรรจุภัณฑ์อาหาร โดยความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2566, จาก https://dictionary.orst.go.th/
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือการจำแนกอาหาร ขนม นม และเครื่องดื่ม ตามมาตรฐานโภชนาการ สำหรับเด็กอายุ 3-15 ปี (ฉบับปรับปรุง). สืบค้น 31 มีนาคม 2566, จาก https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/book/201526
เหยิน จิ่งเหวิน. (2558). สุดยอดคัมภีร์ไวยากรณ์จีน ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.