การศึกษาเหตุการณ์เกี่ยวกับความรักของตัวละครเอก ในลิลิตพระลอ ขูลูนางอั้ว และอลองเจ้าสามลอ

Main Article Content

สุธิญา พูนเอียด
เธียรดนัย เสริมบุญไพศาล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เหตุการณ์เกี่ยวกับความรักของตัวละครเอกในลิลิตพระลอ  ขูลูนางอั้ว และอลองเจ้าสามลอ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารขั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรมทั้ง 3 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอด้วยการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า เหตุการณ์เกี่ยวกับความรักของตัวละครเอกในวรรณกรรมทั้ง 3 เรื่อง มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) การพบรักของตัวละคร ประกอบด้วยการพบรักเพราะคำเล่าลือและการพบรักเพราะเป็นคู่สร้างคู่สม 2) การเลือกคู่และการแต่งงาน ประกอบด้วยการเลือกคู่โดยผู้ใหญ่และการปฏิเสธหรือบ่ายเบี่ยงคู่ที่ผู้ใหญ่จัดหา 3) การแสดงความรัก ประกอบด้วยการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดี การรำพันถึงความทุกข์ยากลำบาก การฝากรัก การแลกเปลี่ยนสิ่งของ การสังวาส และการสั่งลาและบทฝากนาง และ 4) ความขัดแย้งและจุดจบของความรัก แต่ด้วยบริบทสังคม ทัศนคติ และความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นที่สร้างวรรณกรรมทำให้เหตุการณ์เกี่ยวกับความรักของตัวละครเอกแตกต่างกันในรายละเอียด นอกจากนั้นเหตุการณ์เกี่ยวกับความรักของตัวละครเอกในวรรณกรรม
ทั้ง 3 เรื่อง ยังมีผลต่อการดำเนินเรื่องในฐานะปมขัดแย้งของเรื่อง และจุดจบแบบโศกนาฏกรรม สะท้อนให้เห็นความเชื่อเรื่องกรรมอันเกิดจากอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อชนชาติไทอีกด้วย




Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลนาถ ชินโคตร. (2558). นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในรูปแบบวรรณคดีจินตภาพ ชุดลิลิตพระลอ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จาก https://cuir.car.chula.ac.th/handle/

/50134

คนึงชัย วิริยะสุนทร. (2532). การวิเคราะห์เรื่องขูลูนางอั้วสํานวนท้องถิ่นอีสาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิราภรณ์ พันทวี. (2562). การสื่อสารศิลปะการละครข้ามวัฒนธรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เจตนา นาควัชระ. (2514). วรรณคดีวิจารณ์และการศึกษาวรรณคดี. ใน วรรณไวทยากร ชุมชนบทความทางวิชาการถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ในโอกาสที่พระชนม์ครบ 80 พรรษาบริบูรณ์. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

ฉัฐรภรณ์ ยศสุนทร. (2554). การดัดแปลงในวรรณกรรมการ์ตูนเรื่องพระลอ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2531). พระลอตามไก่: ความงามหรือความเป็นความตาย. วารสารอักษรศาสตร์. 20(1), 1-12.

ชลธิรา กลัดอยู่. (2519). ลิลิตพระลอ การศึกษาวิจารณ์ตามแนวพุทธปรัชญา ใน รักเมืองไทย : ภาคปรัชญาและการเมืองในวรรณคดี. กรุงเทพฯ : โครงการตำราฯ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2561). หลังม่านวรรณศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สัมปชัญญะ.

ธวัช ปุณโณทก. (2525). วรรณกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

นิวัฒน์ ชินเสริม. (2565). ละครเวทีสร้างสรรค์จากวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน: ลักษณะเด่นและความสัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ปรีชา พิณทอง. (2524). วรรณคดีอีสานเรื่อง ขูลูนางอั้ว. อุบลราชธานี : โรงพิมพ์ศิริธรรม

ปาจรีย์ ณ นคร. (2550). ความรักในทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จาก https://cuir.car.chula.ac.th /handle/123456789/13440

พระวรพจน์ นิสโภ (เกียงพุทรา). (2552). การศึกษาบทบาทหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในวรรณคดีเรื่อง ลิลิตพระลอ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ภัทรวดี อุทธา และ สมาน แก้วเรือง. (2555). การเชื่อมโยงความในวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เรื่อง ขูลูนางอั้ว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน.

ลิลิตพระลอ. (ม.ป.ป.). สืบค้น 4 สิงหาคม 2566, จาก https://vajirayana.org/ลิลิตพระลอ

วาสนา ศรีรักษ์. (2542). ความตายของตัวละครเอกในวรรณคดีไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จาก https://cuir.car.chula.ac.th/ handle/123456789/68641

ศิราพร ณ ถลาง. (2539). การวิเคราะห์ตำนานการสร้างโลกของคนไท (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริวรรณ อ่อนเกตุ. (2535). การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องอลองเจ้าสามลอ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุพจน์ จูกลิ่น. (2562). งานสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ เรื่อง พระลอ ตอน ศึกโหงพราย (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากhttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/ 69697

อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์. (2531). อลองเจ้าสามลอ. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Sternberg, R. J. (1986). A triangular theory of love. Psychological review. 93(2), 119 - 135.