ความเชื่อเรื่องนัต และการสถาปนาพื้นที่ทางสังคมของนัตกะดอว์ในเมียนมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงกรอบอ้างอิงคน-ผีที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อเรื่องนัต และการสถาปนาพื้นที่ทางสังคมของนัตกะดอว์ในเมียนมา โดย
ใช้การวิจัยเอกสารด้วยวิธีชาติพันธุ์วรรณาดิจิทัลจากแหล่งข้อมูลทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และภาพยนตร์สารคดีที่ปรากฏในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ประมวลเชื่อมโยงมโนทัศน์กรอบอ้างอิงคน-ผี และวิญญาณนิยมใหม่
ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก กรอบอ้างอิงคน-ผี มีอิทธิพลต่อความเชื่อเรื่องนัตและการจัดระบบความสัมพันธ์ชุดใหม่ ในขณะที่ผู้ปกครองใช้ความเชื่อเรื่องนัตและพิธีกรรมเข้าทรงเป็นกุศโลบายทางการเมือง เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์เชิงอำนาจชุดใหม่ สามัญชนใช้ความเชื่อและพิธีกรรมบูชานัตเพื่อเปล่งเสียงร้องขอสิ่งที่รัฐและผู้ปกครองไม่สามารถตอบสนองได้ พิธีกรรมบูชานัตเปิดเผยความสัมพันธ์ระหว่างกรอบอ้างอิงคน-ผี กับปฏิบัติการทางสังคมบนพื้นที่พิธีกรรมที่ไม่ได้มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ก้าวพ้นความสัมพันธ์แบบคู่ตรงข้าม ในลักษณะพ้นพรมแดนทางกายภาพแต่ขยายปริมณฑลกว้างขวางออกไปครอบคลุมถึงพื้นที่ทางสังคมและจินตกรรม และประการที่สอง การปรากฏตัวของนัตกะดอว์ในพิธีกรรมการบูชานัต สะท้อนการเปลี่ยนแปลงกรอบอ้างอิงเรื่องเพศสภาพที่ถูกผนวกเข้ากับกรอบอ้างอิงคน-ผี การก่อรูปของมโนทัศน์ชีวิตโลกสังคมใหม่ที่มีลักษณะเลื่อนไหลและเชื่อมโยงกับบริบทโลกไร้พรมแดน เงื่อนไขและมาตรฐานจริยธรรมใหม่ในการกลายเป็นนัตกะดอว์ และรูปแบบความสัมพันธ์ชุดใหม่บนพื้นที่พิธีกรรมที่มีนัตกะดอว์เป็นผู้แสดงทางสังคมคนสำคัญ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษรReferences
กฤติธี ศรีเกตุ. (2564ก). นัตพม่ากับการเมืองวัฒนธรรม : ความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางการเมืองวัฒนธรรมในพื้นที่ความเชื่อเรื่องนัตในประเทศเมียนมา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9(5), 1820-1839.
กฤติธี ศรีเกตุ. (2564ข). ความเชื่อเรื่องนัตกับการเมืองวัฒนธรรม : พหุวัฒนธรรมท่ามกลางกระแสความเป็นเมืองในมัณฑะเลย์. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 51(1), 1-24.
คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง. (2560). ภารตะ-สยาม? ผี พราหมณ์ พุทธ?. กรุงเทพฯ: มติชน.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2527) ผีเจ้านาย. เชียงใหม่: โครงการตำรามหาวิทยาลัย สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฏฐวี ทศรฐ. (2540). ความเชื่อเรื่องนัต (Nat) ในสังคมพม่า. ใน ณัฏฐวี ทศรฐ และลักขณา ดาวรัตนหงษ์ (บ.ก.). กรุงเทพฯ : โครงการพม่าศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมฯ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทานาเบ, ชิเกฮารุ. (2555ก). การพรากความทรงจำในพิธีกรรม : กระบวนการรับรู้ในพิธีกรรมเข้าทรงในภาคเหนือของประเทศไทย. ใน ขวัญชีวัน บัวแดง และอภิญญา เฟื่องฟูสกุล (บ.ก.). พิธีกรรมและปฎิบัติการในสังคมชาวนาภาคเหนือของประเทศไทย (น. 113-139). แปลโดย อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทานาเบ, ชิเกฮารุ. (2555ข). บุคคลในกระบวนการกลายสภาวะ : ร่างกาย จิตใจ และการปรับใช้ทางวัฒนธรรม. ใน ขวัญชีวัน บัวแดง และอภิญญา เฟื่องฟูสกุล (บ.ก.). พิธีกรรมและปฎิบัติการในสังคมชาวนาภาคเหนือของประเทศไทย (น. 141-169). แปลโดย ขวัญชีวัน บัวแดง. เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เบย์เรอร์, คริส. (2545). สงครามในเลือด เพศ การเมือง และเอดส์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [War in the Blood Sex, Politics and AIDS in Southeast Asia]. แปลโดย สาลี่ เกี่ยวการค้า และสมชื่น ฮอนซา จูเนียร์. กรุงเทพฯ: เทนเมย์ โปรดักชั่น.
ยศธร โตรยศ. (2559). นัต: พลังศรัทธาของมวลชน. ไทยรัฐออนไลน์. จาก https://www. Thairath.co.th/lifestyle/ woman/661006
ลลิตา หาญวงษ์. (2561). ความเชื่อเรื่องผีนัตกับความเป็นปัจเจกในสังคมพม่า (1). มติชนออนไลน์, จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_1067577
ลลิตา หาญวงษ์. (2563). ประวัติศาสตร์นอกตำรา ตอน ผีนัต พลังศรัทธาของชาวพม่า. จาก https://www.youtube.com/ watch?v=dpKozFyg4M8
ศิรพัชร์ ฌานเชาว์วรรธน์ และมิ่ง ตันดา เตง. (2558). ศาสนาและความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติในภาษิตพม่า. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน. 6(1), 43-76.
ศุภรัตน์ ตี่คะกุล. (2564). เทพทันใจ จากนัตเมียนมาสู่เทพไทย. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์. 40(1), 135-152.
สารคดี Spirit Along the Way ตอน นัตกะด่อ: ร่างทรงอิทธิพลของชาวเมียนมา. (2566). Spirit Along the Way ตอน นัตกะด่อ: ร่างทรงอิทธิพลของชาวเมียนมา.
จาก https://www.thaipbspodcast.com/podcast/spirit-along-the-way/nat kadaws
สารคดี Spirit of Asia ตอน ผีนัต. (2557). สารคดี Spirit of Asia ตอน ผีนัต.
จาก https://www.thaipbs.or.th/program/SpiritofAsia/episodes/94679
สารคดี Spirit of Asia ตอน ศรัทธา เพศสภาพ และความอยู่รอดที่เมียนมา. (2566). สารคดี Spirit of Asia ตอน ศรัทธา เพศสภาพ และความอยู่รอดที่เมียนมา. จาก https://www.thaipbs.or.th/program/SpiritofAsia /episodes/95070
สารคดี Spirit of Asia ตอน นัตกะด่อ ทูตสองภพ. (2566). สารคดี Spirit of Asia ตอน นัตกะด่อ ทูตสองภพ. จาก https://www.thaipbs.or.th/program/Spiritofasia/ episodes/26181
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2562). ขวัญเอ๋ย ขวัญมาจากไหน?. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: Itui books.
องค์ บรรจุน. (2557). ผีนัต ที่พึ่งพิงประจำบ้านพม่า. ศิลปวัฒนธรรม, จาก https://www. silpa-mag.com/culture/ article_42242
องค์ บรรจุน. (2563). จากนัตสู่เทพทันใจผู้เปลี่ยนเงินบาทไทยเป็นจ๊าดพม่า. ศิลปวัฒนธรรม, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_47174
องค์ บรรจุน. (2566). สำรวจความเชื่อ “นัต” ระบบผีท้องถิ่นนิยมในเมียนมา ที่พุทธศาสนาเอาชนะไม่ได้. จาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_42242
อรนุช นิยมธรรม และวิรัช นิยมธรรม. (2555). นัต : ผีอารักษ์ในสังคมพม่า. ใน สุเนตร ชุตินธรานนท์ (บ.ก.), พม่าอ่านไทย: ว่าด้วยประวัติศาสตร์และศิลปะไทยในทรรศนะพม่า. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มติชน.
อรนุช นิยมธรรม และวิรัช นิยมธรรม. (2561). นัต : ผีอารักษ์ในสังคมพม่า. จาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_24067
ออสบอร์น, มิลตัน. (2544). เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : สังเขปประวัติศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). แปลโดย มัทนา เกษกมล และคณะ. กรุงเทพฯ: ตรัสวิน.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2535). ล้านนาในมิติทางวัฒนธรรม. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฮอลล์, ดี. จี. อี. (2549). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : สุวรรณภูมิ-อุษาคเนย์ภาคพิสดาร เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 3). แปลโดย วรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
A Little Travelling. (2024). Yangon U Win Hlaing [Nat Pwe]. From https:// www.facebook.com/photo?fbid=376505711942566&set=pcb.376507341942403
Bamford, S. (2019). Counting to 37: Sir Richard Carnac Temple and the Thirty-Eighth Nat. Burma Studies. 23(2), 163-252.
Bauer, P. J. (1993). Memory for Gender-consistent and Gender-inconsistent Event Sequences by Twenty-five-month-old-children. Child Dev. 64(1),285-297.
Bénédicte, Brac de La Perriáere & Jackson, P. A. (Eds). (2022). Spirit Possession in Buddhist Southeast Asia: Worlds Ever More Enchanted. Copenhagen: NIAS Press.
Bénédicte, Brac de La Perriáere & Munier-Gaillard, C. (2019). Bobogyi: A Burmese Spiritual Figure. Bangkok: River book.
Bénédicte, Brac de La Perriáere. (1992). La fête de Taunbyon: le grand rituel du culte des naq de Birmanie (Myanmar). Bulletin de l’Ecole française d’Extrême-Orient, 79 (N°2), 201-231.
Bénédicte, Brac de La Perriáere. (2002). Sibling Relationships in the Nat Stories of the Burmese Cult to the “Thirty-Seven”. Moussons, 5, 31-48.
Bénédicte, Brac de La Perriáere. (2022a). Hpyo’s Choice: Activism or Mediumship? A Gay Person’s Dilemma in Contemporary Myanmar. In P. A. Jackson & B. Baumann (Eds.), Deities and Divas: Queer Ritual Specialists in Myanmar, Thailand, and Beyond (pp. 192-221). Copenhagen: NIAS Press.
Bénédicte, Brac de La Perriáere. (2022b). Mya Nan Nwe’s Birthday: A Forum-like Ritual Event at Botataung Pagoda (Yangon). In B. Brac de La Perriáere & P. A. Jackson (Eds.), Spirit Possession in Buddhist Southeast Asia: Worlds Ever More Enchanted (pp. 69-97). Copenhagen: NIAS Press.
Charmaz, K. (2006). Constructing Grounded Theory: A Practical Guide through Qualitative Analysis. London: SAGE.
Chonpairot, J. (2016). Pwe Dramatic Performance in Mandalay. Mekong-Salween Civilization Studies Journal, 7(1), 15-30.
de Castro, E. V. (1998). Cosmological Deixis and Amerindian Perspectivism. The Journal of the Royal Anthropological Institute, 4(3), 469-488.
de Certeau, M. (1984). The Practice in Everyday Life (3rd Ed.). California: The University of California Press.
Descola, P. (2013). Beyond Nature and Culture. Trans by J. Lloyd. Chicago: University of Chicago Press.
Donahue, T. (2010). Anthropocentrism and the Argument from Gaia Theory. Ethics and the Environment, 15(2), 51-77.
Eaint Thet Su. (2009). Cross-dressing in Myanmar: From Mystical Brides to Lip-synching Queens. From https://www.frontiermyanmar.net/en/cross-dressing-in-myanmar-from-mystical-brides-to-lip-synching-queens/
Foxeus, N. (2013). Esoteric Theravada Buddhism in Burma/Myanmar. In T. Ahlbäck & B. Dahla (Eds.), The Symposium on Digital Religion, Åbo/Turku, Finland, 13-15 June 2012 (pp. 55-79). Åbo: Donner Institute for Research in Religious and Cultural History.
Gilbert, D. F. (2022). Spirits in Trans Kinship Networks: An Ethnographic Exploration of Ritual and Recognition in Queer Myanmar. In P. A. Jackson & B. Baumann (Eds.), Deities and Divas: Queer Ritual Specialists in Myanmar, Thailand and Beyond (pp. 169-191). Copenhagen: NIAS Press.
Glaser, B., & Strauss, A. (1967). The Discovery of Grounded Theory: Strategies for Qualitative Research. Mill Valley: Sociology Press.
Guthrie, E. (2004). A Study of the History and Cult of the Buddhist Earth Deity in Mainland Southeast Asia. (Unpublished doctoral dissertation). University of Canterbury, Christchurch, New Zealand.
Harvey, G. (2005). Animism: Respecting the Living World. New York: Columbia University Press.
Hobbs, C., & Spiro, M. E. (1969). Burmese Supernaturalism. The Journal of Asian Studies, 28(4), 903.
Ho, T. C. (2009). Transgender, Transgression, and Translation: A Cartography of “Nat Kadaws”: Notes on Gender and Sexuality within the Spirit Cult of Burma. Discourse, 31(3), 273-317.
Jackson, P. A. & Bauman, B. (Eds.). (2021). Deities and Divas: Queer Ritual Specialists in Myanmar, Thailand and Beyond. Copenhagen: NIAS Press.
Kohn, E. (2013). How Forests Think: Toward an Anthropology Beyond the Human. California: University of California Press.
Lilly, A. L. (2016). The Welcoming Wild: Community for Introverts and Animists. Fromhttps://alisonleighlilly.com/2016/01/13/thewelcoming-wild-com munity-for-introverts-and-animists/
Mogalakwe, M. (2006). The Use of Documentary Research Methods in Social Research. African Sociological Review, 10(1), 221-230.
Nat (deity). (2024). Wikipedia, The Free Encyclopedia: Nat (deity). From https://en.wikipedia.org/ wiki/Nat_(deity)#/media/File:Nat_Pwe.JPG
Neisser, U. (1976). Cognitive and Reality. New York: W. H. Freeman.
Ravangban, P. (2015). Nat and Nat Kadaw: The Existence of the Local Cult in Myanmar Transition. In International Conference on Burma/Myanmar Studies, 24-25 July 2015. Chiang Mai: Chiang Mai University. From https://www.burmalibrary.org/sites/burmalibrary.org/files/obl/docs21/ Society%20and%20Culture/Patchareepan-Ravangban-2015Nat_and_ Nat_Kadaw_The_Existence_of_the_Local_Cult_in_Myanmar_Transition-en.pdf
Spiro, M. E. (1967). Burmese Supernaturalism. Philadelphia: Institute for the Study of Human Issues.
Sprenger, G. (2021). Can Animism Save the World? Reflections on Personhood and Complexity in the Ecological Crisis. Sociologus, 71(1), 73-92.
Temple, R. C., Sir. (1906). The Thirty-Seven Nats: A Phrase of Spirit-Worship Prevailing in Burma/ by Sir R. C. Temple, with full-page and other illustrations. London: W. Griggs (Printer of Plates).