สภาพและเงื่อนไขความเชื่อมแน่นทางสังคมระหว่างนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความเชื่อมแน่นทางสังคมระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2-4 จำนวน 15 คน บุคลากร ผู้บริหารฝ่ายกิจการนักศึกษาจำนวน 9 คน และอาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปีจำนวน 3 คน รวม 27 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกโดยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเทียบเคียงกับแนวคิดทฤษฎี ผลการวิจัยพบว่า สภาพความเชื่อมแน่นทางสังคมระหว่างนักศึกษาเป็นลักษณะที่สมาชิกของมหาวิทยาลัยมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกันในระดับที่ยึดเหนี่ยวเกาะเกี่ยวกันได้ในบริบทต่าง ๆ เงื่อนไขที่ทำให้เกิดความเชื่อมแน่นทางสังคมมีสามระดับคือ ระดับปัจเจกบุคคล มาจากแรงจูงใจในการเป็นสมาชิก การรับรู้ความเชื่อมแน่น และการมีส่วนร่วม ระดับชุมชน มาจากค่านิยมที่ยึดถือร่วมกันและทุนทางสังคม และระดับสถาบันเกิดจากบทบาทของสถาบัน ผลการวิจัยนำไปสู่ข้อเสนอสองระดับคือ ระดับนโยบาย ผู้บริหารควรตระหนักและกำหนดนโยบายเชิงรุกต่อการสร้างสังคมแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม ระดับปฏิบัติ จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในทุกระดับบนพื้นฐานการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยมุ่งเน้นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาต่างวัฒนธรรม คณาจารย์และฝ่ายกิจการนักศึกษาควรเพิ่มทักษะการจัดการความหลากหลายและการสื่อสารทางวัฒนธรรม ผู้นำนักศึกษาควรเพิ่มภาวะผู้นำด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นแบบอย่างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลาย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษรReferences
งานทะเบียนและรับนักศึกษา กองบริหารวิชาการและวิจัยวิทยาเขตปัตตานี. (2563). จำนวนนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำแนกนักศึกษา จำแนกตามคณะ/เพศ/ศาสนา/ชั้นปี [จุลสาร] . ค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2565 จาก http://regist.pn.psu.ac.th/documents/julsan163/[163]4. pdf.
ธนาพงศ์ ไชยรีย์. (2563). คู่มือปฏิบัติงานกิจการนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 29(2), 31-48. สืบค้น 12 กันยายน 2562 , จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichart journal/article/view/69461.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2550, 16 ตุลาคม). ประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง กำหนดให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามระเบียบว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2560, 6 มิถุนายน). ประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง กำหนดให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษา พ.ศ. 2560.
สมฤดี สงวนแก้ว, เกษตรชัย และหีม, วันชัย ธรรมสัจการ และจิรัชยา เจียวก๊ก. (2563). ปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดความเชื่อมแน่นทางสังคม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 8(1), 194-216. สืบค้น 23 เมษายน 2564, จาก https:// so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalartsjournal/article/view/244243/ 165221.
Baeker, G. (2002). Sharpening lens: Recent research on cultural policy, cultural diversity, and social cohesion. Canadian journal of communication. 27(2), 179-196. Retrieved December 20, 2019, from https://www.cjc-online.ca/index.php/journal/article/view/1293.
Berman, Y., & Phillips, D. (2004). Indicators for Social Cohesion: Paper submitted to the European Network on Indicators of Social Quality of the European Foundation on Social Quality, Amsterdam. Retrieved December 20, 2019, from https://www.socialquality.org/wp-content/up loads/import/2014/10/Indicators-June-2004.pdf.
Bollen, K.A., & Hoyle, R.H. (1990). Perceived Cohesion: A Conceptual and Empirical Examination. Social Forces. 69(2), 479–504. Retrieved December 17, 2019, from https://www.jstor.org/ stable/2579670.
Breidahl, N. K., Hotug, N., & KongshØj, K. (2018). Do shared values promote social cohesion? If so, which? Evidence from Denmark. European Political Science Review.10(1), 97-118. Retrieved December 22, 2019, from https://www.researchgate.net/publication/314097748.
Carron, A.V. (1982). Cohesiveness in Sport Groups: Interpretations and Considerations. Journal of Sport and Exercise Psychology. 4(2), 123-138. Retrieved December 22, 2019, from https://doi.org/10.1123/jsp.4. 2.123.
Doyle, A. M. (2005). The Influence of Motivation and Cohesion on Future Participation in Physical Activity (Master of Arts Thesis, Mc Gill University, Montreal: Canada). Retrieved December 14, 2019, from http://digitool.library.mcgill.ca/webclient/StreamGate?folder_id= 0&dvs=1576325552182~273.
Eizaguirre, S., Pradel, M., Terrones, A., Martinez-Celorrio, X., & García, M. (2012). Multilevel Governance and Social Cohesion Bringing Back Conflict in Citizenship Practices. Urban Studies. 49(4), 1999-2016. Retrieved December 17, 2019, from https://www.researchgate.net/profile/ Xavier_MartinezCelorrio/publication/239810160_Multilevel_Governance_and_Social_Cohesion_Bringing_Back_Conflict_in_Citizenship_Practices/links/5429465c0cf238c6ea7d1fae.pdf.
Fonseca, X., Lukosch, S., & Brazier, F. (2019) Social Cohesion revisited: a new definition and how to characterize it. Innovation: The European Journal of Social Science Research, 32(2), 231-253. Retrieved December 21, 2019, from: https://www.tandfonline.com/doi/full/ 10.1080/13511610.2018.1497480
Friedkin, N. E. (2004). Social cohesion. Annual Review of Sociology. 30(1), 409-425. Retrieved August 10, 2019, from https://doi.org/10.1146/annurev. soc.30.012703.110625.
Jenson, J. (1998). Mapping Social Cohesion: The state of Canadian Research. Retrieved December 12, 2019, from http://www.cccg.umontreal.ca/pdf /CPRN/CPRN_F03.pdf.
Jeannott, S. M. (2003). Social Cohesion: Insights from Canadian research. Retrieved December 18, 2019, from https://www.researchgate.net/ profile/M_Jeannotte/publication/228981786_Social_cohesion_Insights_from_Canadian_research/links/00b7d527a982c200ba000000.pdf.
Kearns, A. & Forrest, R. (2000). Social Cohesion and Multilevel Urban Governance. Urban Studies. 37(5–6), 995–1017. Retrieved December 24, 2019, from http://usj.sagepub.com/.
Lewicki, R. & Brinsfield, C.T. (2009). Social Capital: Reaching Out, Reaching In. USA: Edward Elgar.
Moiseyenko, Olena. (2005). Education and Social Cohesion: Higher Education. Peabody Journal of Education. 80(4), 89-104. Retrieved August, 18, 2022, from https://www.tandfonline. com/doi/abs/10.1207/ S15327930pje8004_7
Moiseyenko, O. (2005). Education and Social Cohesion: Higher Education. Peabody Journal of Education, 80(4), 89-104. Retrieved August 10, 2019, from: https://www.jstor.org/stable/34 97054
Smart, D.; Volet, S.; Ang, G. (2000). Fostering social cohesion in universities: Bridging the cultural divide. Retrieved December 24, 2023, from https://researchportal.murdoch.edu.au/esploro/outputs/report/Fostering-social-cohesion-in-universities/991005542993607891.
Sloane, L. (2016). The Joint Venture: Social Capital, Social Cohesion and The Process of Integration in The Dutch Participation Society. A case-study from the Netherlands (Master of Arts Thesis, Utrecht University, Netherlands). Retrieved December 19, 2019, from https://dspace. library.uu.nl/handle/1874/344567.
UNESCO. (2015). International Standard Classification of Education. Fields of education and training 2013 (ISCED-F 2013) –Detailed field descriptions. DOI http://dx.doi.org/10.15220/ 978-92-9189-179-5-en.