การพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีการออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ ของชุมชนตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ณรงค์ เจนใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีการออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ของชุมชนตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย โดยทำการศึกษาจากสมาชิกกลุ่มทอผ้าของชุมชนบ้านวังผา และบ้านวังศิลา จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวการสัมภาษณ์ ประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบสังเกต และการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปประเด็นเนื้อหาเป็นหมวดหมู่และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) จากเดิมการเก็บลวดลายผ้า การลอกลวดลายผ้า และการออกแบบลวดลายผ้าโดยใช้วิธีการจดจำสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น 2) การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อจัดเก็บลวดลายผ้า การคัดลอกลวดลายผ้า และออกแบบลวดลายผ้าโดยสมาชิกกลุ่มทอผ้าร่วมออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ที่มีความสวยงามและแปลกใหม่ ส่งผลให้กลุ่มทอผ้าไหมสามารถเก็บลวดลายผ้าไหมได้มากขึ้น สะดวกต่อการนำมาใช้ในการทอ และ 3) การฝึกปฏิบัติใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ส่งผลให้กลุ่มทอผ้าไหมสามารถพัฒนาลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ขึ้นใหม่จำนวน 2 ลวดลาย คือ ลายโคมขอล้านนา และ ลายมัดหมี่หงส์ดำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูศักดิ์ ยาทองไชย และวิไลรัตน์ ยาทองไชย. (2556). การพัฒนาโปรแกรมออกแบบลายผ้าเพื่อการสร้างสรรค์และสืบสานภูมิปัญญาผ้าไทย. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 13(2), 198-213.

ณรงค์ฤทธิ์ มะสุใส, อัจฉรา สุมังเกษตร, เจษฎา สิงห์ทองชัย, ทรงกรด พิมพิศาล, ประพนธ์ เนียมสา, ธรรมนูญ ปัญญาทิพย์, ณัฐวุฒิ ศรีวิบูลย์ และอารยา ลาน้ำเที่ยง. (2561). การออกแบบลายผ้าทอมือ สำหรับสร้างสรรค์แฟชั่นร่วมสมัยจากภูมิปัญญากลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลกุดหว้า ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. กาฬสินธุ์ : มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ทิดหมู มักหม่วน. (2565). ผ้าทออีสาน : การศึกษา ศิลปะ สถาปัตยกรรม ศาสนสถาน อัตลักษณ์อีสานบ้านเฮา. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565, จาก https://www.isangate. com/new/32-art-culture/knowledge/ 580-pa-tor-isan-2.html.

ประทับใจ สิกขา. (2555). ผ้าทอพื้นเมืองอีสานใต้. อุบลราชธานี: ศิริธรรม ออฟเซ็ท.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2544). สภาวะตลาดปัจจุบันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรชัย โรจนพรทิพย์. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างเอกลักษณ์ชุมชนและการพัฒนาการท่องเที่ยวเขตสัมพันธวงศ์. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, สุพีร์ ลิ่มไทย และองอาจ ปทะวานิช. (2543). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด.

สนั่น บุญลา. (2565). เอกสารประกอบการอบรมการทอผ้าไหมกลุ่มทอผ้าตำบลสันมะค่า. วันที่ 21-25 กุมภาพันธ์ 2565. ณ เทศบาลตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย.

สมบัติ ประจญศานต์. (2564). การพัฒนานักออกแบบลายมัดหมี่ในชุมชน. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 9(1), 1-14

สำนักงานเทศบาลตำบลสันมะค่า. (2561). ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลสันมะค่า. เชียงราย : เทศบาลตำบลสันมะค่า.