การพัฒนาคู่มือพลังภาษาสู่ชีวิตวิถีใหม่สำหรับเสริมสร้างความตระหนักรู้สิทธิส่วนบุคคลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Main Article Content

พงศ์ฐิติ พัสอ๋อง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคู่มือพลังภาษาสู่ชีวิตวิถีใหม่สำหรับเสริมสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเพื่อศึกษาผลการปฏิบัติตนด้านการใช้และปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาหลักสูตร


ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยก่อนและหลังการพัฒนาคู่มือพลังภาษาสู่ชีวิตวิถีใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยจำนวน 185 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยคู่มือพลังภาษาสู่ชีวิตวิถีใหม่ แบบประเมินคุณภาพคู่มือพลังภาษาสู่ชีวิตวิถีใหม่ และแบบประเมินการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการใช้และปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาคู่มือพลังภาษาสู่ชีวิตวิถีใหม่อยู่ในระดับดีเยี่ยม โดยในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.96 และผลการปฏิบัติตนของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยด้านการใช้และปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมหลังการพัฒนาคู่มือ ( = 4.28) สูงกว่าก่อนการพัฒนา ( = 3.79) โดยมีค่าเฉลี่ยความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น ( = 0.49)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองเทพ เคลือบพณิชกุล. (2542). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.

คัมภีร์ สุดแท้. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จิราวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ:

โอเดียนสโตร์.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์. (2536). ภาษาไทยในกฎหมาย. วารสารสาธารณสุข. 12(2), 98–103.

นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษรย้อนความคิด เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อ่าน

และวิภาษา.

บดินทร์ ชาตะเวที. (2563). พฤติกรรมกับชีวิตวิถีใหม่ : New Normal. สืบค้น 10 มีนาคม 2565,จากwww.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=258.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุณย์เสนอ ตรีวิเศษ และสมเกียรติ รักษ์มณี. (2559). พลังภาษาสร้างอัตลักษณ์ในวาทกรรมของเสกสรร ประเสริฐกุล. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 13(2), 87-106.

ปกรณ์ ประจัญบาน. (2565). โปรแกรมวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานจากเครื่องมือวิจัย. สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก www.sites.google.com/site/mrphuwanesuan.

พนม คลี่ฉายา. (2563). ความผูกพัน ความเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และความรับรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันของประชาชน. วารสารนิเทศศาสตร์. 38(3), 1-16.

พระมหายุทธพิชาญ ทองจันทร์ และภักดี โพธิ์สิงห์. (2565). วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ที่ต้องใฝ่ธรรม. วารสารวนัมฎอง แหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. 9(1), 191–206.

พฤกษา เกษมสารคุณ. (2558). การใช้ภาษาโน้มน้าวใจในสื่อเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วรรณรี ปานศิริ. (2557). การพัฒนาคู่มือการใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

วลัยลักษณ์ แก้วมณี. (2563). รายงานผลการพัฒนาครูในการสร้างแบบทดสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน. ลำพูน: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1.

วิชา มหาคุณ. (2527). เอกลักษณ์ของกฎหมายไทย. ดุลพาห. 31(5), 158-167.

สาระ ปัทมพงศา (2551). การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนวัดกาญจนารามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 สุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

สุขภาพจิต, กรม. (2563). บทความด้านสุขภาพจิต เรื่อง New Normal ชีวิตวิถีใหม่. สืบค้น 9 มีนาคม 2565, จากhttps://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2288.

เสถียร คามีศักดิ์. (2553). การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน. สืบค้น 15 มีนาคม 2565, จาก http://medinfo.psu.ac.th.

โสภนา ศรีจำปา. (2559). ภาษา : สิทธิและพลังเพื่อการพัฒนา. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 35(1), 78 - 98.

White, C. M., Gummerum, M., Wood, S., & Hanoch, Y. (2017). Internet Safety and The Silver Surfer: The Relationship Between Gist Reasoning and Adults’ Risky Online Behavior. Journal of Behavioral Decision Making. 30,

-827.