ชินลง : กีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ไทย–เมียนมาร์ วิเคราะห์วาทกรรมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคมในวรรณกรรมของคามิน คมนีย์

Main Article Content

อุไรวรรณ สิงห์ทอง
ธนพร หมูคำ
วัฒนชัย หมั่นยิ่ง
ภูริวรรณ วรานุสาสน์

บทคัดย่อ

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง วาทกรรมว่าด้วยความสัมพันธ์ของมนุษย์ในวรรณกรรม ของ คามิน คมนีย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคมที่ปรากฏในวรรณกรรมของ คามิน คมนีย์ ทั้งหมด 18 เรื่อง  โดยมีวรรณกรรม 2 เรื่อง คือ “ไปเป็นเจ้าชายในแคว้นศัตรู” และ “ตะตอนพม่าตามประสาเจ้าชาย” ที่นำเสนอประเด็นกีฬากับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม การวิเคราะห์ครั้งนี้ใช้แนวคิดวาทกรรมของมิเชล ฟูโกต์ แนวคิดอุดมการณ์ของหลุยส์ อันธูแซร์ แนวคิดสัญญะของโรล็องค์ บาร์ตส์ และแนวคิดจิตวิเคราะห์คาร์ล กุลสตาฟ จุง เป็นแนวทางการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า คามิน คมนีย์ ใช้กีฬา “ชินลง” ที่เป็นกีฬาพื้นบ้านประจำท้องถิ่นประเทศเมียนมาร์เป็นเครื่องมือในการประกอบสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม พบวาทกรรมชุดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ กีฬาชินลงเพื่อสร้างบุญกุศล กีฬาชินลงเพื่อสร้างความเท่าเทียม และกีฬาชินลง เพื่อสร้างมิตรภาพ การประกอบสร้างวาทกรรมชุดนี้ พบว่า “กีฬาชินลง” เป็นสัญญะการประสานสร้างความสัมพันธ์     และสร้างความสามัคคีระหว่างไทย-เมียนมาร์ คามินยังนำเสนออุดมการณ์ชาตินิยมระหว่างการต่อสู้ของท้องถิ่นกับอำนาจรัฐและท้องถิ่นช่วงชิงพื้นที่ในการปฏิบัติการให้เกิดความสามัคคี เป็นการปฏิบัติการทางวาทกรรมว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2550). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2550 – 2554). กรุงเทพฯ :

องค์การค้าของ สกสค.

กำจร หลุยยะพงศ์. (2545). คู่แค้น-คู่รัก-คู่รักคู่แค้น : ความสัมพัันธ์ของไทยกับอุษาคเนย์. รัฐศาสตร์สาร. 23(3), 161-190.

เกศินี วิฑูรชาติ. (2561). หนังสือรวบรวมบทความวิชาการเนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต

ไทย – เมียนมา. กรุงเทพฯ : เอ็ม แอนด์ เอ็ม เลเซอร์พริ้นต์.

คามิน คมนีย์ [นามแฝง]. (2553). ไปเป็นเจ้าชาย...ในแคว้นศัตรู. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

______[นามแฝง]. (2555). ตะลอนพม่าประสาเจ้าชาย. นนทบุรี : บ้านหนังสือ.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2549). วาทกรรมการพัฒนา : อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น.

กรุงเทพฯ : วิภาษา.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2550). จิตวิทยาโค้ชกีฬา. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2559). แว่นวรรณคดี ทฤษฎีร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : นาคร.

บรรจง บุรินประโคน. (2563). การสำนึกในถิ่นที่ผ่านกวีนิพนธ์พม่า : สระมรกต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

(2). 87-112.

ประเวศ วะสี. (2540). พระสงฆ์กับการรู้เท่าทันสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.

มาโนช ดินลานสกูล. (2552). วาทกรรมวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎี

บัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ไพรัตน์ สูงกิจบูลย์. (2546). เที่ยวเมียนมาร์. กรุงเทพฯ : อทิตตาพริ้นติ้ง.

รัญชวรัชญ์ พูลศรี. (2555). วรรณสารอาเซียน : สายสัมพันธ์และสตรีวิถี. กรุงเทพ : ภาพพิมพ์.

วีระพงศ์ มีสถาน และมิมิ. (2555). ภาษาพม่า. กรุงเทพฯ : ธนาเพลส.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2529). อ่านคน - อ่านวรรณกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2559). วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ในอาเซียน. กรุงเทพฯ : เรือนแก้ว.

สุเนตร ชุตินธรานนท์ และคณะฯ. (2552). ทัศนคติเหยียดหยามเพื่อนบ้านผ่านแบบเรียน. กรุงเทพฯ : มติชน.

สุระ พิริยะสงวนพงศ์. (2557). พระมหามัยมุนีและเจดีย์สำคัญในพม่า. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2559). ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

อุณาวัณณ์ นามหิรัญ. (2560). อ่านเมือง เรื่องคนกรุง : วรรณกรรม วิถีความสัมพันธ์ และภาพแทนของพื้นที่. รมยสาร

(1). 345-356.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2562). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ : จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยน

ของอัตตา. กรุงเทพฯ : ศยาม.

______. (2563). ทฤษฎีและวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์.

Lukes, Steven. (2001). “Socialism and equality” in Michael W. Howard. (ed.) Socialism. New York :

Humanity Books.