ปฏิสัมพันธ์ของตัวละครเอกกับบริบททางสังคมในวรรณกรรมเพื่ออาเซียนเรื่อง เห่...ชะเลรุ้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ของตัวละครเอกกับบริบททางสังคมในวรรณกรรมเพื่ออาเซียนเรื่อง เห่...ชะเลรุ้ง ของประภัสสร เสวิกุล พบว่า ผู้ประพันธ์สร้างตัวละครเอกให้มีปฏิสัมพันธ์กับบริบททางสังคม 3 ลักษณะ ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ปฏิสัมพันธ์ต่อวิถีปฏิบัติในสังคม และปฏิสัมพันธ์ต่อกลไกในการพัฒนาสังคม ผ่านกลวิธีการเล่าเรื่องโดย ผู้เล่าเรื่องแบบสรรพนามบุรุษที่ 1 ที่เป็นผู้เล่าประสบการณ์ของตนเอง (I-protagonist) และ ผู้เล่าเรื่องแบบสรรพนามบุรุษที่ 1 ที่เล่าประสบการณ์ของคนอื่นหรือเป็นพยานในเหตุการณ์ที่เกิดกับตัวละคร (I-witness) มุ่งอธิบายความคิด การกระทำและการแสดงออกของบุคคลที่แตกต่างกันเนื่องจากบริบททางสังคมในประเทศกัมพูชา ช่วง พ.ศ. 2518 และแสดงผลกระทบของสงครามต่อประชาชน เพื่อเป็นอุทาหรณ์ไม่ให้เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษรReferences
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2551). มารู้จักอาเซียนกันเถอะ. กรุงเทพฯ: เอราวัณการพิมพ์.
เขียน ธีระวิทย์, สุณัย ผากสุก. (2543). กัมพูชา ประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ ความมั่นคง การเมืองและการต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
งวล ญิล, ผู้แต่ง. (2548). จิตวิญญาณมารดาธิปไตยในสังคมเขมร. แปลโดย ภูมิจิต เรืองเดช. บุรีรัมย์: วินัย.
เดวิด แชนด์เลอร์. (2546). ประวัติศาสตร์กัมพูชา (พิมพ์ครั้งที่ 3). แปลโดย พรรณงาม เง่าธรรมสาร,
สดใส ขันติวรพงศ์, วงเดือน นาราสัจจ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐพร ไทยจงรักษ์. (2548). สภาพการดำรงชีวิตของชาวเขมรระหว่าง พ.ศ. 2518-2522: ศึกษา “ภูมิภาค”
ตะวันออก ตะวันตกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงเหนือ (ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธิบดี บัวคำศรี. (2547). ประวัติศาสตร์กัมพูชา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ประภัสสร เสวิกุล. (2557). เห่...ชะเลรุ้ง. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
พระมหาสนอง ปัจโจปการี. (2553). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.
พวงทอง ภวัครพันธุ์. (2552). สงคราม การค้า และชาตินิยมในความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา. สมุทรปราการ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
ศานติ ภักดีคำ. (2561). “ไทย” ในแบบเรียนประวัติศาสตร์กัมพูชา ตัวร้ายแย่งชิงดินแดน-นำความวิบัติสู่เขมร?. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2565, จากhttps://www.silpa-mag.com/history/article_39654
ศานติ ภักดีคำ. (2564). เปิดวรรณกรรมชวนเชื่อ “บ็อณฎำตาเมียะฮ์” เล่าสภาพกัมพูชา หลังเป็นพื้นที่ไทยรบเวียดนาม. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2565, จากhttps://www.silpa-mag.com/history/article_69337
สมทรง บุรุษพัฒน์. (2537). วจนวิเคราะห์ การวิเคราะห์ภาษาระดับข้อความ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
สรณัฐ ไตลังคะ. (2560). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). ทฤษฎีสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).