การจัดกิจกรรมแบบบูรณาการการทำงานกับการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักศึกษาจีนที่มีทักษะการสื่อสารภาษาไทยและพฤติกรรมการเรียนรู้แตกต่างกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมแบบบูรณาการการทำงานกับการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักศึกษาจีนในหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และพัฒนานวัตกรรมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับนักศึกษาจีน ผลการวิจัยนอกจากได้กิจกรรมปฏิบัติงานภาคสนามที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักศึกษาจีนแล้ว ยังพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยสนับสนุนการจัดกิจกรรมบูรณาการการทำงานกับการเรียนรู้ภาษาไทย คือ นวัตกรรม “โมเดลการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบพึ่งพาสำหรับผู้เรียนชาวจีน” ซึ่งพัฒนาจากแนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนและมีรูปแบบที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มนักศึกษาจีนซึ่งมีทักษะการสื่อสารภาษาไทยและพฤติกรรมการเรียนรู้แตกต่างกัน นอกจากนี้การดำเนินกิจกรรมยังนำไปสู่การค้นพบนวัตกรรม “โมเดลความประสงค์ร่วมสี่ภาคส่วน” ซึ่งช่วยในการหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษรReferences
กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2561). กลวิธีการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 18(2), 164-178.
ชลธิศ ดาราวงษ์. (2563). ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความพึงพอใจและผลการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรออนไลน์ในสถาบันระดับอุดมศึกษา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 14(3), 158-166.
ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2559). การปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมของนักศึกษาต่างชาติ: กรณีศึกษา
นักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 8(2),
-241.
บุษยากร ซ้ายขวา, ผาสุข บุญธรรม และเพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท. (2560). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อน
ช่วยเพื่อน (Peer–assisted Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของ
นักเรียนชนเผ่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 10(3),
-86.
ภาสพงศ์ ผิวพอใช้. (2558). ลีลาการเรียนรู้ของนักศึกษาชาวจีนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (รายงานผลการวิจัย). ใน การประชุมทางวิชาการของ
มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขา
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (น. 270-272). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
เมตตา วิวัฒนานุกูล, (2559). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชดา ลาภใหญ่, (2559). แนวทางและข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศให้แก่
นักศึกษาจีนอย่างมีประสิทธิผล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. 12(12),
-47.
วชิรศักดิ์ มัชฌิมาภิโร. (2557). บทบาทของนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนรู้. วารสารราชพฤกษ์. 12(2), 1-9.
วัชรพล วิบูลยศริน. (2556). นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
วินัย มะหะหมัด. (2564). Work-integrated learning (WIL) การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน.
สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.lib.ku.ac.th/2019/index.php/covid-19/1135-wil
สายสุดา ปั้นตระกูล. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและผู้เรียนปกติ. วารสารร่มพฤกษ์. 38(2), 35-48.
สุรีย์วรรณ เสถียรสุคนธ์, (2554). การสอนภาษาไทยให้แก่นักศึกษาชาวจีน: สภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ไข.วารสารมนุษยศาสตร์. 18(1), 127-140.
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. (2563). แนวทางการจัดการเรียน
การสอนเชิงบูรณาการกับการทํางาน (Work Integrated Learning: WIL). สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2564,
จาก https://co-op.sru.ac.th/home/work_integrated_learning_wil.pdf
อรรคเดช โสสองชั้น. (2563). ความหมายของ นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา. สืบค้น 2
พฤษภาคม 2564, จาก https://bsci2.com
Ginsberg-Block, M., Rohrbeck, C. A., Lavigne N. C., & Fantuzzo J. W. (2008). Peer-Assisted Learning: An Academic Strategy for Enhancing Motivation Among Diverse Students.
In Hudley C. & Gottfried A. E. (Eds.), Academic motivation and the culture of
schooling in childhood and adolescence (pp. 247-273). DOI:10.1093/acprof:oso/ 9780195326819.003.0011