การศึกษาการแปลประโยคเงื่อนไขจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยโดยใช้ คลังข้อมูลภาษาผู้เรียน

Main Article Content

ศุภกาญจน์ ผาทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เสนอผลการศึกษาการแปลประโยคเงื่อนไขจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยโดยใช้คลังข้อมูลผลการทดสอบก่อนและหลังเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ศึกษารายวิชาการแปลภาษาอังกฤษ-ไทยเบื้องต้น จำนวน 60 คน เพื่อให้ทราบปัญหาของผู้เรียนและนำผลการศึกษาไปใช้พัฒนาผู้เรียนให้สามารถแก้ไขปัญหาการแปลประโยคเงื่อนไขได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากการวิเคราะห์คลังข้อมูลการแปลประโยคเงื่อนไข 5 ประเภทด้วยคอมพิวเตอร์พบคำสำคัญที่ใช้บ่อยรวม 17 คำ ประกอบด้วย คำช่วยกริยา คำบ่งชี้การณ์ลักษณะ และกริยาวิเศษณ์ ซึ่งแสดงผลการวิเคราะห์ด้วยตารางแจกแจงลักษณะ (Document-feature matrixes) และจากการวิเคราะห์การสมนัย (Correspondence analysis) เพื่อหาความสอดคล้องระหว่างแบบแผนความถี่ของคำหน้าที่กับประโยคเงื่อนไขประเภทต่าง ๆ สามารถจำแนกประโยคเงื่อนไขในภาษาไทยได้ชัดเจนในกรณีของประโยคเงื่อนไขที่เป็นจริงได้ (Real conditional) 2 ประเภท และประโยคเงื่อนไขที่ไม่เป็นจริง (Unreal conditional) 3 ประเภท ผู้วิจัยยังพบว่า ถึงแม้ในระบบไวยากรณ์ภาษาไทยจะไม่มีการผันกริยาตามกาล (Tense) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการจำแนกประเภทของประโยคเงื่อนไขในภาษาอังกฤษ ผู้เรียนได้เลือกใช้คำหน้าที่ต่าง ๆ ในภาษาไทยเพื่อบ่งชี้ความหมายทางไวยากรณ์ที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลาย รวมทั้งมีการเติมกริยาวิเศษณ์ โดยเฉพาะในประโยคเงื่อนไขที่ไม่เป็นจริง แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีความเข้าใจความหมายของประโยคเงื่อนไขภาษาอังกฤษดีขึ้นและสามารถแก้ไขปัญหาการแปลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จามรี คีรีรัฐนิคม. (2548). การพัฒนาทักษะการแปลของนิสิตที่เรียนวิชาการแปลเบื้องต้น มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา. สงขลา: ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ดิษรา ศุภราชโยธิน. (2553). การศึกษาข้อบกพร่องและความสัมพันธ์ของความสามารถในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยระดับอุดมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 7(2), 69-85.

ทิพา เทพอัครพงศ์. (2547). การแปลเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปณชนก ชาญไววิทย์. (2558). การพัฒนาทักษะการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการแปล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. 6(2), 1-11.

พรชัย พรวิริยะกิจ และวรินทร แดนดี. (2558). ข้อผิดพลาดในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล. วารสารสังคมศาสตร์. 4(2), 16-24.

วรนาถ วิมลเฉลา. (2543). คู่มือสอนแปล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรีวรรณ ลาวรรณ. (2541). การศึกษาความสัมพันธ์ของความสามารถในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย กับความสามารถ ในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ของนิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2541 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2555). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิโรจน์ อรุณมานะกุล. (2545). ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล: หลักการและการใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมภพ ใหญ่โสมานัง. (2563). ความเข้าใจอิทธิพลเชิงโครงสร้างและไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในบทแปลภาษาไทยของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 28(2), 244-264.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Baker, P. (2010). Corpus Methods in Linguistics. In Litosseliti, L. (Ed.). Research Methods in Linguistics. London: Continuum.

Desagulier, G. (2017). Corpus Linguistics and Statistics with R: Introduction to Quantitative Methods in Linguistics. Berlin: Springer International Publishing.

Gries, S. Th. (2009). Quantitative Corpus Linguistics with R: A Practical Introduction. New York: Routledge.

Hosseini, T. S. (2008). Ways of Testing a Translation & Testing and Evaluation in the Translation Classroom. Retrieved from http://www.translationdirectory.com/ articles/article1699.php

Pengpanich, A. (2014). Markedness and the Acquisition of English Conditionals by Ramkhamhaeng University Students. Ramkhamhaeng University Journal Humanities Edition 33(2), 71-98.

Pojprasat, S. (2007). An Analysis of Translation Errors Made by Mattayomsuksa 6 Students. (Master’s Thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University.

Supharatyothin, D. (2013). Developing the Ability to Translate the Passive Voice Structure of English into Thai, and Thai into English Using the Contrastive Analysis Method of Teaching. Journal of Teaching and Education. 2(3), 177–183.

Winter, B. (2020). Statistics for Linguists: An Introduction Using R. New York: Routledge.