การประเมินความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จำแนกตามตัวแปรโรงเรียนและระดับชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับ ประถมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1 จำนวน 372 คน มาจากโรงเรียนประถมศึกษา 9 แห่ง ได้คำนวณจากสูตรของเครซี่และมอร์แกนและสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินความฉลาดรู้ทางกาย แบ่งเป็น ด้านความรู้ในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ด้านแรงจูงใจในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ด้านความเชื่อมั่นในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน และด้านสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง
ผลการวิจัยพบว่า ผลร่วมของโรงเรียนและระดับชั้นเรียนส่งผลต่อความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในขณะที่โรงเรียนและระดับชั้นไม่ส่งผลต่อความรู้ในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ด้านแรงจูงใจในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ด้านความเชื่อมั่นในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษรReferences
ก้องสยาม ลับไพรี. (2562). การพัฒนาเครื่องมือวัดความฉลาดรู้ทางกายตามแนวคิดของไวท์เฮดสำหรับนักเรียน
ประถมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จีรนันท์ เจริญชัยภินันท์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมการสอนครูพลศึกษาสำหรับครูที่ไม่มีวุฒิพลศึกษาในระดับประถม (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2556). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2559). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร:
ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มัณฑรา ธรรมบุศย์. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีจิตสังคมของอีริกสัน. สืบค้น 11 ตุลาคม 2564, จาก https://bit.ly/3oN7ZDn.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2561). รวบรวมบทความเกี่ยวกับ ปรัชญา หลักการ วิธีการสอนและการวัด เพื่อประเมินทาง พลศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2562). การพัฒนาแบบประเมินความฉลาดรู้ทางกายสำหรับนักเรียนไทย 2562. วารสารสุขศึกษาพลศึกษาและสันทนาการ. 45(2), 232-246
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2548). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ. (2559). การสำรวจการมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทยปี 2559. สืบค้น 10 สิงหาคม 2564, จาก https://www.pathailand.com/upload/forum/padoc_Active.pdf
ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย. (2563). โควิด-19 ฉุด “กิจกรรมทางกายผู้สูงวัย” ต่ำสุดรอบ 9 ปี. สืบค้น 10 สิงหาคม 2564, จาก https://bluechipthai.com/information-โควิด-19_ฉุด_“กิจกรรมทางกายผู้สูงวัย”_ต่ำสุดรอบรอบ_9_ปี-31323833
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2561). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองสำหรับเด็กวัย 7-12 ปี. กรุงเทพฯ: พลัสเพรส.
สุรางค์ โค้วตะกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์. (2558). รู้ทัน “โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง”. สืบค้น 11 สิงหาคม 2564, จาก
https://www.thaihealth.or.th/microsite/content/5/ncds/181/29899-รู้ทัน+%60โรคไม่ ติดต่อเรื้อรัง%60.htm
Australian Physical Literacy Framework. (2019). Australian Physical Literacy Framework. Retrieved May 18,2020, from https://www.sportaus.gov.au/physical_literacy
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. New York: Harper Collins.
Kirkendall, Gruber, J. J., & Johnson, A. (1987). Measurement and Evaluation for Physical Educators.
Champaign: Illinois: Kinetics.
Law, B., Bruner, B., Benson, S. S., Anderson, K., Gregg, M., Hall, N., …Tremblay, M. S. (2018). Associations
between teacher training and measures of physical literacy among Canadian 8- to 12-year-oldstudents. BMC Public Health, 18(2). 75-84.
Patricia, E. L., Boyer, C., Lloyd, M., Yang, Y., Boiarskaia, E., Zhu, W., & Tremblay, M. S. (2015). The Canadian Assessment of Physical Literacy: methods for children in grades 4 to 6 (8 to 12 years). BMC Public Health, 15, 2-11.
Siu, M. C., Raymond, S. K. W., Leung, F. L. E., Wallhead, T., Morgan, K., Milton, D., & Sit, C. H. P. (2020). Effect of sport education on students’ perceived physical literacy, motivation, and physical activity levels in university required physical education: a cluster-randomized trial. Higher Education. 81(6), 1137-1155.
Saunders, T. J., MacDonald, D. J., Copeland, J. L., Patricia, E. L., Barnes, J. D., Kevin Belanger,… Tremblay M. S.. (2018). The relationship between sedentary behaviour and physical literacy in Canadian children: a cross-sectional analysis from the RBC-CAPL Learn to Play study. BMC Public Health, 18(2). 45-65.
Whitehead, M. (2001). The concept of physical literacy. European Journal of Physical Education,
(2), 127-138.