การพัฒนาวีดิทัศน์บนอินเทอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งนันทนาการในจังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาวีดิทัศน์บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งนันทนาการในจังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อวีดิทัศน์บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งนันทนาการในจังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่างสำหรับพัฒนาแนวคิดการผลิตวีดีทัศน์ จำนวน 60 คน กลุ่มตัวอย่างสำหรับประเมินความพึงพอใจที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 385 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) วีดิทัศน์บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งนันทนาการในจังหวัดนครนายก 2) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 3) แบบสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง 4) แบบประเมินคุณภาพวีดิทัศน์บนอินเตอร์เน็ต 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อวีดิทัศน์บนอินเตอร์เน็ต 6) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 7) แบบบรรยายเหตุการณ์สำคัญ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการเปรียบเทียบความคงที่ของข้อมูลและวิธีการสามเส้า ผลการวิจัย 1) ได้แหล่งนันทนาการสำหรับผลิตรายการวิดีทัศน์บนอินเตอร์เน็ตจำนวน 6 แหล่ง 2) ผลการประเมินวีดิทัศน์บนอินเตอร์เน็ตโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาโดยรวมอยู่ในระดับดี และผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อโดยรวมอยู่ในระดับดี3) ความพึงพอใจต่อวีดิทัศน์บนอินเตอร์เน็ตทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษรReferences
จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช.
ชลธิชา จำบุญมา. (2556). การผลิตวีดิทัศน์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดเชียงราย. จุลนิพนธ์
นิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. เพชรบุรี: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัย
ศิลปากร
ปิยะดนัย วิเคียน. (2557). กระบวนการผลิตวีดิทัศน์และภาพยนตร์. สืบค้นจากhttps://krupiyadanai.wordpress.com
พงศ์ศักดิ์ บัวจะมะ. (2555). การพัฒนาวีดิทัศน์บนอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมความมีจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปริญญานิพนธ์
กศ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พิสุทธา อารีราษฎร์ และณัฐพงษ์ พระลับรักษา. (2551). การสร้างสื่อวีดิทัศน์. สืบค้นจากwww.itrmu.net/tc/files.php?
file=modules/coursetot/files/36-VD.pdf
ภาวุษ พงษ์วิทยาภานุ และสุธน โรจน์อนุสรณ์. (2552). E-Marketing เจาะเทคนิคการตลาดออนไลน์. กรุงเทพฯ:
ตลาด ดอท คอม.
รุ่งทิวา เสาร์สิงห์, วรพรรณ อิบรอฮีม, และมุฑิตา พันธ์โณภาศ. (2562). การผลิตสื่อวีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว
โดยชุมชน เรื่อง เกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา. 9(17): 33-39
วิพงษ์ชัย ร้องขันแก้ว. (2557). นันทนาการและการบริการชุมชน. กรุงเทพฯ: คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิพงษ์ชัย ร้องขันแก้ว. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจจากการเรียนด้วยวีดิทัศน์บนอินเตอร์เน็ต.
วารสารคณะพลศึกษา. 20(2): 43-52.
สมศักดิ์ คล้ายสังข์. (2560). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์และสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการตลาดและการท่องเที่ยว แบบมีส่วนร่วมใน
พื้นที่เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขา
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12(3): 285-296.
สมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวช และณัฐกร สงคราม. (2560). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายการวีดิทัศน์. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน
2561; จาก https://thaimooc.org/courses/course- v1:KMITLMOOC+kmitl002+2017_T2/info
สาลี่ สุภาภรณ์. (2550). วิจัยเชิงคุณภาพทางพลศึกษาและกีฬา. นครนายก: ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์.
สัภยา ไชยมาตย์ และณัฐพงษ์ พระลับรักษา. (2558). การผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวจังหวัด
มหาสารคาม. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมครั้งที่ 1
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วันที่12 – 13 พฤษภาคม 2558. หน้า 97-100.
Clawson, M. (1963). Land and Water for Recreation. Chicago: Rand McNally and Co.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. Third edition. New York: John Wiley & Sons.