บทรำพึงในนวนิยายไทยเรื่องเลือดข้นคนจาง

Main Article Content

Thanasin Chutintaranond

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทรำพึงในนวนิยายไทยเรื่องเลือดข้นคนจาง ซึ่งได้รับการนำเสนอผ่าน
ตัวละครหญิงในตระกูลจิระอนันต์ 3 ตัว โดยใช้ทฤษฎีภาษาเชิงโครงสร้าง และแนวคิดบทรำพึง ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ตัวบทนวนิยายฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่ง ร่วมกับการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าในนวนิยายเรื่องนี้มีการใช้บทรำพึงของตัวละครหญิงข้างต้นรวมจำนวน 7 ตอน จาก 30 ตอน โดยบทรำพึงที่ปรากฏในนวนิยายมีลักษณะร่วมกับบทรำพึงในสื่อบันเทิงคดีประเภทอื่นรวม 4 ประการ ได้แก่ 1) ตัวละครมีสติขณะสื่อสาร 2) ตัวละครสื่อสารโดยใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง และใช้ภาษาพูด 3) ตัวละครเป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารในขณะเดียวกัน และ 4) เนื้อหาสารคือความคิด หรือความรู้สึกของตัวละครที่ผู้แต่งต้องการเปิดเผยให้ผู้รับสารรับรู้ นอกจากนี้ยังพบว่าในนวนิยายเรื่องนี้ผู้ประพันธ์เจตนาใช้บทรำพึงในบทบาทหน้าที่พิเศษอีก 2 ประการ ได้แก่ การเปิดเผยภูมิหลังของตัวละคร และการส่งเสริมเอกภาพความคิดของเรื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย