อิหม่ามกับการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมกับชาวพุทธ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมกับชาวพุทธของอิหม่าม ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เก็บข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอิหม่าม ผู้นำทางศาสนาอิสลาม จำนวน 16 คนโดยเลือกวิธีแบบเจาะจง กลุ่มชาวมุสลิมที่ไม่ใช่ผู้นำศาสนาจำนวน 48 คน และกลุ่มชาวพุทธจำนวน 44 คนแบบลูกโซ่ รวมจำนวน 108 คนซึ่งมาจากพื้นที่ 9 ชุมชน ในจังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาส เก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก นำข้อมูลมาตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ความถูกต้องตรงประเด็น และสร้างบทสรุปเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมกับชาวพุทธของอิหม่ามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีดังนี้ 1) การสื่อสารให้ความรู้เกี่ยวกับหลักศาสนาอิสลามแก่ชาวพุทธ ตามหน่วยงานราชการหรือเอกชนที่จัดบรรยายหรือสานเสวนาผู้นำศาสนา สถานที่จัดงานประเพณีของชุมชนและบ้านของอิหม่าม 2) การร่วมกิจกรรมที่วัดหรือพระสงฆ์จัดขึ้นโดยละเว้นที่เกี่ยวกับพิธีกรรม 3) การร่วมเดินทางทัศนศึกษากับชาวพุทธเพื่อใช้ชีวิตร่วมกันระยะหนึ่งที่ช่วยให้ชาวพุทธเข้าใจมุสลิมมากขึ้น 4) การร่วมกิจกรรมในวันสำคัญของชาติหรือท้องถิ่นที่ภาคราชการจัดขึ้น โดยมีพระสงฆ์หรือชาวพุทธร่วมด้วย 5) การจัดโครงการหรือกิจกรรมของมุสลิมและเชิญชาวพุทธเข้าร่วมเพื่อพัฒนาคน ชุมชนและสังคมไปด้วยกัน สร้างความเจริญในสังคมพหุวัฒนธรรม
Article Details
References
ฎอริก รอมฎอน (2011). “ภาวะผู้นำ” ในมุมมองของศาตราจารย์ ดร.ฏอริก รอมฎอน (ตอนที่ 1) สืบค้น 22 ธันวาคม 2563 จาก https://deepsouthwatch.org/th/node/10282
โตนด ประสงค์ พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์ ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. (2561). การส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์กับปัญหาความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 11(2), 29-38
ปาริชาด สุวรรณบุบผา และคณะ. (2559). พุทธศาสนากับการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกลุ่มใหญ่และกลุ่มน้อยในสังคมไทย. นครปฐม: สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปรียา แก้วพิมล วันพิชิต ศรีสุข อุไรรัตน์ หน้าใหญ่. (2561). บทเรียนรู้ผู้นำศาสนาเพื่อพัฒนาสังคมชายแดนใต้: กิจกรรมทัศนศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรม. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 8(1), 71-82
ผู้จัดการออนไลน์ (254) กก.อิสลามนราฯ มอบข้าวสาร 2 กระสอบให้วัดบางนรา สืบค้น 12 มกราคม 2564, จาก http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9490000141150
ฟาสินี สะมิแม็ง วิทยา จิตนุพงศ์ (2559) วิถีความเป็นอยู่ของชาวไทยมุสลิมใน ตำบลลุโบะยิไร อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี สืบค้น 12 มกราคม 2564, จาก http://www.islocal.ru.ac.th/images/ispdf/is59/fasinee.pdf
วินัย สะมะอุน. (2557). บทบาทและความผูกพันของมัสยิด ชีวิต และชุมชน. โฟกัสบางกอก. 1(5): 52-55
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 (2559) บทบาทผู้นำศาสนาต่อการแก้ปัญหาชายแดนใต้ สืบค้น 22 มกราคม 2564, จาก https://www.southdeepoutlook.com/news/10002816
อับดุลเราะห์มาน เดวานี (2558) การสร้างสันติภาพในวิถีอิสลาม ในเสวนา พื้นที่ปลอดภัย : ผู้นำศาสนา : บทบาท : สันติภาพ สืบค้น 20 ตุลาคม 2563 จาก https://deepsouthwatch.org/dsj/th/7842
Bemard, G,. Carkhuff, R,. & Berenson (1977). Beyond counseling and therapy. 2nd ed. New York: Holt, Rinehart and Winston
Jansson, H., Johanson, M., & Ramström, J. (2007) Institutions and business networks : A comparative analysis of the Chinese, Russian, and West European markets . Retrieved 13 January 2564, from https://pure.hud.ac.uk/en/publications/institutions-and-business-networks-a-comparative-analysis-of-the-
Scbutz, W. (2012). FIR0 theory of needs in Griffin, E (ed) A First Look at Communication Theory. (p 93-101) 10th ed. New York : McGraw-Hill
Schneider, D. (1976) Notes toward a theory of culture, in Basso, K. &. Selby,. H (ed) Meaning in Anthropology. Albequerque: University of New Mexico Press.