พ่อมหา แม่หางเครื่อง ลูก(สาว)นักร้อง คันฉ่องส่องสังคมบริโภคนิยม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้นำเสนอภาพสะท้อนสังคมบริโภคนิยมในวรรณกรรมเรื่อง พ่อมหา แม่หางเครื่อง ลูก(สาว)นักร้อง ของ โชติ ศรีสุวรรณ ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมเรื่องนี้สะท้อนภาพสังคมบริโภคนิยมในประเด็นวัตถุนิยมและค่านิยมในสังคมบริโภคนนิยม โดยในประเด็นวัตถุนิยมนั้นผู้แต่งสะท้อนถึง การบริโภควัตถุตามสมัยนิยมของคนชนบทจนเกินพอดี จนต้องประสบกับปัญหาหนี้สิน ส่วนประเด็นค่านิยมในยุคสังคมบริโภคนิยม นั้น ผู้แต่งสะท้อนถึง ค่านิยมของวัยรุ่นที่เกิดจากการเลียนแบบพฤติกรรมของบุคคลที่มีชื่อเสียง การเสพความบันเทิงจากสื่อวัฒนธรรมประชานิยม การแต่งกายตามกระแสแฟชั่น และการพกพาสินค้าที่บ่งบอกถึงความทันสมัย ทั้งนี้ ก็เพื่อสร้างภาพลักษณ์และหน้าตาทางสังคม โดยในตอนท้ายผู้แต่งได้ให้แง่คิดว่า การจะผ่านพ้นวิกฤตกาลดังกล่าวไปได้ จะต้องนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต
Article Details
References
โชติ ศรีสุวรรณ. (2561). พ่อมหา แม่หางเครื่อง ลูก(สาว)นักร้อง. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
ตรีศิลป์ บุญขจร. (2542). นวนิยายกับสังคมไทย (2475-2500). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นรินทร์พร สุบรรณพงษ์. (2555). วัฒนธรรมบริโภคนิยมในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์สำหรับเด็กวัยรุ่นตอนต้น. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ไพบูลย์พิศาลวชิโรภาส, พระครูธรรมธร และจงกล บุญพิทักษ์. (2562). ค่านิยมบริโภคตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(9), 4261-4280.
วณวรชา พินิจโรคากร และวีระชาติ นิ่มอนงค์. (2560). การศึกษาหลักคำสอนในการละการยึดติดวัตถุนิยมเชิงพุทธ
บูรณาการ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 13(2), 237-249.
วัศรนันทน์ ชูทัพ. (2562). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในนวนิยายเรื่องปู่เย็น ฅนสามัญ. วารสารมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 11(1), 217-232.
วิทยากร เชียงกูล. (2562). ลัทธิบริโภคนิยมเกิดจากอะไรและจะแก้ไขกันอย่างไร. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2562,
จาก https://witayakornclub.wordpress.com/2008/09/05/ลัทธิบริโภคนิยม-เกิดจาก/
สุรพี หมื่นประเสริฐดี. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าตามกระแสนิยมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.