ภาวะพลเมืองโลก และการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาในเขตเมืองขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาการย้ายถิ่นที่ส่งผลต่อการกลายเป็นพลเมืองโลกของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาในบริบทเมืองขอนแก่น แรงงานกลุ่มดังกล่าวเผชิญหน้ากับความแตกต่างหลากหลายในพื้นที่การทำงานและพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันที่เรียกว่า “ภาวะพลเมืองโลกแบบสามัญ” บทความนี้ได้ข้อมูลจากงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาในภาคบริการจำนวน 20 คน และผู้ให้ข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา รวมทั้งการสังเกตการณ์
ทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม พื้นที่ศึกษาของผู้วิจัยเป็นสถานีบริการน้ำมันและแก๊ส รวมถึงพื้นที่ซึ่งแรงงานข้ามชาติเดินทางไปในวันหยุด คือ ตลาดสด และห้างสรรพสินค้าในเขตเมืองขอนแก่น ผลการศึกษาชี้ว่า ถึงแม้ถูกมองว่าเป็นแรงงานที่มีทักษะต่ำ แต่การอพยพย้ายถิ่นของพวก เขานับตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงานในประเทศไทยและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขอนแก่นได้ทำให้แรงงานเหล่านี้ได้มา ซึ่งทุนเศรษฐกิจซึ่งส่งผลให้พวกเขาสามารถสะสมทุนด้านอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ พวกเขายังได้รับโอกาสในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ จากการเป็นแรงงานข้ามชาติ ทุนและทักษะที่เกิดขึ้นเหล่านี้
ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการบริโภคของพวกเขา นอกจากนี้ แรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้ยังได้ใช้ทุนและทักษะที่ได้มาใหม่ต่อรองกับวัฒนธรรมที่แตกต่างรวมไปถึงการเอาตัวรอดจากโครงสร้างที่จำกัดผู้คนที่อยู่ฐานะแรงงานข้ามชาติในรัฐไทยอีกด้วย
Article Details
References
การจัดหางานจังหวัดขอนแก่น, กรม. (2560). สถิติแรงงานข้ามชาติในจังหวัดขอนแก่นประจำปี พ.ศ. 2560. ขอนแก่น: กรมการจัดหางาน.
พัชรินทร์ ลาภานันท์. (2558). เมียฝรั่ง: การก่อตัวของชนชั้นใหม่ในสังคม (ชนบท) ไทย. ใน ชูศักดิ์ วิทยาภัค (บรรณาธิการ),วัฒนธรรมคืออำนาจ: ปฏิบัติการแห่งอำนาจ ตัวตน และชนชั้นใหม่ในพื้นที่วัฒนธรรม. (น. 271-299). เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พัฒนา กิติอาษา. (2557).สู่วิถีอีสานใหม่ (Isan Becoming: Agrarian Change and the Sense of Mobile Community in Northeastern Thailand). กรุงเทพฯ: วิภาษา.
สำนักงานจังหวัดขอนแก่น. (2560) แผนพัฒนาจังหวัดขอนแก่น พ.ศ.2561-2564. สืบค้น 17 พฤษภาคม 2560,
จาก http://www.khonkaen.go.th/khonkaen6/main.php?cont=vision
Bridge, G. (2001). Estate agents as interpreters of economic and cultural capital: The gentrification in the Sydney housing market. International Journal of Urban and Regional Research. 25(1), 87-101. Retrieved April 26, 2018, from https://doi.org/10.1111/1468-2427.00299
Hannerz, U. (1990). Cosmopolitans and Locals in World Culture. Culture & Society. 7(2-3), 237-251. Retrieved April 17, 2018, from https://doi.org/10.1177/026327690007002014
Holt, D. B., & Douglas B. Holt. (1998). Does Cultural Capital Structure American Consumption?. Journal of Consumer Research. 25(1), 1-25. Retrieved April 26, 2018, from https://doi.org/10.1086 /209523
Keyes, C. (2012). ‘Cosmopolitan’villagers and populist democracy in Thailand. South East Asia Research, 20(3), 343-360. Retrieved April 19, 2020, from https://doi.org/10.5367/sear.2012.0109
Long, L., & Oxfeld, E. (Eds.). (2004). Coming Home?: Refugees, Migrants, and Those Who Stayed Behind. Philadelphia: University of Pennsylvania Press.
Mitchell, K. (2007). Geographies of identity: the intimate cosmopolitan. Progress in Human Geography. 31(5), 706-720. Retrieved March 2, 2018, from https://doi.org/10.1177/0309132 507078960
Skrbiš, Z., & Woodward, I. (2013). Cosmopolitanism Uses of the Idea. London: SAGE.
Werbner, P. (1999). Global pathways. Working class cosmopolitans and the creation of transnational ethnic worlds. Social Anthropology, 7(1), 17–35. Retrieved April 17, 2018, from https://doi. org/10.1111/j.1469-8676.1999.tb00176.x
Yeoh, B. S. A., & Soco, M. A. (2014). The cosmopolis and the migrant domestic worker. Cultural Geographies, 21(2), 171–187. Retrieved April 24, 2018, from https://doi.org/10.1177/14744740 14520899