ความต้องการจำเป็นของครูอาสาสมัครจีนต่อวิทยากรฝ่ายไทย : กรณีศึกษาโครงการอบรมครูอาสาสมัครจีน (ประเทศไทย) ประจำปี 2562

Main Article Content

พิชัย แก้วบุตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของครูอาสาสมัครจีนที่มีต่อวิทยากรฝ่ายไทยในการให้ความรู้ในโครงการอบรมครูอาสาสมัครจีน (ประเทศไทย) โดยเก็บข้อมูลจากครูอาสาสมัครจีนในศูนย์การอบรมโครงการครูอาสาสมัครจีน (ประเทศไทย) ประจำปี 2562 จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย 1) ผู้เข้าอบรมจากศูนย์การอบรมมหาวิทยาลัยครุศาสตร์ยูนนาน จำนวน 136 คน 2) ศูนย์การอบรมมหาวิทยาลัยครุศาสตร์ปักกิ่ง จำนวน 114 คน และ 3) ศูนย์การอบรมมหาวิทยาลัยภาษาปักกิ่ง จำนวน 139 คน รวมผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 389 คน และมีจำนวนครูอาสาสมัครจีนตอบแบบสอบถามจำนวน 341 ฉบับ


ผลการวิจัยพบว่า ครูอาสาสมัครจีนมีความต้องการจำเป็นต่อวิทยากรฝ่ายไทยในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ก่อนการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศเป้าหมาย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ความรู้และประสบการณ์ ด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วยข้อมูลด้านวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทย การดำรงชีวิตและสภาวการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย และ 2) ความรู้และประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ประกอบด้วยข้อมูลด้านระบบการศึกษาของประเทศไทย ความต้องการของผู้เรียนและโรงเรียนการจัดการชั้นเรียนและการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ซึ่งความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ครูอาสาสมัครจีนสามารถปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์และราบรื่นมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุบิน ยุระรัช. (2554). แนวคิดเกี่ยวกับการสังเคราะห์งานประเมินความต้องการจำเป็น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 31-54.
พิชัย แก้วบุตร. (2562). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาจีน: กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 9(2), 46-64.
พิชัย แก้วบุตร. (2563). การศึกษาแนวทางการจัดทำหลักสูตรภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ภูมิภาคภาคใต้ (รายงานการวิจัย). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี.
พิชัย แก้วบุตร และอธิปัตย์ นิตย์นรา. (2559). สภาพเเละเเนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในโรงเรียนรัฐบาล. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 8: 2559 “การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอย่างยั่งยืนสู่โลกาภิวัตน์” (น.70). ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
สุมิตรา สุรรัตน์เดชา. (2557). การศึกษาปัญหา ความจำเป็น และความต้องการในการใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทยของครูอาสาสมัครชาวจีนในโรงเรียนไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 33(1), 57-79.
จินนี่ ผาง. (2556). รูปแบบการฝึกอบรมครูจีนที่สอนภาษาจีนในประเทศไทย. 13 กรกฎาคม 2562. http://grad.kbu.ac.th/wp-content/uploads/2014/09/129901803247_นางสาวจินนี่-ผาง.pdf
盛译元.以需求为导向优化赴泰汉语教师志愿者岗前培训[J]. 汉语国际传播研究,2012 (1),213-220.
吴应辉、郭骄阳.泰国汉语教学志愿者项目调查报告[J]. 对外汉语教学与研究,2007(1),8-11.
江傲霜、吴应辉、傅 康.泰国汉语教师志愿者教学情况调查对志愿者培训工作的启示[J]. 民族教育研究,2011(5), 85-90.
王 瑛、吴 瞳. 国际汉语教师志愿者培训需求调查分析和对策[J]. 国际汉语教师素质与能力,2012(1),276-288.