การศึกษาประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ของครูระดับประถมศึกษา ในบริบทอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทัศนะ และภูมิหลังของครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ระดับประถมศึกษา และ 2) ศึกษาการตีความและให้ความหมายประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในบริบทอาเซียนของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้แนวทางการวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา โดยอาศัยแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาอรรถปริวรรต ของ Martin Heidegger ที่มุ่งการตีความหมายประสบการณ์ชีวิตของมนุษย์เป็นหลัก เพื่อศึกษาเกี่ยวกับแก่นแท้ของสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์หรือการแสดงตัวตนของวิถีทางแต่ละคน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 คน ผ่านวิธีการคัดเลือกอาสาสมัครแบบเจาะจง เก็บข้อมูลจากการใช้แบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ของผู้สอนระดับประถมศึกษามีส่วนช่วยปลูกฝังค่านิยมรักชาติให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเอกลักษณ์ในการจัดการเรียนการสอนสะท้อนภูมิหลังประสบการณ์การดำเนินชีวิตที่หล่อหลอมให้ผู้สอนมีลักษณะความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรม และลักษณะการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะบุคคล ส่งผลต่อบรรยากาศชั้นเรียน พฤติกรรม การตัดสินใจ และปฏิสัมพันธ์ของครูต่อผู้เรียน เพื่อนร่วมงาน วิชาชีพ และสังคม โดยการตีความประสบการณ์ของผู้สอนที่มีต่อวิชาประวัติศาสตร์ในบริบทอาเซียนทำให้นิยามประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เน้นการค้นพบความรู้ด้วยตนเองผ่านกระบวนการสืบสอบเป็นการเน้นกระบวนการถ่ายทอดข้อมูลส่งต่อกัน ฉะนั้นครูจึงมีบทบาทสำคัญในการส่งต่อประวัติศาสตร์สู่ผู้เรียน
Article Details
References
ชาย โพสิตา. (2556). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
แถบสุข นุ่มนนท์. (2518). ในปรัชญาประวัติศาสตร์. ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิศรี (บรรณาธิการ).ประวัติศาสตร์. (น. 48). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเนศ.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา. (2559). การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน. 2(18), 1.
เปรมโรจน์ บางอ้อ. (2556). แนวคิดชาตินิยม ในแบบเรียนประวัติศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษา ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภาคิน นิมมานนธวงศ์ และณัฐพงศ์ ดวงแก้ว. (2558). ประชาคมอาเซียน 2558 ประวัติศาสตร์บาดแผล – ความขัดแย้งวัฒนธรรมยังอยู่. สืบค้น 12 มีนาคม 2560, จาก http://www.tcijthai.com/office-tcij/view.php?ids=5422
มติชนออนไลน์. (2559). รักษาการ รมว.ศธ.เผย “บิ๊กตู่” บอก “รมต.ตัวจริง” ให้รอปรับ ครม. สืบค้น 12 มีนาคม 2560, จาก http://www.matichon.co.th/news/386977
วนิดา วุฒิเสถียร. (2527). พัฒนาการของหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2549). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมศักดิ์ ชูโต. (2518). ในปรัชญาประวัติศาสตร์. ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิศรี (บรรณาธิการ), ประวัติศาสตร์. (น. 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเนศ.
อภัยชนม์ สัจจะพัฒนกุล. (2555). การเสนอแนวทางการใช้กระบวนการสร้างสรรค์ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ โดยบูรณาการแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญญา ปลดเปลื้อง. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปรากฏการณ์วิทยา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 13(2), 1- 10. สืบค้น 7 มกราคม 2560, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/11885
อรรถพล อนันตวรสกุล. (2561). อัตลักษณ์ครู (Teacher Identity). สืบค้น 27 เมษายน 2561, จาก https://www.facebook.com/athapol/posts/10155191043370583
Benjamin C. Cox. (1971). Historiography. Encyclopedia of Education. 4, 445.
Booth, Martin. (1971). In Disciplines of the Curriculum. London: Mcgraw – Hill Book Company.
Dance, E.H. (1967). Bias in History Teaching and Textbooks. In History Teaching and History Textbook Revision. Strasbourg: Council for Cultural Co – operation of the Council of Europe.
Leonard V.W.A. (1989). Heideggerian Phenomenological perspective on the concept of the person. Advances in Nursing Science. 9(9), 40-55.
Leonard, H. (1973). Teaching Social Studies in Secondary Schools: A Hand book. New York: Macmillan.
Luhmer, M. (1990). Moral education in Japan. Jaurnal of Moral Education 19, 7(1), 3.
Pamela, M. (1974). Why teach history?. London: University of London Press.