แนะนำหนังสือ วรรณคดีสีเขียว กระบวนทัศน์และวาทกรรมธรรมชาติในวรรณคดีไทย (Ecocriticism in Thai literature) Ecocriticism in Thai literature
Main Article Content
Abstract
กระแสสังคมที่สำคัญในปัจจุบันคือการมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการพัฒนาสังคมและ
เศรษฐกิจในระยะที่ผ่านมามนุษย์ได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกิดภาวะเสื่อมโทรมและส่งผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่รวดเร็วรุนแรงเป็นสิ่งเร่งเร้าให้มนุษย์จึงตระหนักว่า
ธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าที่ควบคุม ดังนั้นกระแสสังคมโลกจึงหันกลับมาเพื่อสมาทานความยิ่งใหญ่
ของธรรมชาติในฐานะผู้ให้กำเนินของสรรพสิ่ง การเปลี่ยนแปลงชุดความคิดดังกล่าวคือการเปลี่ยนแปลง
ในระดับอุดมการณ์ ซึ่งอุดมการณ์นี้เรียกว่า “อุดมการณ์สิ่งแวดล้อม” สัณฐิตา กาญจนพันธุ์ (2554 :
6-7) ไดก้ ลา่ วถงึ อดุ มการณส์ ิง่ แวดลอ้ ม (Environmental Ideology) วา่ คือชดุ ของความคดิ ที่อธิบาย
ความสัมพันธ์เกี่ยวกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นจากการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมกายภาพจนเกิด
การรับรู้ขึ้น การรับรู้ “ความจริง” ของแต่ละกลุ่มจะแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้อุดมการณ์สิ่งแวดล้อม
ยังมีบทบาทในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มีบทบาทในการอ้างความ
ชอบธรรมให้แก่การกระทำใด ๆ ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม