การสร้างโมเดล 4PBL สำหรับการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนวิชาการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาจีนในระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

กนกพร นุ่มทอง
จตุวิทย์ แก้วสุวรรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการเรียนการสอนรายวิชาการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาจีนในระดับอุดมศึกษา โดยใช้วิธีการศึกษาผ่านแนวคิดและทฤษฎีด้านการเรียนการสอนการแปล ผนวกกับประสบการณ์ในการเป็นผู้สอน ผู้ประเมินคุณภาพหลักสูตร ผู้แปลและการเป็นบรรณาธิการหนังสือแปลประเภทต่างๆ ผู้วิจัยนำเสนอแนวทางการสอนตามกรอบความคิดของการสร้างรายวิชา องค์ประกอบ ลักษณะ และแนวทางการพัฒนาสู่การจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ ผลการวิจัยที่ได้คือการสร้างโมเดลการเรียนรู้ 4PBL หมายถึง โมเดลที่ใช้หลัก 4P (Problem- Pattern- Practice- Project) เป็นฐานในการเรียนรู้ สำหรับพัฒนาการเรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าว โดยโมเดล 4PBL ประกอบด้วย การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเป็นฐาน (Pattern Based Learning) การเรียนรู้โดยใช้การฝึกปฏิบัติเป็นฐาน (Practice Based Learning) และการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมหรือโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
นุ่มทอง ก., & แก้วสุวรรณ์ จ. . (2021). การสร้างโมเดล 4PBL สำหรับการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนวิชาการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาจีนในระดับอุดมศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(1), 269–297. https://doi.org/10.14456/lartstu.2021.11
บท
บทความวิจัย

References

กนกพร นุ่มทอง. (2554). การแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

กนกพร นุ่มทอง, และศิริวรรณ ลิขิตเจริญธรรม. (2562). หลักและข้อควรระวังในการแปลจีน-ไทย ไทย-จีน. วารสารจีนศึกษา, 12(2), 105-151.

ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ. (2553). หลักการแปลไทย-จีน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จีนสยาม.

คณาพร แก้วแกมจันทร์. (2556). การใช้สื่อมัลติมีเดียในการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันในวิชาการแปลภาษาอังกฤษธุรกิจ 2. วารสารวิชชา, 32(2), 1-15.

จิราพร เนตรสมบัติผล, และเดชา ชาติวรรณ. (2560). การศึกษาวิเคราะห์ข้อผิดพลาดการแปล ภาษาจีนเป็นภาษาไทยในระดับคำของนักศึกษาจีน สาขาวิชาภาษาไทย คณะภาษา ต่างประเทศ มหาวิทยาลัยต้าหลี่. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 12(2), 157-169.

จุฑามาศ นามสูงเนิน. (2550).การใช้สื่อมัลติมีเดียในการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันในรายวิชาการแปลภาษาเยอรมัน II. วารสารมนุษยศาสตร์, 14(2), 62-73.

ชณัณกร เพ็ชรวัฒนา. (2559). การแปลของไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารการแปลและล่าม, 1(1), 16-49.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีมา มัลลิกะมาส, และวิโรจน์ อรุณมานะกุล. (2549). ผลของการใช้คลังข้อมูลภาษาอังกฤษเฉพาะด้านที่มีต่อการแปลระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาไทย. วารสารศิลปศาสตร์, 6(1), 99-136.

ปัญญา ศรีสิงห์. (2560). การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทักษะภาษา. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 8(3), 83-92.

พงศักดิ์ อันประเสริฐ, และกนกพร นุ่มทอง. (2559). การประยุกต์ใช้หลักการแปลกับการแปลงานวิศวกรรมเรือจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย. วารสารจีนศึกษา, 9(1), 108-142.

พิมพันธ์ เตชะคุปต์, และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพลักษณ์ โมรา. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน: ทางเลือกในการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 8(1), 42-52.

รัชนีโรจน์ กุลธำรง. (2552). ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณา แสงอร่ามเรือง. (2552). ทฤษฎีและหลักการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิ อินทโกสุม. (2557). การประเมินงานแปลในการเรียนการสอนแปล.วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 33(1), 23-50.

สมเกียรติ เชวงกิจวณิช. (2560). ปัญหาการแปลภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยและสาเหตุของปัญหา. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 34(1), 75-91.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). หลักการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

สัญฉวี สายบัว. (2550). หลักการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก bit.ly/skill_meaning.

ทิพย์ ขำอยู่, สุกฤษฎิ์ วงแวงน้อย, และสมยศ เผือดจันทึก. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบฝึกปฏิบัติเป็นฐาน. วารสารแสงอีสาน, 15(2), 215-226.

Catford, J. C. (1965). A Linguistic Theory of Translation. London: Oxford University Press.

Newmark, P. (1988). A Textbook of Translation. London: Prentice Hall International (UK).

Nida, E. A., & Charles, R. T. (1982). The Theory and Practice of Translation (Second Photomechanical reprint).

Leiden E.J. Brill: The United Bible Society.

Stumpf, S. E. (1994). Philosophy: History and Problems. New York: McGraw-Hill.

何慕.(2016).三国谍影: 暗战定军出.南京: 江苏人民出版社.

兰陵笑笑生.(1998).金瓶梅.台南:世一文化事业股份有限公司.

雾满拦江.(2014).三国真英雄曹操.北京: 民主与建设出版社.

张觉.(1995).荀子译注.上海:上海古籍出版社.