จรรยาบรรณในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ
1. บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์
1.1 ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
1.2 ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
1.3 ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
1.4 ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำผู้เขียน”
1.5 ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
1.6 ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ (ถ้ามี)
1.7 ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
1.8 การใช้ AI ในบางขั้นตอนของการวิจัยและการผลิตบทความไม่ถือเป็นข้อห้าม ทั้งนี้เพื่อรักษามาตรฐานและความน่าเชื่อถือของผลงานวิชาการ ควรนำ AI มาใช้เป็นเครื่องมือช่วย เช่น การสร้างเค้าโครงเริ่มต้น ไม่ใช่การคิดวิเคราะห์ และการเขียนเนื้อหาหลัก โปรดตระหนักว่า AI เข้าถึงข้อมูลจากหลายแหล่งที่มา จึงอาจทำให้ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนและไม่เป็นกลาง รวมทั้งยากแก่การระบุว่าข้อมูลนั้นมานั้นมาจากที่ใด ผู้เขียนจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและการอ้างอิงจาก AI โดยละเอียด นอกจากนี้สามารถนำ AI มาใช้ในการปรับปรุงถ้อยความให้สละสลวย เช่น ในการปรับบทคัดย่อ อย่างไรก็ดี วารสารฯ ขอให้ระบุให้ชัดเจนว่าเนื้อหาส่วนใดเกิดจาก AI พร้อมอ้างอิงที่มาอย่างเหมาะสม
2. บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร
2.1 บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารตามที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในระดับสากล
2.2 บรรณาธิการจะไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
2.3 บรรณาธิการจะคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
2.4 บรรณาธิการไม่รับตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
2.5 บรรณาธิการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน และทีมผู้บริหาร
2.6 บรรณาธิการมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอก ผลงานผู้อื่น (plagiarism) อย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น
2.7 หากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการจะหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์ทันทีเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น
3. บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
3.1 ผู้ประเมินบทความ ต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ (confidentiality)
3.2 หลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความตระหนักว่าตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ (เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่นๆ) ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
3.3 ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย