กลวิธีการแปลคำว่า “ต้อง” เป็นภาษาญี่ปุ่นและการแปล なければならない เป็นภาษาไทย

Main Article Content

กรรณิกา จิตรโสภา
เตวิช เสวตไอยาราม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแปล “ต้อง” และ なければならない ผ่านนวนิยายแปลไทย-ญี่ปุ่นและญี่ปุ่น-ไทย จากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Nitta, 1991; Masuoka, 2007, พรทิพย์ ภัทรนาวิก, 2515; ไพทยา มีสัตย์, 2540) “ต้อง” และ なければならないประกอบด้วย 5 ความหมาย ได้แก่ (1) หน้าที่และความจำเป็น (2) ความเชื่อแน่และการคาดคะเน (3) การบังคับ ขอร้อง ห้าม แนะนำ ตักเตือน (4) การเป็นเช่นนั้นโดยธรรมชาติ หรือผลลัพธ์ และ (5) ความตั้งใจ ผู้วิจัยจำแนกความหมายของ “ต้อง” และ なければならない ตามกลวิธีการแปล 3 กลวิธี ได้แก่ (1) กลวิธีการแปลประจำรูป (หรือการแปลตรงตัว) (2) กลวิธีการแปลโดยใช้คำอื่น และ (3) การปรับบทแปล (การแปลด้วยรูปประโยคที่โครงสร้างไม่ตรงตามต้นฉบับหรือความหมายถูกปรับให้แตกต่างจากต้นฉบับ) ผลการวิจัยพบว่า “ต้อง” ในความหมายของ “หน้าที่และความจำเป็น” ถูกแปลด้วย “กลวิธีการแปลประจำรูป” มากที่สุดเนื่องจาก “หน้าที่และความจำเป็น” เป็น “ความหมายเชิงอรรถศาสตร์” ของทั้งสองคำ ส่วนอีก 4 ความหมาย พบ “กลวิธีการแปลโดยใช้คำอื่น” มากที่สุด (คำอื่นหมายถึงทัศนภาวะที่ไม่ใช่ なければならない และทัศนภาวะแบบไม่ปรากฏรูป) ปัจจัยที่สนับสนุนแนวโน้มนี้คือการที่ 4 ความหมายนี้เป็น “ความหมายเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์” จึงมีทัศนภาวะอื่นรองรับความหมายได้ชัดเจนกว่า ประกอบกับภาษาญี่ปุ่นมี “การพึ่งพาบริบท” มากกว่าภาษาไทยทำให้เมื่อภาษาญี่ปุ่นมีบริบทที่เอื้อต่อการสื่อความหมาย จะพบทัศนภาวะแบบไม่ปรากฏรูป ส่วนการแปล なければならない พบ “กลวิธีการแปลประจำรูป” มากที่สุดในทุกความหมาย คาดว่าเพราะสองคำมี “ความหมายหลัก” ตรงกันและภาษาไทยมี “ความหลากหลายของทัศนภาวะ” ไม่มากนัก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
จิตรโสภา ก., & เสวตไอยาราม เ. (2021). กลวิธีการแปลคำว่า “ต้อง” เป็นภาษาญี่ปุ่นและการแปล なければならない เป็นภาษาไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(1), 114–143. https://doi.org/10.14456/lartstu.2021.5
บท
บทความวิจัย

References

กำชัย ทองหล่อ. (2515). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์.

ชาติ กอบจิตติ. (2525). คำพิพากษา. กรุงเทพฯ: ต้นหมาก.

ซุสุกิ โคจิ. (2545). ริง คำสาปมรณะ (น้ำทิพย์ เมธเศรษฐ แปล). กรุงเทพฯ: อิมเมจ.

ณัฏฐิรา ทับทิม (2556). การศึกษาวิธีการและประเภทการแปลคำเลียนเสียงธรรมชาติและคำบอกอาการ หรือสภาพจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย. วารสารญี่ปุ่นศึกษา 30(1), 41-56.

ท์ซึจิ ฮิโตนาริ. (2551). BLU เยือกเย็น (สมเกียรติ เชวงกิจวณิช แปล). กรุงเทพฯ: Bliss Publishing.

เท็ตสึโกะ คุโรยานางิ. (2528). โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง (ผุสดี นาวาวิจิต แปล) (พิมพ์ครั้งที่ 40). กรุงเทพฯ: ผีเสื้อญี่ปุ่น.

นฤดล จันทร์จารุ. (2552). พหุหน้าที่ของคำว่า “ต้อง” ในภาษาไทย: การศึกษาเชิงภาษาศาสตร์ปริชาน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นววรรณ พันธุเมธา. (2525). ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปวิช เรียงศิริ. (2559). กลวิธีการแปลกริยาวลีแสดงรูปกาลที่สมบรูณจ์ากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในนวนิยายเรื่อง ‘โรบินสัน ครูโซ.’ การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 292–299.

ประภัสสร เสวิกุล. (2552). เวลาในขวดแก้ว. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ปราบดา หยุ่น. (2556). แพนด้า. กรุงเทพฯ: ไต้ฝุ่น.

พรทิพย์ ภัทรนาวิก. (2515). ลักษณะมาลาในภาษาไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระยาอุปกิตศิลปสาร. (2480). หลักภาษาไทย (อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ไพทยา มีสัตย์. (2540). การศึกษาคำช่วยหน้ากริยาที่กลายมาจากคำกริยาในภาษาไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมทินี สิงห์เวชสกุล และปรีมา มัลลิกะมาส. (2557). การแปลมโนทัศน์ที่สื่อโดยหน่วยสร้างกริยาเรียงที่มีคำว่า “เอา” จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษาเรื่อง หลายชีวิต. วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร, 19(23), 38-62.

ศรีบูรพา. (2559). ข้างหลังภาพ. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

สมเกียรติ เชวงกิจวณิช. (2559). กลวิธีการแปลสำนวนแสดงวัฒนธรรมภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 32(2), 103-117.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. Retrieved September 28, 2018, from http://www.royin.go.th/dictionary/index.php

สุดา รังกุพันธุ์. (2547). ระบบญาณลักษณะในภาษาไทย: การศึกษาตามแนวหน้าที่-ปริชาน (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์).

หยก บูรพา. (2520). อยู่กับก๋ง. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.

วิศรุตา โมราชาติ. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบความหมายของสำนวน ~nakerebanaranai~ ในภาษาญี่ปุ่นกับ “ต้อง” ในภาษาไทย. มหาวิทยาธรรมศาสตร์.

เอคุนิ คาโอริ. (2551). ROSSO ร้อนแรง (ขวัญใจ แซ่คู แปล). กรุงเทพฯ: Bliss Publishing.

โอโตทาเกะ ฮิโรทาดะ. (2544). ไม่ครบห้า (พรอนงค์ นิยมค้า แปล). กรุงเทพฯ: ส.ส.ท. เยาวชน ฝ่ายโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

Anthony, A. (1980). Japanese Language Patterns. In Sophia University L. L. Center of Applied Linguistic (Ed.). Tokyo.

Mildred, L. L. (1984). Meaning-based Translation: A Guide to Cross-language Equivalence. University Press of America.

有田節子 (Arita). (2007). 『日本語条件と時制節性』. 東京: くろしお出版.

井上優 (Inoue). (2006). 「モダリティ(方言の終助詞の意味分析の基本目標と記述のポイント;井波方言の終助詞の概観 ほか). In シリーズ方言学2 方言の文法」 (pp. 133–150). 東京: 岩波書店. Retrieved from http://www2.ninjal.ac.jp/takoni/DGG/09_modarityi.pdf

加藤重広 (Kato). (2006). 『日本語文法 入門ハンドブック』. 東京: 研究社.

小矢野哲夫 (Koyano). (2005). 「ディオンテイック・モダリテイをめぐって-言語行動の観点からの「しなければならない」の事例分析-」. Retrieved March 1, 2018, from http://www001.upp.so-net.ne.jp/ketoba/deontic_modality.htm

郷丸静香 (Gomaru). (1995). 『現代日本語の当為表現-「なければいならない」と「べきだ」-』. 『三重大学日本語文学6』, 29–39.

高梨信乃 (Takanashi). (2010). 『評価のモダリティ:現代日本語における記述的研究』. 東京: くろしお出版.

高橋清子 (Takahashi). (2008). 「タイ語の動詞 tɔ̂ŋの歴史的意味変化:義務モーダルの文法化・多機能化に関する事例研究」. 『日本認知言語学会論文集』, 8, 612-615.

玉地瑞穂・堀江薫 (Tamaji & Horie). (2005). 「言語類型論から見た日本語のモダリティ体系」.『言語処理学会』

仁田義雄 (Nitta). (1991). 『日本語のモダリティと人称』. 東京: くろしお出版.

仁田義雄 (Nitta). (2003). 『現代日本語文法4:第8部 モダリティ』. 東京: くろしお出版.

益岡隆志 (Masuoka). (2007). 『日本語モダリティ探求』. 東京: くろしお出版.

森田良行・松木正恵 (Morita & Matsuki). (1989). 『日本語表現文型:用例中心・複合辞の意味と用法』. 東京: アルク.

森山卓郎 (Moriyama). (1997). 「日本語における自体選択形式-「義務」「必要」「許可」などのムード形式の意味構成」. 『国語学』, 188, 110–123.

江國 香織 (Ekuni). (2001). 『冷静と情熱のあいだ-ロッソ』. 東京: 角川書店.

黒柳徹子 (Kuroyanagi). (1981). 『窓ぎわのトットちゃん』 (40th ed.). 東京: 講談社.

シーブラパー. (1982). 『絵の裏』 (小野沢正喜・小野沢ニッタヤー訳). 福岡: 九州大学出版会.

鈴木光司 (Suzuki). (1993). 『リング』. 東京: 角川書店.

チャート・コープチッティ. (1987). 『裁き』 (星野龍夫 訳). 東京: 井村文化事業社.

辻 仁成 (Tsuji). (2001). 『冷静と情熱のあいだ-ブリュ』. 東京: 角川書店.

乙武洋匡 (Hirotada). (2011). 『五体不満足』 (28th ed.). 東京: 講談社.

プラパッソーン・セーウィクン. (2015). 『瓶の中の時間』 (藤野勲訳). Nonthaburi: Nilubol Publishing House.

プラープダー・ユン. (2011). 『パンダ』 (宇戸 清治訳). 東京外国語大学出版会.

ヨク・ブーラパー. (1981). 『中国じいさんと生きる』(星野龍夫 訳). 井村文化事業社.