บทบาทอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย

ผู้แต่ง

  • ภูมิ มูลศิลป์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

วุฒิสภา, ระบบสภาคู่, ประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์โครงสร้างวุฒิสภาของต่างประเทศที่เป็นต้นแบบในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตย 2. ศึกษาพัฒนาการด้านอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาไทยนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน (3) วิเคราะห์บทบาทของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (4) จัดทำข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ทางอำนาจของวุฒิสภาไทยให้เป็นสถาบันที่มีบทบาทเสริมสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของระบบการเมืองและประชาธิปไตยไทย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเอกสาร การสนทนากลุ่มกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง และแบบสอบถามออนไลน์ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนา

จากการศึกษาพบว่า วุฒิสภาในต่างประเทศมักจะถูกลดทอนและถูกจำกัดเรื่องของอำนาจแม้ในบางประเทศจะมีรูปแบบการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้งทั้งหมดก็ตาม สำหรับพัฒนาการทางด้านหน้าที่และอำนาจของวุฒิสภาไทยนับแต่อดีตถึงปัจจุบันพบว่าประเทศไทยยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับโครงสร้าง องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาที่ลงตัว โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์ในประเด็นที่มา และอำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งถูกมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจ ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย ดังนั้น จึงควรแก้ไขความสัมพันธ์ทางอำนาจของวุฒิสภาไทยเพื่อการเป็นสถาบันที่มีบทบาทเสริมสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของระบบการเมืองและประชาธิปไตยของไทยต่อไป

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2543). ระบบการเมืองการปกครองฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2554). การปรับโครงสร้างของระบบรัฐสภา. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และปัทมา สูบกำบัง. (2543). บทบาทและอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ปณิธัศร์ ปทุมวัฒน์. (2560). วุฒิสภาของประเทศญี่ปุ่นตอนที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักกฎหมาย.

พนารัตน์ มาศฉมาดล. บทบาทและอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้น 8 สิงหาคม 2563, จาก https://www.wiki.kpi.ac.th

ภูมิ มูลศิลป์ และชมพูนุท ตั้งถาวร. (2558). รูปแบบการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

มนตรี รูปสุวรรณ. (2535). กฎหมายรัฐสภา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รัชฎาภรณ์ สุภาพ. (2562). ข้อพิจารณาเกี่ยวกับที่มา อำนาจ และหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. วารสารนิติพัฒน์นิด้า, 8(2), 65-81.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (2540, 11 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก. หน้า 1-99.

__________ . พุทธศักราช 2550. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. หน้า 1-127.

__________ . พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560) หน้าที่และอำนาจของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สำนักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2563). สภาแห่งชาติสาธารณรัฐฟิลิปปินส์. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

United States Senate. (1789). Constitution of the United States. Retrieved 19 August 2020, from https://www.senate.gov/civics/constitution_item/constitution.htm

CDAsia. (1987). The Constitution of the Republic of the Philippines. Retrieved 19 August 2020, from https://www.officialgazette.gov.ph/constitutions/1987-constitution/

History.com Editors. (2019). Senate. Retrieved 19 August 2020, from https://www.history.com/topics/us-government/history-of-the-us-senate

Legislation. (1999). House of Lords Act. Retrieved 19 August 2020, from https://www.legislation.gov.uk/ukpga/1999/34/contents

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-19

How to Cite

มูลศิลป์ ภ. (2021). บทบาทอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 306–318. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/253716