การวิเคราะห์ความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบหลักสูตรตามแนวอรรถฐานแบบแนวคิดซิดนีย์เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรียงความแบบโต้แย้งทางเดียว เชิงวิพากษ์ของนักเรียนเตรียมทหาร
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์ความต้องการ, การพัฒนา, การปรับปรุง, การเขียนเชิงวิจารณ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนเตรียมทหาร เพื่อศึกษาความเห็นของนักเรียนเตรียมทหารเกี่ยวกับทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ และเพื่อวิเคราะห์ความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบหลักสูตรตามแนวอรรถฐานแบบแนวคิดซิดนีย์เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรียงความแบบโต้แย้งทางเดียวเชิงวิพากษ์ของนักเรียนเตรียมทหาร เป็นการวิจัยเชิงแบบผสานวิธี โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม ในปีการศึกษา 2563 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่ได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสำหรับคำถามปลายเปิด จากนั้นในขั้นตอนที่ 2 ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกนักเรียนกลุ่มดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ขาดความรู้เกี่ยวกับการเขียนอธิบายความเชิงวิจารณ์ และมีความต้องการเรียนรู้ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันในระดับมากที่สุด ( =4.07) และมีนักเรียนส่วนหนึ่งที่ต้องการเรียนรู้ทักษะการเขียนอธิบายความ โดยมีความต้องการเรียนหลักสูตรการเขียนภาษาอังกฤษทั้งกับครูผู้สอนโดยตรงและเรียนรู้ผ่านกิจกรรมกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน นอกจากนี้ยังมีความต้องการเรียนรู้คำศัพท์และรูปแบบของภาษาเพื่อการเขียนอธิบายความภาษาอังกฤษอีกด้วย นักเรียนอีกส่วนหนึ่งเมื่อเขียนภาษาอังกฤษมักจะแปลจากไทยเป็นอังกฤษก่อน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
= 3.83) จากการศึกษายังพบว่า หลังจากกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนยังไม่สามารถใช้กลวิธีการเขียนอธิบายเชิงวิจารณ์ได้ จึงมีข้อเสนอแนะว่าควรหาแนวทางให้ครูสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนเตรียมทหารได้พัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมในเชิงระบบและหน้าที่ (SFL-based curriculum) เพื่อให้นักเรียนพัฒนาทักษะการเขียนจนสามารถเขียนอธิบายความเชิงวิจารณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
Armed Forces Academies preparatory school. (2020). School mission. retrieved 19 November 2020. from http://www.afaps.ac.th/index_eng.php#3.
Brown, D. H. (1994). Principles of Language Learning and Teaching. New York: Prentice Hall Regents.
Feez, S. (1998). Text-based syllabus design. Sydney: NCELTR-Macquarie University.
Nagao, A. (2017). Longitudinal study of EFL students using the systemic functional linguistics method. International Education Studies, 10(11), 47–62.
________. (2018). A Genre-Based Approach to Writing Instruction in EFL Classroom Contexts. English Language Teaching, 11(5), 130.
Savage, W. & Storer, M. (1992). An emergent language program framework: Actively involving learners in needs analysis. System Journal, 20(2), 187–199.
Srinon, U. (2011). A longitudinal study of developments in the academic writing of Thai university students in the context of a genre-based pedagogy. (Dissertation of Doctor of Philosophy). School of Humanities, Faculties of Humanities and Social Sciences. University of Adelaide.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น