ข้อเสนอแนะการกำหนดน้ำหนักการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • เขตต์ เลิศวิวัฒนพงษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การกำหนดน้ำหนัก, การจัดสรรงบประมาณ, การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดสรรงบประมาณในลักษณะที่มีการกำหนดน้ำหนักปัจจัยแต่ละตัวขององค์ประกอบในแต่ละด้านของการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบของสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสานของการวิจัย 2 ประเภทคือ 1) การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)  โดยใช้แบบสอบถามการจัดสรรงบประมาณแบบกำหนดน้ำหนักส่งไปยังผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาอำเภอทั้ง 16 ท่าน และ 2) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)  เพื่อการตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมสำหรับการนำรูปแบบการจัดสรรงบประมาณแบบกำหนดน้ำหนักที่ได้รับไปประยุกต์ใช้จากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยหรือการศึกษาตลอดชีวิต เศรษฐศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 3 ท่าน

ผลการศึกษาพบว่า การจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ควรกำหนดให้ น้ำหนักของ หลักการงบประมาณ อยู่ที่ร้อยละ 28.75 รองลงมาคือ หลักการบริหารจัดการ ร้อยละ 28.33 หลักการศึกษานอกระบบ ร้อยละ 23.75 และ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แผนการศึกษาแห่งชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร้อยละ 19.17 ตามลำดับ

References

เขตต์ เลิศวิวัฒนพงษ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและจัดการการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับปี พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. (2564, 6 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า ก.

มีมี สัจจกมล. (2552). รูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณแบบเพิ่มประสิทธิภาพตามนโยบายการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้น 11 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.nesdc.go.th

อรทัย ทองฤกษ์ฤทธิ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายรายหัวสำหรับการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Anthony B. (1995) The distribution of tax burden. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press.

Intasuwan, N. (1998) Deprivation Index and its implication on the public health for the low-income people (Master Thesis). Bangkok: Thammasat University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-19

How to Cite

เลิศวิวัฒนพงษ์ เ. (2021). ข้อเสนอแนะการกำหนดน้ำหนักการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 131–142. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/251861