การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ของคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
คำสำคัญ:
การถวายสัตย์ปฏิญาณ, พระมหากษัตริย์, คณะรัฐมนตรี, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ของคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2) เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ และ
3) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการในกรณีเกิดปัญหาเกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 17 รูปหรือคน
ผลการวิจัยพบว่า 1. การถวายสัตย์ปฏิญาณของคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์ถือเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนสำหรับการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี หากนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรียังไม่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณ การเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีนั้นยังไม่สมบูรณ์ แม้จะมีการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีแล้ว การถวายสัตย์ปฏิญาณของคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์สะท้อนแนวคิดและหลักการอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย รัฐธรรมนูญนิยม การประกันความมั่นคงของรัฐธรรมนูญ และความเชื่อ/จารีตประเพณี 2. ปัญหาเกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ ได้แก่ 1) ปัญหาจุดเปลี่ยนผ่านของรัฐบาล 2) ปัญหาการถวายสัตย์ต่อหน้าองค์พระมหากษัตริย์ 3) ปัญหาการกล่าวถ้อยคำถวายสัตย์ไม่ครบถ้วน และ 4) ปัญหาการบังคับให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 3. แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหา ได้แก่
1) การดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องโดยคณะรัฐมนตรี 2) กลไกการตรวจสอบโดยรัฐสภาและทางการเมือง 3) กลไกการตรวจสอบโดยศาลรัฐธรรมนูญ 4) กลไกการตรวจสอบโดยประชาชน และ 5) หลักอาชชวะ
References
เจษฎา พรไชยา. (2543). พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายและธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ: ศึกษาเปรียบเทียบประเทศอังกฤษและประเทศไทย (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา. (2560). การประกันความมั่นคงแห่งรัฐธรรมนูญ. วารสารวิชาการวิจัยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 7(2), 23-35.
ธัญญ์พิชา โรจนะ. (2550). พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสังคมไทย จนถึง พ.ศ. 2575 (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2538). กฎหมายมหาชน เล่ม 3 ที่มาและนิติวิธี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติ ธรรม.
ปวริศร เลิศธรรมเทวี. (2561). การนำประเพณีในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยคดีรัฐธรรมนูญ. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
วิกานดา เกียรติมาโนชญ์. (2558). รูปแบบและหน้าที่ของการสาบานและสาปแช่งในวาทกรรมการเมืองไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิษณุ เครืองาม. (2554). หลังม่านการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบราย มาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2562). ข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2562 วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.isranews.org/isranews-news/80348-isranews-80348.html
สุชาดา เรืองแสงทองกุล. (2560) การกระทำทางรัฐบาล และปัญหาการตรวจสอบการกระทำ ทางรัฐบาล. (ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Toobin, J. (2013). The Oath: The Obama White House and The Supreme Court. New York: Doubleday.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น