การพัฒนาบทบาทของพระสังฆาธิการในการอนุรักษ์พุทธสถาน ในจังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
การพัฒนา, พระสังฆาธิการ, การอนุรักษ์พุทธสถานบทคัดย่อ
บทความนี้วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาบทบาทของพระสังฆาธิการในการอนุรักษ์พุทธสถานในจังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปและปัญหาการพัฒนาบทบาทของพระสังฆาธิการในการอนุรักษ์พุทธสถานในจังหวัดกำแพงเพชร 3) เพื่อนำเสนอการพัฒนาบทบาทของพระสังฆาธิการในการอนุรักษ์พุทธสถาน ในจังหวัดกำแพงเพชร การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยทำการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Analysis) กับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 25 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 12 รูปคน การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่ใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้ทำการสุ่มมาจากพระสังฆาธิการและคณะกรรมการวัดในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 382 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปและปัญหาการพัฒนาบทบาทของพระสังฆาธิการในการอนุรักษ์พุทธสถาน ในจังหวัดกำแพงเพชรพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า 1) ด้านการดูแลรักษา มีการดำเนินการรักษาทำความสะอาดโดยรอบโบราณสถานภายในวัดเป็นประจำ ตรวจสอบความเสียหายและความเสื่อมโทรมของโบราณสถานในวัดอย่างต่อเนื่อง 2) ด้านการปกป้องคุ้มครอง มีการป้องกัน สำรวจไม่ให้มีสิ่งบดบังทัศนียภาพของโบราณสถาน และ มีการป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกทำลายหรือขุดหาโบราณวัตถุในเขตโบราณสถาน 3) ด้านการเสริมความมั่นคง พิจารณาถึงคุณค่าโบราณสถานไม่ให้เสื่อมลง ซ่อมแซมโบราณสถานส่วนที่ชำรุด ให้เลือกวัสดุที่เหมาะสมและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และ 4) ด้านการใช้ประโยชน์ มีการเปิดเป็นสถานที่เพื่อบริการค้นคว้าวิจัยวัดที่มีโบราณสถาน วัดมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนในเชิงวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีและการอนุรักษ์เบื้องต้นของโบราณสถานนั้น รวมถึงมีการจัดการเผยแพร่เอกสารประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถานแก่พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนและการใช้ประโยชน์โบราณสถานต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะมีต่อโบราณสถาน มีการกำหนดพื้นที่ใช้ประโยชน์ให้ชัดเจน และไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของโบราณสถาน 2. องค์ประกอบการพัฒนาบทบาทของพระสังฆาธิการในการอนุรักษ์พุทธสถาน ในจังหวัดกำแพงเพชร พบว่าพบว่า 1) ด้านการดูแลรักษา มีการดำเนินการรักษาทำความสะอาดโดยรอบพุทธสถานภายในวัดเป็นประจำ ตรวจสอบความเสียหายและความเสื่อมโทรมของพุทธสถานในวัดอย่างต่อเนื่อง 2) ด้านการปกป้องคุ้มครอง มีการป้องกัน สำรวจไม่ให้มีสิ่งบดบังทัศนียภาพของพุทธสถาน และ มีการป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกทำลายหรือขุดหาโบราณวัตถุและในเขตพุทธสถาน 3) ด้านการเสริมความมั่นคง พิจารณาถึงคุณค่าพุทธสถานไม่ให้เสื่อมลง ซ่อมแซมพุทธสถานส่วนที่ชำรุด ให้เลือกวัสดุที่เหมาะสมและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และ 4) ด้านการใช้ประโยชน์ มีการเปิดเป็นสถานที่เพื่อบริการค้นคว้าวิจัยวัดที่มีพุทธสถาน วัดมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนในเชิงวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีและการอนุรักษ์เบื้องต้นของพุทธสถานนั้น รวมถึงมีการจัดการเผยแพร่เอกสารประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการอนุรักษ์พุทธสถานแก่พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนและการใช้ประโยชน์พุทธสถานต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะมีต่อพุทธสถาน มีการกำหนดพื้นที่ใช้ประโยชน์ให้ชัดเจน และไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทของพุทธสถาน ในการอนุรักษ์โบราณสถาน กรมศิลปากรเป็นหน่วยงานในการกำหนดกรอบและวิธีการ หรือแนวทางในการดำเนินการอนุรักษ์โบราณสถานอย่างชัดเจน เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินการของทุกฝ่ายซึ่งต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติของกรมศิลปากรในการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดได้มีการสำรวจโบราณสถานอย่างเป็นระบบ มีการบันทึกที่มา รูปพรรณสัณฐาน เพื่อให้การสำรวจโบราณสถานเป็นไปอย่างมีมาตรฐานเดียวกัน 3. การพัฒนาบทบาทของพระสังฆาธิการในการอนุรักษ์พุทธสถาน ในจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า 1) ด้านการอนุรักษ์ รูปแบบอนุรักษ์ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนในด้านความคิด หลักการที่ถูกต้องเกี่ยวกับการสงวนรักษา การบูรณะและการนำเสนอมรดกทางวัฒนธรรม 2) ด้านการฟื้นฟู ต้องมีการวางแผนงานเป็นขั้นตอนโดยนักวิชาการและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้และการเป็นเครือข่ายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภูมิปัญญา และ 3) ด้านการพัฒนา ส่งเสริมสินค้าหัตถกรรมซึ่งก่อให้เกิดรายได้ต่อชุมชน ดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และการพัฒนาองค์ความรู้แก่ชุมชนและเยาวชน
References
Department of Fine Arts. (1995). Guidelines for Managing Historic Sites in The Cultural Heritage List of The World. Bangkok: Publishing Company Limited
______. (2012). Ancient Conservation Preservation Guidelines for Monks. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited.
Sarthit Krittalack. (2008). The Study of The Model of Conservation, Restoration and Development of Ancient Sites in Thung Kula Rong Hai District by Community Participation (Doctor of Thesis). Graduate School: Maha Sarakham University.
Somporn Turee. (2009). Uniqueness, Style and Colour of Mural Painting in Songkhla of Thailand (Research report). Rajamangala University of Technology Srivijaya.
Sunee Thongjan et al. (2013) . Problems Concerning Legal Enforcement on Archaeological Sites, Artefact and Sacred Places : Case Study on Ayutthaya Province Island (Research Report). Secretariat of the Senate.
Thanin Silpcharu.(2009). Research and Statistical Data Analysis with SPSS. Bangkok: Business R & D.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น