บุคคลผู้มีสิทธิตามกฎหมายในทรัพย์สินของพระภิกษุและคู่สมรส

ผู้แต่ง

  • วรพจน์ ถนอมกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คู่สมรส ; ทรัพย์สินของพระภิกษุ ; ภูมิลำเนาของพระภิกษุ ; สมบัติของวัด

บทคัดย่อ

เมื่อชายและหญิงตกลงปลงใจแต่งงานกันโดยจดทะเบียนสมรส เกิดผลให้คู่สมรสเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย หากการสมรสไม่สิ้นสุดลงด้วยความตายหรือการหย่า หรือการถูกเพิกถอนโดยศาล การสมรสย่อมยังมีผลตามกฎหมายอยู่ การที่สามีออกบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาก็ไม่ทำให้การสมรสสิ้นสุดลง แต่ถ้าการสมรสใดสิ้นสุดลงด้วยเหตุแห่งการมรณภาพของพระภิกษุ ทำให้ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้นโดยพลัน ไม่ตกเป็นทรัพย์มรดกแก่ภริยาหรือทายาทของพระภิกษุนั้นแต่อย่างใด

References

Office of the Royal Society. (2016). Dictionary of The Royal Institute 2011. Bangkok: Nanmebook Co.,Ltd.

Somdet Phra Phutthakosajan (P.A.Payutto). (2016). Dictionary of Buddhism. 27th edition. Bangkok : Publishing House of Buddhism of Dharmasapa.

Succession of Buddhist Monk. [Online]. [2018, 9 July] Available from: digi.Library. tu.ac.th/thesis/la/1088/07CHAPTER_2pdf.

The Property Relations Between Husband and Wife and the Devolution of Asset and Estate of Monk. [Online].[2018,9 July] Available from: libcms.nida.ac.th/ thesis6/2557/b185202.pdf.

The Right of Property of Buddhist Monk. [Online].[2018.11 July] Available from http://www.gotoknow.org/posts/442862.

Umporn Na Takuatung. (1985). Civil and Commercial Code : Succession. Bangkok : Krung Siam Publishing.

Winutta Sangsook. (2016). Civil and Commercial Code: Succession. Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

How to Cite

ถนอมกุล ว. (2019). บุคคลผู้มีสิทธิตามกฎหมายในทรัพย์สินของพระภิกษุและคู่สมรส. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(4), 294–305. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/220698