การกำกับดูแลมาตรฐานคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • เอกศิริ นิยมศิลป์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ศรุดา สมพอง มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การกำกับดูแล, มาตรฐานคุณภาพ,สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและการดำเนินการของ สกอ. และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและการแก้ไขปัญหาของ สกอ. รวมทั้งเพื่อศึกษาแนวทางที่พึงประสงค์ของ สกอ.ในการกำกับดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้เป็นการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาข้อมูลจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคคลกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) นำมาร้อยเรียงบรรณากรณ์ (Edit) ตามระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์เป็นบรรทัดฐาน

ผลการศึกษามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในความเป็นมาและการดำเนินการของ สกอ. ได้ข้อค้นพบสำคัญคือความไม่เสถียร(unstable)ในการจัดตั้งองค์การ จากปัจจัยแวดล้อมทางการเมืองในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และการดำเนินการที่ไม่ได้รับการยอมรับจากสถาบันอุดมศึกษาโดยรวมในการใช้อำนาจตามหน้าที่ ดังนั้นสัมพันธภาพของ สกอ.กับสถาบันอุดมศึกษา จึงเป็นลักษณะโดยบทบาทหน้าที่มากกว่าความปรองดองและสมานฉันท์ วัตถุประสงค์ในความต้องการศึกษาปัญหา อุปสรรคและการแก้ไขปัญหา ได้ข้อค้นพบสำคัญคือปัญหามาตรฐานคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาไทยในปัจจุบันอยู่ในภาวะถดถอย คุณภาพลดต่ำลง ปัจจัยเหตุสำคัญประการหนึ่งจากการขาดความร่วมมือที่ดีระหว่าง สกอ.กับสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งอาจแก้ไขได้โดยลดทอนบทบาทของ สกอ.ให้อยู่ในฐานะผู้อำนวยความสะดวก (facilitate) มิใช่ผู้กำกับดูแลและใช้อำนาจเหนือ (dominate over) สถาบันอุดมศึกษาทั้งหลาย และวัตถุประสงค์ในความต้องการศึกษาแนวทางที่พึงประสงค์ ได้ข้อค้นพบสำคัญคือในมิติของ สกอ.คือการได้รับการยอมรับในบทบาทหน้าที่ของการเป็นหน่วยงานองค์กรกลางของรัฐในการบริหารจัดการด้านอุดมศึกษา และในมิติของสถาบันอุดมศึกษาคือความต้องการให้ สกอ.ดำรงฐานะเป็นองค์กรกลางซึ่งเป็นที่พึ่งและที่ปรึกษาของประชาคมอุดมศึกษาของชาติ และในแนวทางที่พึงประสงค์ร่วมกันคือ ความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน และให้เกียรติแก่กันในความเป็นองค์กรสถาบันของระดับการศึกษาขั้นสูงสุดของประเทศ

ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการกำกับดูแลมาตรฐานคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาคือ การตระหนักรู้และยอมรับในความแตกต่างของแต่ละองค์กรและสถาบัน การให้เกียรติและความเชื่อถือแก่กันในความเป็นกลไกของระบบการอุดมศึกษา และข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติคือ การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่าง สกอ. และสถาบันอุดมศึกษาในการขับเคลื่อนระบบและกลไกการอุดมศึกษาร่วมกันอย่างมีผลิตภาพ

 

คำสำคัญ การกำกับดูแล มาตรฐานคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

เผยแพร่แล้ว

2019-09-25

How to Cite

นิยมศิลป์ เ., & สมพอง ศ. . . (2019). การกำกับดูแลมาตรฐานคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(3), 154–165. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/202671