สืบสานตำนานประวัติศาสตร์จังหวัดศรีสะเกษโดยผ่านกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนกับสถานศึกษาระดับประถมศึกษา
คำสำคัญ:
สืบสานตำนาน, ประวัติศาสตร์จังหวัดศรีสะเกษ, กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของ ชุมชน, สถานศึกษาระดับประถมศึกษาบทคัดย่อ
บทความนี้มี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารวบรวมตำนานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในจังหวัด
ศรีสะเกษ 2) เพื่อสร้างชุดความรู้ตำนานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้กระบวน
การศึกษา 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพบริบทพื้นฐาน 2) จัดประชุมเสวนาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและกำหนดโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 3) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 4) จัดประชุมเพื่อนำเสนอผลงานและติดตามผลงาน 5) ตรวจสอบความถูกต้องของประวัติศาสตร์โดยผู้เชี่ยวชาญ 6) ปรับปรุง 7) เผยแพร่ผลงานโดยการจัดนิทรรศการ ประชากรประกอบด้วย ครูและนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จาก 22 โรงเรียน เป็นครูโรงเรียนละ 2 คน นักเรียนโรงเรียนละ 10 คน และผู้เชี่ยวชาญ 15 คน รวมทั้งสิ้น 279 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสังเกต
และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) ตำนานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในจังหวัดศรีสะเกษ โดยผ่านกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนกับสถานศึกษาระดับประถมศึกษา มี 22 เรื่อง
2) ชุดความรู้ตำนานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ มี 22 เรื่อง โดยแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
ที่เห็นอาจเป็นหลักฐานที่ชี้บ่งถึงการดำเนินชีวิต ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมของคนในสมัยนั้นด้วยมีสภาพสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลทำให้เกิดหลักฐานชิ้นนั้น มีระดับความคิดเห็นมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย 4.53 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0. 52 รองลงมาคือ สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของข้อมูลถูกต้องตรงกับความรู้จริง และชี้ให้เห็นถึงสภาพความเป็นจริง ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ในอดีต มีระดับความคิดเห็นมากโดยมีค่าเฉลี่ย 4.47 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0. 64 และน้อยที่สุดคือ แหล่งของข้อมูลชั้นต้นหรือข้อมูลปฐมภูมิ (Primary sources) เป็นแหล่งของได้จากหลักฐานเดิม หรือหลักฐานที่เป็นต้นตอที่บันทึกโดยตรงหรือเป็นข้อมูลที่ได้จากคำบอกเล่า การบันทึก หรือรายงานของคนที่มีส่วนร่วมหรือเป็นพยานในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์นั้น เป็นไปอย่างถูกต้อง สมเหตุสมผล ซึ่งสามารถนำผลที่ได้มาใช้ในการอธิบายสภาพความเป็นจริงในอดีตได้ และเป็นรากฐานวัฒนธรรมเป็นภูมิปัญญาของคนในสังคมที่ น่าภาคภูมิใจควรค่าแก่การศึกษา และอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่สืบไป
References
Chutima Khambhunchoo. (2010). Local History Research Project in Lampang Province. Lampang Rajabhat University.
Jariya Mahatsananan Surapol Surayudh and Koenith Srithong. (2016).
The Development of Roles and Responsibility in Local Administrative Organizations. Journal of MCU Social Science Review, 5(3), 149-158.
Kanokrat Kittiwiwat. (2010). Behind The Scenes of Culture and Development in Central Thailand: Observations on Rural Sociologists. Journal of Sociology, Anthropology Review, 30(1), 67-89.
Nawaworn Kobbutrikul Suphannee Somanyat and Nopparat Kaewnak. (2016). Model of Participation of Reading Habits Activity Supporting for Primary School. Journal of MCU Social Science Review, 4(3), 234 – 244.
Pantip Ramsut. (1997). Participatory Action Research. Bangkok: Institute for The Development of ASEAN Health, Mahidol University.
Sangchit Tisang. (2017). The Human Resource Development and Participation by Local Knowledge in The Water Management by Local Knowledge Within The Community of Phranakhon Si Ayutthaya. Journal of MCU Social Science Review, 5(2), 335-343.
Supattra Akka Manang. (2011). A Model of Local History Learning Management Through Community. Participation to Promote Local Conservation Consciousness.
Tipaporn Trisaban. (2014). Guidelines for The Development of Historical Tourism Potential. Case Study of Aranyikarn Village Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Master of Arts Thesis
Department Of Hospitality, Tourism and Hospitality Management Bangkok University.
Uthai Dusakkasem. (2012). From The Past To The Present, The Future With The Humanities and Social Sciences. The Lecture Series at The Seminar, Valaya Alongkorn Rajabhat University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น