รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมนักศึกษาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะ การสร้างเครื่องมือประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านตามแนวทาง PISA

Main Article Content

พิบูลย์ ตัญญบุตร
สมบัติ คชสิทธิ์
สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม 2) พัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาวิชาชีพครูสาขาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะ และรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


            ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ จุดมุ่งหมายของรูปแบบ โครงสร้างของรูปแบบ เนื้อหาสาระของรูปแบบ กิจกรรมของรูปแบบ
สื่อและแหล่งเรียนรู้ของรูปแบบ และการวัดและประเมินผลของรูปแบบ ซึ่งมีกรอบสมรรถนะแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านเจตคติ โดยแต่ละด้านมี 6 ตัวชี้วัด ทั้งนี้กิจกรรมการฝึกอบรมของรูปแบบมี 6 ขั้น คือ ทบทวนความรู้ ชี้แนะแนวทาง นำเสนอเนื้อหา เรียนรู้สู่ทักษะ ส่งเสริมการนำไปใช้ และสรุปการเรียนรู้ สำหรับผลการตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับมากที่สุด 2) รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม เป็นคู่มือการใช้รูปแบบที่ประกอบด้วยแผนการจัดการฝึกอบรม จำนวน 6 หน่วย ซึ่งมีผลการตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) สมรรถนะของผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยจากการประเมินสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกับค่าเฉลี่ยจากการประเมินผลงานการสร้างเครื่องมือของผู้เข้ารับการฝึกอบรม หลังทดลองใช้รูปแบบในการฝึกอบรม ที่สูงกว่าเกณฑ์ซึ่งกำหนดไว้ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ตัญญบุตร พ., คชสิทธิ์ ส., & ศรีเอี่ยม ส. (2022). รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมนักศึกษาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะ การสร้างเครื่องมือประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านตามแนวทาง PISA. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(2), 750–762. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/259122
บท
บทความวิจัย

References

Bangmo, S. (2016). Techniques in training and conference. 6 thed. Bangkok: Witthayaphat.

Bonk, C. J., & Graham, C.R. (2006). The handbook of blended learning: global perspectives, local designs. San Francisco, CA: Pfeiffer publishing.

Brian, S. (2011). Engage!: The comple guide for brands and business to build, cultivate, and measure success in the new web. New York: John Wiley & Sons, 201-202.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row. pp. 202-204.

Iemjinda, M. & Rodsin, P. (2017). A Development of Learning and Teaching assessment and measurement Tools for Student Primary School Basic Education Teaching Thai Language. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(1), 1182-1196.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2019). PISA summary 2018. Bangkok, Thailand: Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology.

Kerlinger, F.N. (1986). Foundation of behavioral research (3nd ed). New York :Holt, Rinehart & Winston.

Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.

Ornstein, Allan c. & Hunkins, Francis p. (2009). Curriculum: foundations, principles, and issues 5th ed. Boston: Pearson.

Smithikrai, C. (2013). Personnel training in organizations. 8th edition. Bangkok: chulalongkorn university. (in Thai)

Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper& Row.

Tyler, Ralph W. (1970). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: The University of Chicago Press.

Yurdugul, H. (2008). Minimum Sample Size for Conbrach's Coefficial Alpha: A Monte Carlo Study. H.U. Journal of Education, 35, 397-405.