คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564) (ไฟล์ฉบับเต็ม)
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องยินยอมและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ รูปแบบ ขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ บทความปริทรรศน์ และบทความพิเศษ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงในเนื้อหาและอ้างอิงในท้ายบทความ (References) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารในรูปแบบของ APA 6th edition ดูตัวอย่างอ้างอิง
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำซ้อนของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCatch ในระบบเว็บไซต์ของ ThaiJO ไม่เกิน 25% โดยคำแนะนำสำหรับผู้เขียนนี้ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม และให้มีผลตั้งแต่ เดือน มกราคม 2564 เป็นตันไป
ผู้ประสงค์จะตีพิมพ์บทความต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและกระบวนการดังต่อไปนี้
1. ผู้เขียนจะต้องศึกษารูปแบบและตรวจสอบการเขียนบทความให้ตรงตามรูปแบบของวารสาร
2. แนบไฟล์บทความ (Microsoft word) และใบสมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบออนไลน์ที่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/login พร้อมแจ้งและติดต่อประสานงานไปที่ ผู้ช่วยบรรณาธิการ พระสมพร ปสนฺโน โทร. 084-320-3962, อีเมล: Somporn.lang@mcu.ac.th, ไอดีไลน์: Tom77725 และ ดร.ประดิสิษฐ์ ประคองสาย โทร. 082-551-5991, อีเมล: pradisist.pra@mcu.ac.th, ไอดีไลน์: ohho456 ทั้งนี้ผู้เขียนต้องระบุต้นสังกัด และเบอร์โทรศัพท์ ที่ติดต่อได้โดยตรง ไว้ในกล่องโต้ตอบ หรือ Discussion Box
3. บทความต้องผ่านการตรวจรูปแบบจากกองบรรณาธิการ และผู้เขียนต้องปรับแก้ไขให้สมบูรณ์และถูกต้องตามคำแนะนำของกองบรรณาธิการ
4. เนื้อหาบทความและองค์ประกอบของบทความต้องผ่านการตรวจพิจารณาและอนุมัติจากกองบรรณาธิการ เพื่อส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินบทความ
5. เมื่อบทความผ่านการอนุมัติจากกองบรรณาธิการแล้ว ผู้เขียนต้องทำการโอนเงินค่าธรรมเนียมบทความ 7,100 บาท (เจ็ดพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ ตามหมายเลขบัญชี "633-7-01948-0" ธนาคารทหารไทยธนชาต (ttb) ชื่อบัญชี "วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร" พร้อมแนบสลิปหลักฐานไปที่กล่องโต้ตอบ หรือ Discussion Box
วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ไม่มีนโยบายในการเก็บเงินค่าธรรมเนียมเกินที่กำหนดไว้ โปรดระวังมีบุคคลแอบอ้างเรียกเก็บเงินเพิ่ม ซึ่งทางวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่ขอรับผิดชอบโดยประการทั้งปวง
6. บทความต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 ท่าน และการพิจารณาของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด ในกรณีที่บทความของท่านไม่ผ่านการประเมินและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการ วารสารขอสงวนสิทธิ์ในการไม่รับตีพิมพ์บทความและไม่คืนเงินโดยประการทั้งปวง
7. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร เมื่อได้ผ่านการประเมินคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) โดยได้รับการจัดให้อยู่ในวารสารกลุ่มใดๆ ก็ตาม ผู้เขียนยินยอมที่จะรับผลการประเมินนั้นโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
8. เนื้อหาบทความที่แก้ไขตามผู้ประเมินต้องไฮไลท์ตัวอักษรสีแดง เพื่อให้กองบรรณาธิการได้เช็คตรวจสอบว่าท่านได้แก้ไขจริง และหากท่านไม่ไฮไลท์ตัวอักษรสีแดง ทางวารสารจะถือว่าท่านไม่ได้แก้ไขบทความตามผู้ประเมิน และส่งไฟล์ (Microsoft word) บทความที่แก้ไขสมบูรณ์แล้วแนบเข้ามาในระบบ โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน หลังจากวารสารได้ส่งผลประเมินให้ผู้เขียนทราบ ในกรณีกองบรรณาธิการตรวจพบว่าบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) ไม่สมบูรณ์ ทางวารสารจะส่งให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาปรับแก้ไข ซึ่งผู้เขียนจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจแก้ Abstract จำนวน 500 บาท
9. ทั้งนี้แม้บทความที่ผ่านการอนุมัติแล้ว ภายหลังพบว่า หากไม่สามารถติดต่อผู้เขียนบทความได้ และผู้เขียนไม่ยอมแก้ไขบทความให้สมบูรณ์หรือแก้ไขบทความล่าช้าไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด ทางวารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะปฏิเสธไม่รับตีพิมพ์บทความ และขอยกเลิกใบตอบรับตีพิมพ์บทความ โดยวารสารจะแจ้งผ่านทางอีเมล์จากระบบที่ผู้เขียนได้ลงทะเบียนไว้แล้วเท่านั้น
10. การจัดเลื่อนลำดับเพื่อเผยแพร่บทความในแต่ละฉบับ เป็นอำนาจและสิทธิ์ในการตัดสินใจของกองบรรณาธิการ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของบทความ ถ้าหากพบว่าบทความและกระบวนการการส่งบทความในระบบไม่สมบูรณ์
11. ความก้าวหน้าเกี่ยวกับบทความ เป็นความรับผิดชอบของเจ้าของบทความที่ต้องติดตามสอบถามอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้กองบรรณาธิการ จะแจ้งให้ทราบในระบบของวารสาร
การส่งบทความเข้าระบบ ThaiJO เพื่อได้รับการตีพิมพ์
การส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ได้ที่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/login เมื่อส่งเข้าระบบสำเร็จให้แจ้งข้อมูลให้กองบรรณาธิการทราบที่ พระสมพร ปสนฺโน โทร. 084-320-3962, อีเมล: Somporn.lang@mcu.ac.th, ไอดีไลน์: Tom77725 และ ดร.ประดิสิษฐ์ ประคองสาย โทร. 082-551-5991, อีเมล: pradisist.pra@mcu.ac.th, ไอดีไลน์: ohho456 เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก
การจัดเตรียมต้นฉบับบทความ
1) ต้นฉบับบทความต้องเป็นไฟล์เวิร์ด (Microsoft word) เท่านั้น
2) กระดาษ A4 มีความยาวระหว่าง 10-15 หน้า (รวมหน้า References) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว 1 คอลัมน์ ใช้ตัวอักษรแบบ THSarabunPSK (ขนาดอักษร 16 pt.)
3) ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบกระดาษ ขอบบน - ล่าง ขอบขวา - ซ้าย เท่ากันทุกด้าน ด้านละ 1 นิ้ว กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และย่อหน้า 7 เคาะ
4) การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขและชื่อกำกับใต้รูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ตารางที่ 1 หรือ Table 1 และ รูปภาพที่ 1 หรือ Figure 1 โมเดลที่ 1 หรือ Model 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ
5) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทย (20 pt.) และภาษาอังกฤษ (18 pt.) ตรงกลางหน้ากระดาษ
6) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (16 pt.) ไม่ต้องระบุตำแหน่งทางวิชาการ คำนำหน้า นาย/นาง/นางสาว/คุณ/ยศตำแหน่ง (ยกเว้นกรณีเป็นพระภิกษุ) พิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติอยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยชิดขอบขวา และใช้ตัวเลขยกกำกับหน้าชื่อผู้เขียนแสดงชื่อหน่วยงาน กรณีมีผู้ร่วมเขียน 2 คนขึ้นไป สังกัดสถาบันเดียวกัน ให้แสดงเพียง 1 หมายเลขเท่านั้น แต่หากผู้ร่วมเขียนมาจากหลายสถาบัน ให้ระบุหมายเลขยกกำกับหน้าชื่อ 1 2 3 ตามลำดับ
7) มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 500 คำต่อบทคัดย่อ
8) กำหนดคำสำคัญ (Keywords) จากชื่อบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3 - 5 คำ)
9) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด (18 pt. ตัวหนา) ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อย (16 pt. ตัวหนา) เว้นห่างจากหัวข้อใหญ่ 7 เคาะ พิมพ์ตัวอักษรที่ 8 ต้องพิมพ์ให้ตรงกัน
10) การใช้ตัวเลขตลอดทั้งบทความ ต้องใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด ไม่ใช้ตัวเลขไทย
11) การอ้างอิงแหล่งข้อมูลในเนื้อหา จะต้องแปลเป็นนามสกุลภาษาอังกฤษทุกรายการ พร้อมระบุเป็น ค.ศ. สำหรับในบรรณานุกรมท้ายบทความ (References) ต้องแปลเป็นนามสกุล, ชื่อย่อ, ค.ศ. เป็นภาษาอังกฤษ (เฉพาะบทความวิจัยควรมีการอ้างอิง 8 อ้างอิงขึ้นไป)
12) สามารถส่งบทความผ่านระบบออนไลน์ได้ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/in
รูปแบบบทความวิจัย
บทความวิจัยมีองค์ประกอบหัวข้อ ดังนี้
1) ชื่อเรื่องภาษาไทย (20 pt.) ภาษาอังกฤษ (18 pt.)
2) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียนบทความ (ภาษาไทย 16 pt.)
- ผู้เขียนระบุเลขยกหน้าชื่อผู้เขียนแต่ละท่าน
- กรณีคณะและสถาบันเดียวกันให้ใช้เลขยก 1 เพียงเลขเดียว
- ผู้เขียนรวมทั้งผู้ร่วมเขียนไม่เกิน 4 ท่าน(ถ้ามากกว่านี้ ต้องแสดงหลักฐานว่าเป็นผู้วิจัย หรือผู้ร่วมวิจัย, ทั้งนี้ให้ใส่ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์)
3) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียน (ภาษาอังกฤษ 16 pt.)
4) คณะ, สถาบัน (ภาษาไทย 14 pt.) ไม่ต้องหนา
- (คณะหรือสถาบันที่ต่างกันระบุเลขยกตามลำดับ)
5) Faculty, Institute, Thailand. (อังกฤษ 14 pt.) ไม่ต้องหนา
6) Corresponding Author’s Email (อีเมลผู้ติดต่อประสานบทความ 14 pt.)
7) บทคัดย่อ (หัวเรื่อง 18 pt., เนื้อความ 16 pt., ไม่เกิน 500 คำ, ระบุวัตถุประสงค์วิจัย ประเภทของงานวิจัย กลุ่มประชากร พื้นที่ การวิเคราะห์ข้อมูล (สถิติ, เชิงพรรณนา) และผลการวิจัยตามลำดับของวัตถุประสงค์)
8) คำสำคัญ (16 pt.) (3 – 5 คำ ตามชื่อของบทความ คั่นด้วยเครื่องหมาย Semicolon ;)
9) Abstract (18 pt., เนื้อความ 16 pt.) (แปลรักษารูปคำและประโยคให้ตรงกับภาษาไทย ไม่แปลสรุปย่อ ไม่แปลจับประเด็น ไม่แปบขยายความ ใส่ตัวเลขข้อย่อหน้า วรรคตอน ลำดับหัวข้อหลัก หัวข้อรอง ให้ตรงกับภาษาไทย)
10) keywords (16 pt.)
11) บทนำ (18 pt., เนื้อความ 16 pt.) แบ่งเป็นสี่ย่อหน้า ดังนี้
- ความเป็นมา บริบท สภาพปัญหาของประเด็น (อ้างอิง)
- กรณีที่ศึกษา/กรณีพื้นที่ (อ้างอิง)
- หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เชิงวิชาการ แนวทางปฏิบัติ มาตรฐานการแก้ไขปัญหาหรือการส่งเสริมพัฒนา (อ้างอิง)
- แรงจูงใจที่อยากจะศึกษา (ต้องสะท้อนเชื่อมโยงกับประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น และระบุเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์) เหตุผลความคาดหวัง คุณค่า ประโยชน์ ที่หวังได้จากการศึกษา
12) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
1. เพื่อ................................................................................................
2. เพื่อ................................................................................................
3. เพื่อ................................................................................................
13) วิธีดำเนินการวิจัย (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาด้านเนื้อเอกสารแนวคิดทฤษฎี (Documentary Study)
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาในภาคสนาม (Field Study)
ขั้นตอนที่ 3 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)
ขั้นตอนที่ 4 เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการศึกษา
1) การสัมภาษณ์ (In–depth Interviews)
2) การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion)
3) ศึกษาและติดตามผลการปฏิบัติ/ทดลอง/ฝึกอบรม
ขั้นตอนที่ 5 การรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 7 สรุปผลการศึกษาวิจัย และ การนำเสนอผลการศึกษาวิจัย (Presentation of the Research Results)
14) ผลการวิจัย (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
วัตถุประสงค์ที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า.....................................................
วัตถุประสงค์ที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า.....................................................
วัตถุประสงค์ที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า.....................................................
15) องค์ความรู้ใหม่ (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
องค์ความรู้ใหม่ (องค์ความรู้จากผู้วิจัย) คือ การสังเคราะห์ชุดองค์ความรู้ออกมาในรูปแบบของแผนภูมิ แผนภาพ ผังมโนทัศน์ หรือโมเดล พร้อมทั้งการอธิบายเชิงกระบวนการ วิธีการขั้นตอน คุณค่าประโยชน์ รูปแบบแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ ที่ก่อให้เกิดแนวทางขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการส่งเสริม/การพัฒนา/การเปลี่ยนแปลงของบุคคล สังคม และองค์กร (อธิบายให้กระชับรัดกุม เข้าใจได้ง่าย)
16) อภิปรายผลการวิจัย (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยง ความสอดคล้อง ความเหมือน ความแตกต่างกับกรอบแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยอื่นๆในอดีตที่ผ่านมาอย่างไร
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า........................... ทั้งนี้เป็นเพราะ........................ สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยของ...................................................................................... (อ้างอิง)
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า........................... ทั้งนี้เป็นเพราะ........................ สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยของ..................................................................................... (อ้างอิง)
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า........................... ทั้งนี้เป็นเพราะ........................ สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยของ..................................................................................... (อ้างอิง)
17) สรุป (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
สรุปภาพรวมครอบคลุมผลการวิจัย เป็นความเรียงไม่ใส่เลขเป็นข้อมาตรา ไม่เอียง ไม่หนา ไม่แทรกภาพโมเดล (ไม่ต้องแทรกอ้างอิง)
18) ข้อเสนอแนะ (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
จากผลการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย (เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ ใคร หน่วยงานใด อย่างไร)
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า ............................................................ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้ดำเนินการ ดังนี้.............................................................................
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า ..............................................................ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้ดำเนินการ ดังนี้..............................................................................
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 3 พบว่า ..............................................................ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้ดำเนินการ ดังนี้...............................................................................
2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป (ต้องเกี่ยวเนื่องต่อยอดจากบทความนี้)
สำหรับประเด็นในการวิจัยครั้งต่อไปควรทำวิจัยในประเด็นเกี่ยวกับ
2.1. ............................................................................................................................
2.2. ............................................................................................................................
2.3. ............................................................................................................................
19) บรรณานุกรม (18 pt., เนื้อความ 16 pt.) ดูตัวอย่าง
เฉพาะบทความวิจัยควรมีการอ้างอิง 8 อ้างอิงขึ้นไป แหล่งข้อมูลอ้างอิง ที่ปรากฏในเนื้อหาบทความทั้งหมด จะต้องนำมาเขียนเป็นรายการอ้างอิงใน References ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกๆอ้างอิง ตามรูปแบบอ้างอิงของวารสาร และเรียงลำดับตามตัวอักษร A-Z (ห้ามอ้างอิง References ที่ไม่ปรากฏการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ)
บทความวิชาการ
มีองค์ประกอบหัวข้อ ดังนี้
1) ชื่อเรื่องภาษาไทย (20 pt.) ภาษาอังกฤษ (18 pt.)
2) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียนบทความ (ภาษาไทย 16 pt.)
-ผู้เขียนระบุเลขยกหน้าชื่อผู้เขียนแต่ละท่าน
- กรณีคณะและสถาบันเดียวกันให้ใช้เลขยก 1 เพียงเลขเดียว
- ผู้เขียนรวมทั้งผู้ร่วมเขียนไม่เกิน 3 ท่าน
3) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียน (ภาษาอังกฤษ 16 pt.)
4) คณะ, สถาบัน (ภาษาไทย 14 pt.) ไม่ต้องหนา
- (คณะหรือสถาบันที่ต่างกันระบุเลขยกตามลำดับ)
5) Faculty, Institute, Thailand. (อังกฤษ 14 pt.) ไม่ต้องหนา
6) Corresponding Author’s Email (อีเมลผู้ติดต่อประสานบทความ 14 pt.)
7) บทคัดย่อ (หัวเรื่อง 18 pt., เนื้อความ 16 pt., ไม่เกิน 500 คำ)
(นำเสนอประเด็นปัญหา หลักการ แนวคิด ทฤษฎี แนวทาง วิถีปฏิบัติในเชิงวิชาการ ข้อค้นพบ มุมมอง ทัศนะ ที่สะท้อนทางออก ทางเลือก องค์ความรู้ใหม่ โดยเขียนให้กระชับ จัดลำดับหมวดหมู่ แยกข้อ แยกประเด็น ให้เห็นชัดเจน)
8) คำสำคัญ (16 pt.) (3 – 5 คำ ตามชื่อของบทความ คั่นด้วยเครื่องหมาย Semicolon ;)
9) Abstract (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
(แปลรักษารูปคำและรูปประโยคให้ตรงกับภาษาไทย ไม่แปลสรุปย่อ ไม่แปลจับประเด็น ไม่แปรขยายความ) (ใส่ตัวเลขข้อ ย่อหน้า วรรคตอน ลำดับหัวข้อหลัก, หัวข้อรอง ให้ตรงกับภาษาไทย)
10) keywords (16 pt.)
11) บทนำ (18 pt., เนื้อความ 16 pt.) สามหรือสี่ย่อหน้า ดังนี้
- ความเป็นมา บริบท สภาพปัญหาของประเด็นที่ศึกษา/กรณีที่ศึกษา/กรณีพื้นที่(อ้างอิง)
- หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เชิงวิชาการ แนวทางปฏิบัติ มาตรฐานการแก้ไขปัญหาหรือการส่งเสริมพัฒนา (อ้างอิง)
- แรงจูงใจที่อยากจะศึกษา เหตุผลความคาดหวัง คุณค่า ประโยชน์ ที่หวังได้จากการศึกษา
12) เนื้อเรื่อง (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
- บริบทความเป็นมา ประเด็นปัญหา แสดงสาระสำคัญภายใต้กรอบแนวคิดในเชิงวิชาการ นำเสนอตามลำดับแยกประเภทหมวดหมู่ ความสำคัญมาก ความสำคัญน้อย ประเด็นหลัก ประเด็นรอง โดยใส่ลำดับเลขข้อ ย่อหน้า วรรคตอน ให้เข้าใจได้ง่ายและชัดเจน (อ้างอิง)
- นำเสนอหลักการ แนวคิด ทฤษฎี แนวทางปฏิบัติ ที่สะท้อนมุมมอง องค์ความรู้ใหม่ อย่างเป็นเป็นหมวดหมู่ เป็นระบบ เป็นขั้นตอน เพื่อเป็นทางเลือกหรือทางออกสำหรับการแก้ไขปัญหาหรือการส่งเสริมพัฒนา โดยสอดคล้องกับหลักวิชาการ (อ้างอิง)
13) สรุป (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
สรุปภาพรวมครอบคลุมผลการศึกษาที่นำเสนอ เป็นความเรียงไม่ใส่เลขเป็นข้อมาตรา ไม่เอียง ไม่หนา ไม่แทรกภาพโมเดล สะท้อนคุณค่าทางวิชาการ (ไม่ต้องแทรกอ้างอิง)
14) References (18 pt., เนื้อความ 16 pt.) ดูตัวอย่างอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง ที่ปรากฏในเนื้อหาบทความทั้งหมด จะต้องนำมาเขียนเป็นรายการอ้างอิงใน References ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกๆอ้างอิง ตามรูปแบบอ้างอิงของวารสาร และเรียงลำดับตามตัวอักษร A-Z (ห้ามอ้างอิง References ที่ไม่ปรากฏการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ) (ห้ามอ้างอิง References ที่ไม่ปรากฏในเนื้อหาบทความ)
บทความปริทรรศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ
1) ชื่อเรื่องภาษาไทย (20 pt.) ภาษาอังกฤษ (18 pt.)
2) ชื่อผู้เขียน (ภาษาไทย 16 pt.)
3) ชื่อผู้เขียน (ภาษาอังกฤษ 16 pt.)
4) คณะ, สถาบัน (ภาษาไทย 14 pt.) ไม่ต้องหนา
5) Faculty, Institute, Thailand. (อังกฤษ 14 pt.) ไม่ต้องหนา
6) Corresponding. Author’s Email (อีเมลผู้ติดต่อประสานบทความ 14 pt.)
ข้อมูลส่วนประกอบของหนังสือที่วิจารณ์ ดังนี้ (ฟอนต์ 16 pt. ไม่หนา)
1. ภาพปกหนังสือ
2. แปลจากหนังสือ: ………………………………………………
3. ผู้เขียน: …………………………………………………….........
4. ผู้แปล: ……………………………………………………..........
5. สํานักพิมพ์: ………………………………………………........
6. ปีที่พิมพ์: ………………………………………………….........
7. จํานวนหน้า: ……………………………………………..........
7) บทนำ (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
- บริบท ความเป็นมา ของหนังสือหรือประเด็นที่ศึกษา
- องค์ประกอบของหนังสือหรือประเด็นที่ศึกษา บท หมวดหมู่ ลักษณะ ชนิด ประเภท วัตถุประสงค์ คุณค่า ประโยชน์ สาระสำคัญ ฯลฯ
8) เนื้อหา (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
รายละเอียดเนื้อหา องค์ประกอบของหนังสือหรือประเด็นที่ศึกษา บท หมวดหมู่ ลักษณะ ชนิด ประเภท วัตถุประสงค์ สาระ ประเด็น แง่คิด มุมมอง
9) บทวิจารณ์ (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
- นำเสนอหลักการ แนวคิด ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ ที่สะท้อนมุมมองเหตุผลความคาดหวัง ผลกระทบ สาระสำคัญ ตามหลักทฤษฎีเชิงวิชาการ พร้อมเสนอแนะแนวทางเพื่อการแก้ไข การส่งเสริมและพัฒนาต่อยอด (อ้างอิงถ้ามี)
- จุดเด่น, จุดด้อย
10) สรุป (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
สรุปภาพรวมครอบคลุมผลการศึกษาที่นำเสนอ สะท้อนคุณค่า การนำไปใช้ประโยชน์ เป็นความเรียงไม่ใส่เลขเป็นข้อมาตรา ไม่เอียง ไม่หนา ไม่แทรกภาพโมเดล สะท้อนคุณค่าทางวิชาการ
11) References (18 pt., เนื้อความ 16 pt.) ดูตัวอย่างอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง ที่ปรากฏในเนื้อหาบทความทั้งหมด จะต้องนำมาเขียนเป็นรายการอ้างอิงใน References ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกๆ อ้างอิง ตามรูปแบบอ้างอิงของวารสาร และเรียงลำดับตามตัวอักษร A-Z (ห้ามอ้างอิง References ที่ไม่ปรากฏการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ) (ห้ามอ้างอิง References ที่ไม่ปรากฏในเนื้อหาบทความ)
สิทธิของบรรณาธิการ
ในกรณีที่กองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินบทความมีความเห็นว่าควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินเป็นเกณฑ์หลัก และขอสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาไม่ตีพิมพ์บทความ ในกรณีที่ผลการประเมินบทความไม่ผ่านจากผู้ทรงคุณวุฒิ และในกรณีที่บทความวิจัย บทความทางวิชาการหรือบทความวิจัยไม่แก้ไขให้เป็นไปตามคำแนะนำของกองบรรณาธิการและผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ตั้งแต่ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร จะยกเลิกการตีพิมพ์รูปเล่มวารสาร และจะเผยแพร่วารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
ทั้งนี้ หากมีการตรวจพบหรือมีการร้องเรียนว่า บทความมีความซ้ำซ้อน (CopyCatch) เกิน 25 % หรือซ้ำซ้อนในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หรือได้เคยตีพิมพ์เผยแพร่บทความมาก่อนแล้ว ทางวารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะใช้ดุลยพินิจ ปฏิเสธและระงับการเผยแพร่บทความนั้น ทั้งนี้ตั้งแต่ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2564) เป็นต้นไป
ไฟล์แนะนำ / ไฟล์รูปแบบ / ไฟล์ตัวอย่าง
1. คำแนะนำสำหรับผู้เขียน 2. บทความวิจัย 3. บทความวิชาการ 4. บทวิจารณ์หนังสือ
5. รูปแบบอ้างอิง 6. ใบสมัครสมาชิก 7. บัญชีธนาคาร 8. บทความวิจัย พร้อมพิมพ์
9. บทความวิชาการ พร้อมพิมพ์ 10. วิธีลงทะเบียนในระบบ