ประสิทธิผลความรับผิดชอบต่อสังคมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

Main Article Content

พรปวีณ์ มานะสาคร
ศิรวิทย์ กุลโรจนภัทร
บุญศรี ธีรชัย

บทคัดย่อ

บทวามวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญและอิทธิพลของนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม การบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม วัฒนธรรมองค์กร การมีส่วนร่วมของพนักงาน และประสิทธิผลความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. และ ศึกษาแนวทางการสร้างรูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างคือพนักงาน กฟผ. จำนวน 300 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของพนักงาน ขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกตได้ รวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน ได้แก่ 1) ผู้ว่าการ กฟผ. 2) รองผู้ว่าการ กฟผ. และ 3) ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสังคม ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม การบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม วัฒนธรรมองค์กร การมีส่วนร่วมของพนักงาน และประสิทธิผลความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) อิทธิพลของนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมส่งผลต่อประสิทธิผลความรับผิดชอบต่อสังคมมากที่สุด รองลงมาคือ การบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม วัฒนธรรมองค์กร และการมีส่วนร่วมของพนักงานตามลำดับ และ 3) รูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมได้แก่ นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม ประกอบด้วย เนื้อหา เป้าหมาย วัตถุประสงค์ การบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ การวางแผน การดำเนินงาน วัฒนธรรมองค์กร ประกอบด้วย ลักษณะปฏิบัติงาน ลักษณะพนักงาน การมีส่วนร่วมของพนักงาน ประกอบด้วย ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับประโยชน์ ร่วมประเมินผล และประสิทธิผลความรับผิดชอบต่อสังคมประกอบด้วย กิจกรรมด้านสังคม กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม กิจกรรมด้านเศรษฐกิจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Acquier, A., Daudigeos, T., & Valiorgue, B. (2011). Corporate Social Responsibility As an Organizational and Managerial Challenge: The Forgotten Legacy of the Corporate Social Responsiveness Movement. M@n@gement, 14(4), 221-250.

Angsuchote, S., Wichitwanna, S., & Pinyophanuwat, R. (2009). Statistical Analysis for Research on Social and Behavioral Science: Technique for use of LISREL. (3nd ed.). Bangkok: CDMK printing.

Barnett, M. L. (2017). The Business Case for Corporate Social Responsibility: A Critique and An Indirect Path Forward. Retrieved January 14, 2020, from https://www.researchgate.net/publication/305281003.

Bolton, S. C., Chung-Hee, K., & O’Gorman, K. D. (2011). Corporate Social Responsibility as a Dynamic Internal Organizational Process: A Case Study. Journal of Business Ethics,101(1), 61-74.

Chaisorn, W., & Kesapradist, B. (2017). Corporate Social Responsibility and Sustainable Development: Case Study of 6 Companies. Panyapiwat Journal, 9(3), 140-152.

Corporate Social Responsibility Institute. (2018). CSR for Corporate Sustainability. Retrieved April 1, 2020, from https://www.set.or.th/yfs/main/download/YFS2018_ExamReading01.pdf.

Doh, J. P., Howton, S. D., Howton, S. W., & Siegel, D. S. (2010). Dose the Market Respond to an Endorsement of Social Responsibility? The Role of Institutions, Information, and legitimacy. Journal of Management, 36(6), 1461-1485.

Electricity Generating Authority of Thailand. (2010). Corporate Social Responsibility Report 2010. Retrieved September 10, 2019, from https://www.egat.co.th/images/egat-csr/csrreport/CSR_2553_Thai.pdf

Electricity Generating Authority of Thailand. (2020 ). Sustainable Operations with Stakeholders. Retrieved April 1, 2020, from https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=3822&Itemid=381.

El-Garaihy, H. W., Mobarak, M. A-K, & Albahussain, A. S. (2014). Measuring the Impact of Corporate Social Responsibility Practices on Competitive Advantage: A Mediation Role of Reputation and Customer Satisfaction. International of Business and Management,

(5), 109-124.