กลวิธีทางภาษาที่สะท้อนมุมมองความรักในนวนิยายรักของศิลปินแห่งชาติ

Main Article Content

พรรณษา พลอยงาม
ประเทือง ทินรัตน์
ปนันดา เลอเลิศยุติธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่สะท้อนมุมมองความรักในนวนิยายรักของศิลปินแห่งชาติที่เป็นสุภาพสตรี ในช่วงปี พ.ศ.2500 - พ.ศ. 2557 การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้คือ นวนิยายรัก จำนวน 49 เรื่อง จากผลงานนักเขียนนวนิยายของไทยที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ จำนวน 10 คน มีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างนวนิยายรักโดยใช้ Snowball Technique ผู้วิจัยศึกษาเอกสารทางวิชาการทั้งประเภทตำรา หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตามกรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับกลวิธีทางภาษา แล้วบันทึกข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้าไว้ต่อจากนั้นผู้วิจัยได้ประมวลความรู้ทั้งหมดกำหนดเป็นเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ในการวิจัย และแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการถ่ายทอดเรื่องราวความรักในนวนิยายรักของศิลปินแห่งชาติที่เป็นสุภาพสตรี ในช่วงปี พ.ศ.2500 - พ.ศ. 2557 พบกลวิธีทางภาษา 5 กลวิธีหลัก ได้แก่ กลวิธีการใช้คำ กลวิธีการใช้ประโยคแสดงเจตนา กลวิธีการใช้สำนวน กลวิธีการใช้ภาพพจน์ และกลวิธีการใช้โวหาร กลวิธีทางภาษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เขียนใช้ภาษาเป็นเครื่องมือทำหน้าที่สื่อแทนความคิดของผู้เขียน สะท้อนให้เห็นมุมมองความรักในแง่มุมต่างๆที่ผู้เขียนสื่อสารไปยังผู้อ่าน เพื่อเป็นแนวทางหรือคติในการดำเนินชีวิต ให้เป็นคนฉลาดรัก รักอย่างเข้าใจ ตลอดจนเป็นประโยชน์ในการรู้เท่าทันความรักที่จะเกิดขึ้นในแต่ละรูปแบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Angkapanichkit, J. (2014). Text analysis. Bangkok: Thammasat University.

Asoksin, K. (1965). Phet Nai Ruean. Bangkok: Ruam San.

Bamroong-thai, W. (2001). The science and art of fiction. Bangkok: Suveeriyasan.

Chaiyachinda, C. (1960). Tam Rap Rak. Bangkok: Science Archives.

Kanchanakphan, S. (2000). Thai idioms. (4th ed.). Bangkok: School of Language and Culture Technology Promotion Association (Thai-Japanese).

Ladawan, S. (1957). Lang Rak. Bangkok: Rungsang Printing.

Laksanasiri, CH., & Imsamran, B. (2005). Language and communication. Bangkok: P. Press Co., Ltd.

Mallikamas, K. (1979). Literature reviews. Bangkok: Department of Thai and Oriental Languages Faculty of Humanities, Ramkhamhaeng University.

Nakkhanan, K. (1970). Phu Kong Yot Rak. Bangkok: Phrae Phitthaya.

Namkord, P. (2020). Linguistic Strattegies and Ideologies of Citizenship: A Study of Primary School Civic Duty Textbook Based on Thailand’s Basic Education Core Curriculum B.E. 2008. (Master’s Thesis). Ubon Ratchathani University. Ubon Ratchathani.

Narawadee. (1968). Phrungni Mai Mi Thoe. Bangkok: Chokchai Thewet.

Phra Dhammakosajarn (Buddhadassa Bhikkhu). (2015) . Dharma with love and marriage. Retrieved August 13, 2021, from https://www.mcu.ac.th/article/detail/14235.

Prempanya, T. (2011). An Analysis of Advertising Language of Kids’ Dairy Product within 2005 - 2008. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Sangkrachang, C. (2013). Chap Ton Ma Chon Plai. Bangkok: Kom Bang.

Sriyapai, W. (2012). Writing for communication.Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University.

Surangkhanang, K. (1987). Dom Phu Chonghong. Bangkok: Odian Store.

Suwan, S. (2000). Rabam Bai. Bangkok: Printing Sophon.

Thai Uboon, D. (2007). Thai writing skills. (4th ed.). Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University.

Tmanti. (1986). Khamman Sanya. Bangkok: Bamrung San.

Winitchaikun, W. (1999). Ratri Pradap Dao. Bangkok: Aksorn Sophon Co., Ltd.