แนวทางการฟื้นฟูผู้พิการให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางในการฟื้นฟูที่เหมาะสมกับผู้พิการเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างที่แน่นอนกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จำนวน 19 คน ได้แก่ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการที่มีประสิทธิภาพ แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ การพัฒนาการบริการทางสาธารณสุข และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการอย่างยั่งยืน จำนวน 9 คน และผู้บริหารภาคเอกชน และผู้ประกอบการที่จะต้องรับผู้พิการเข้าทำงาน จำนวน 10 คน เพื่อศึกษาถึงแผนการจัดการกับคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของผู้พิการทั้งในด้านการออกแบบการทำงาน สภาพทางสังคม สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับผู้พิการที่ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพให้สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการศึกษาพบว่า แนวทางในการฟื้นฟูผู้พิการให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสำหรับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สามารถสรุปได้ 9 แนวทาง ประกอบด้วย 1) ด้านสิทธิและหน้าที่ โดยการสร้างความตระหนักรู้สิทธิ และหน้าที่แก่คนพิการ ครอบครัว ชุมชน และสังคม สถานประกอบการ ตลอดจนบุคลากรของทั้งภาครัฐ และเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับคนพิการ 2) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ โดยการส่งเสริมความตระหนักรู้ การให้การศึกษา รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเรื่องคนพิการ ความรู้เรื่อง ความสามารถในการพัฒนาศักยภาพของคนพิการ 3) ด้านการพัฒนาศักยภาพผู้พิการ โดยการส่งเสริมสุขภาวะ พัฒนาศักยภาพ สนับสนุนการจัดกิจกรรมทางด้านกีฬา อาชีพ และระบบสวัสดิการทางสังคม 4) ด้านกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ โดยการฟื้นฟูสมรรถภาพ หู ตา สติปัญญา เบาหวานและภาวะซึมเศร้า 5) ด้านการบริหารจัดการแบบบูรณาการ โดยการสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานด้านคนพิการ ทั้งด้านการพัฒนาบุคลากร ครอบครัว และผู้ปกครองคนพิการอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน 6) ด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรด้านผู้พิการ โดยการส่งเสริมความเข้มแข็งองค์กรของคนพิการและองค์กรผู้ปกครองคนพิการ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 7) ด้านการมีส่วนร่วมของผู้พิการ ครอบครัว และชุมชน โดยการส่งเสริมคนพิการและครอบครัวมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจทั้งในระดับนโยบาย แผนงาน โครงการ กฎหมาย ตลอดจนการรับบริการ ที่มีผลกระทบต่อคนพิการ 8) ด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร บริการ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี โดยการสนับสนุนการจัดสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการทุกประเภท และ 9) ด้านการวิจัยและพัฒนาโดยการส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ การประเมินผลโครงการ และการดำเนินงานเกี่ยวกับคนพิการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Croce, F. (2010). Strategies for Fighting Medicare Fraud. Health Care Manage, 37(2), 147-154.
Department of Empowerment of Persons with Disabilities. (2021). The Promotion and Development of the Quality of Life of Persons with Disabilities B.E. 2550. Retrieved January 25, 2021, from http://web1.dep.go.th/sites/default/files/files/law/37_0.pdf
Digital Government Development Agency. (2021). Disability Data Statistics with a Disability ID Card by Province Disability Type and Gender.Retrieved January 28, 2021, from https://data.go.th/dataset/item_b5966a54-0b48-4128-b180-a22d2baed159
ESCAP. (2010). Disability at a Glance 2010: a Profile of 36 Countries and Areas in Asia and the Pacific. Bangkok: United Nation.
Friedlander, W. A., & Apte, R. Z. (2005). Introduction to Social Welfare. New Yoke: Seneca Valley Books & Paper Collectibles.
National Office for Promotion and Development of the Quality of Life of Disabled Persons. (2021). Disability Data Statistics with a Disability ID Card. Retrieved May 18, 2020, from https://translate.google.co.th/?hl=th&sl=auto&tl=en&text=สถิติข้อมูลคนพิการที่มีบัตรประจำ ตัวคนพิการ&op=translate
Office of the National Economic and Social Development Board (2017). 12th National Economic and Social Development Plan 2017-2021. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board.
Phunpung, K. (2008). IL Independent Living of People. Nonthaburi: Council for the Independent Living of Persons with Disabilities, Thailand.
Reid, L. D. (2010). The Role of Perceived Race and Gender in the Evaluation of College Teaching on RateMyProfessors.Com. Journal of Diversity in Higher Education, 3(3), 137–152.
Phayomyam, S. (2013). Psychology in Community Work. Bangkok: Bangkok-Comtech Intertrade.
Turner, M. (2017). Public Sector Reform and National Development in East and Southeast Asia: Specificity and Commonality in Public Policy in the Asian Century, Concepts, Cases and Futures. London: Palgrave Macmillan.
UNDP. (2015). Human Development Report 2015. Retrieved May 3, 2020, from https://sustain abledevelopment.un.org/content/documents/22212015_human_development_report.pdf
UNESCO. (2014). UNESCO Conference on ICTs and Persons with Disabilities. New Delhi: United Nation.
Department of Economic and Social Affairs. (2019). Disability and Development Report. New York: United Nations.
World Health Organization. (2005). Disability and Rehabilitation WHO Action Plan 2006-2011. Retrieved May 18, 2020, from http://www.who.int/disabilities/publicationsdar_action_ plan_2006to2011pdf