กระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังคดีฆ่าผู้อื่นตามแนว ทางพุทธสันติวิธี: ศึกษากรณีเรือนจำพิเศษพัทยา

Main Article Content

มนูญ สำเร็จ
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
อดุลย์ ขันทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาวิเคราะห์บริบทเรือนจำพิเศษพัทยา และแนวคิด ทฤษฎีอาชญาวิทยา แนวคิดเกี่ยวกับการฆ่า และแนวคิดการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังคดีฆ่าผู้อื่น 2) ศึกษาวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี วิธีการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังคดีฆ่าผู้อื่นตามแนวทางพุทธสันติวิธี และ 3) นำเสนอกระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังคดีฆ่าผู้อื่นตามแนวทางพุทธสันติวิธี: ศึกษากรณีเรือนจำพิเศษพัทยา การศึกษาใช้การวิจัยแบบผสมผสานโดยออกแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ต้องขังคดีฆ่าผู้อื่น จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์จำนวน 43คน และการสนทนากลุ่มจากผู้เชียวชาญจำนวน 13 ท่านนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการจัดหมวดหมู่ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเนื่องจากผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษพัทยามีจำนวนมากปัญหาด้านงบประมาณที่มีจำนวนจำกัดปัญหาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาพฤตินิสัย การจัดกิจกรรมฝึกวิชาชีพต่าง ๆ ให้กับผู้ต้องขังเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ขนาดพื้นที่เรือนจำที่ใช้สำหรับการจัดโปรแกรมแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังมีความคับแคบ และเนื้อหาหลักสูตรโปรแกรมแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง ควรสอดคล้องกับตลาดแรงงานภายนอก สามารถนำไปประกอบอาชีพได้หลังพ้นโทษ 2) เครื่องมือในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังคดีฆ่าผู้อื่น เพื่อให้มีพฤตินิสัยที่พึงประสงค์ คือหลักไตรสิกขา การใช้พุทธสันติวิธีนำทาง เสริมสร้างศีลธรรม แนะนำการใช้ชีวิต ฝึกจิตให้ผ่องใส พัฒนาให้ฉลาดทางอารมณ์และหลักในการประเมินผลการพัฒนามนุษย์ คือ หลักภาวนา 4 3) นำเสนอกระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังคดีฆ่าผู้อื่นตามแนวทางพุทธสันติวิธี: ศึกษากรณีเรือนจำพิเศษพัทยา ซึ่งเป็นการสร้างสันติสุขให้กับสังคมได้อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chitsawang, N. (2003). Offender recovery program. Bangkok: WattapongKarnpim. Department of Corrections. (2019). Government action planB.E. 2016-2019. Retrieved August 5, 2020, from http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER11/DRAWER052/GENERAL/

DATA0000/00000124.PDF

Department of Corrections. (2014) Operational Certification Manual Fiscal Year 2014, Level of Prison / Correctional / Detention Center / Detention Center, Administrative System Development Group Department of Corrections, Ministry of Justice. Bangkok: Correctional Printing House.

Ingkasarnmanee, P. (2008). Problems in performing work according to the correction of rehabilitation programs of the Department of Corrections. (Master’s Thesis). Faculty of Social Work: Thammasat University. Bangkok.

Paopeng, N. (2015). Problems in working among officers working for Pattaya Remand Prison and guidelines for inmates’ behavior correction. (Master Thesis). Graduate School of Public Administration: Burapha University. Chonburi.

Pattaya Remand Prison. (2020). BriefingPattayaRemand Prison. Chonburi: Pattaya Remand Prison.

PhrakhruPhisai pariyatikit, & Plodphal, S. (2018). Human resource development in the organization of practice Trisikkha. Journal of MCU Social Science Review, 3(2),62-75.

PhraDhammakosajara (Prayoon Dhammajitto). (2006). Buddhist management approach. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

PhraDhammapitaka (Prayudh Payutto). (2000). Buddhadhamma, revised and defined. PhraNakhon Si Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.

PhraDhammapitaka (P.A. Payutto). (1998). Human rights: Social harmony or social disintegration. (2nded.). Bangkok: Sahadhammic.

PhraBhramagunabhorn (P. A.Payutto). (2019). Buddhism develops people and society. Retrieved October 19, 2020, from http://www.seameo.org/vl/payutto/index.htm

PhraPaisal Visalo. (1999). PhraDhammapitaka and the future of Buddhism. Bangkok: Wuttitham Foundation for Education and Vipassana.

PhraUdomsittinayok (KumpholKunungkaro/Malai). (2016). Human resource development in Buddhist approach. Journal Social Science, MCU, 5(2), 387-395.

PhraWanchai Candasâro (Kothhanam). (2017) . Behavioral development of prisoners as the buddhist approaches towards sangdhambambat program at the penitentiary in Amnatchareon Province. Humanities and Social Sciences Journal, UbonRatchathaniRajabhat University, 8(1), 244-256.

Strategy and Plan Division. (2019). Civil service workforce plan 2020-2022. Bangkok: Department of Corrections, Ministry of Justice.