ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบองค์รวมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบองค์รวม สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบองค์รวม สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 28 คน ในภาคเรียนที่ 2/2562 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบองค์รวม ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการแนวคิด ทฤษฎี ความเชื่อและสมมติฐานของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) เนื้อหาและสื่อการเรียนรู้ 4) กิจกรรมการเรียนรู้และระบบสนับสนุน 5) การประเมินผล ซึ่งผู้วิจัยได้ออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับภาพความสัมพันธ์ของมโนทัศน์การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ขั้นที่ 2 ปฏิบัติ ขั้นที่ 3 สร้างองค์ความรู้ ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปและนำเสนอ ขั้นที่ 5 ประเมินผล ซึ่งผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้แบบองค์รวม 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ความเข้าใจ 2) ด้านสมรรถนะ 3) ด้านคุณค่า ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบองค์รวม สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 94.17 คะแนน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ที่กำหนด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Ausubel, P. (1963). The Psychology of Meaningful Verbal Learning. New York: Grune & Station Inc.
Dewey, J. (1967). Democracy and Education: an Introduction to the Philosophy of Education. New York: Free Press.
Gazette. (2010) . National Education Act B.E. 2542 amended (No. 2) 2002. Retrieved May 18, 2018, from http://www.person.mwit.ac.th
Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2000). Model of Teaching. 6th ed. Boston: Allyn and Bacon.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1990). The Action Research Planer. (3rd ed.) . Victoria: Deakin University.
Miller, R. (2000) . What Are Schools For? Holistic Education in American Culture. Brandon, VT: Holistic Education Press.
Ministry of Education. (2010). National Education Act B.E. 2542 Amended (No.2) B.E. 2545. Bangkok: Shipping Organization Printing House goods and packages.
Panit, W. (2018). Learning the Value of Life: Life is Learning, Learning is Life. Institution of Ashram Arts: Bangkok.
Piaget, J. ( 1972) . Epistemology of Interdisciplinary Relationships. Paris: Organization for Economic Cooperation and Development.
Suthirat, C. (2011). Authentic Learning. Nonthaburi: Sahamit Printing and Publishing.
Vygotsky, L. (1978). Interaction between learning and development. Readings on the development of children, 23(3), 34-41.