ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาชีพครู

Main Article Content

เฉลิมชัย โสสุทธิ์
สันติ วิจักขณาลัญฉ์
ประสาท เนืองเฉลิม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาชีพครู และ 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน โดยที่จำนวนผู้เรียนร้อยละ 70 มีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่กำลังในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 28 คน ใช้ระเบียบวิจัย เชิงปฏิบัติการประกอบด้วยวงจรปฏิบัติ 3 วงจร คือ วงจรที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 – 5 วงจรที่ 2 แผน การจัดการเรียนรู้ที่ 6 – 10 และวงจรที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 – 15 เวลาในการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด60 คาบ คาบละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บันทึกผลการจัดการเรียนรู้และกิจกรรม 2) แบบทดสอบท้ายวงจรที่ 1 – 3 และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาชีพครู ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาชีพครู สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ และ 2) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์เฉลี่ยร้อยละ 72.99 โดยที่นักศึกษาที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 71.43 ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการจัด การเรียนรู้แบบยืดหยุ่นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Casey, J., & Wilson, P. (2005). A practical guide to providing flexible learning in further and higher education. Quality Assurance Agency for Higher Education. Retrieved April 21, 2020, from http://www.enhancementthemes.ac.uk/docs/publications/a-practical-guide-to-providingflexible-learning-in-further-and-higher-education.pdf?sfvrsn=34

Commissioner of National Reform Steering Assembly. (2017). System Reform Plan for Higher education. N.P.

Dechakoop, P., & Yindeesuk, P. (2015). Learning Management in the 21st Century. Bangkok: Chulalongkorn Press.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. (3rd ed) . Victoria: Deakin University.

Khammanee, T. (2011). Pedagogy: Knowledge for Organizing the Learning Process with Efficiency. (14th ed.). Bangkok: Chulalongkorn Press.

Sakulpom, S. (2014). Development of Flexible Learning Model for Pre – Service Teachers. (Doctoral Dissertation). Kasetsart University. Bangkok.

Shurville, S., O’Grady, T., & Mayall, P. (2008). Educational and Institutional Flexibility of Australian Educational Software. Campus-Wide Information Systems, 25(2), 74-84.

Thongpitak, N. (2017). Development of Flexible Learning Management Model for Students in Lower Northeastern Rajabhat University. (Doctoral Dissertation) . Ubon Ratchathani Rajabhat University. Ubon Ratchathani.

Watson, J., & Johnson, L. K. (2011). Online Learning: A 21st Century Approach to Education, Bringing Schools into the 21st Century, Explorations of Educational Purpose 13. Retrieved April 25, 2020, from http://www.lifecircles-inc.com/Learningtheories/IP/GAMiller.html

Wijakkanalan, S. (2005) . Research Report Developing Flexible Forms of Learning Activities Through the eClassNet System. Khon Kaen: Faculty of Education Khon Kaen University.

_______. (2005). Innovational Teaching through flexible learning. Journal of Education Graduate Studies Research, KKU., 28