แนวโน้มการจัดการการศึกษาอิสลามขั้นพื้นฐานในจังหวัดชายแดนภาคใต้หลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19)

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี หลังปูเต๊ะ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • มูฮำหมัดราฟีร์ มะเก็ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

แนวโน้ม, การจัดการการศึกษาอิสลาม, สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid- 19)

บทคัดย่อ

จุดประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการจัดการการศึกษาอิสลามขั้นพื้นฐานในจังหวัดชายแดนภาคใต้หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19)

วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน ที่ได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดจากพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ประกอบด้วยผู้บริหารจำนวน 3 คน ครู จำนวน 6 คน  และผู้ปกครอง จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการจัดการการศึกษาอิสลามจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนครอบคลุมตั้งแต่ระดับนโยบายการศึกษาช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) รวมถึงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสมกับทิศทางการจัดการการศึกษาอิสลามขั้นพื้นฐานหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ได้แก่ 1) นโยบายการศึกษา 2) การจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ 3) การพัฒนาหลักสูตร หนังสือแบบเรียน และวัสดุ อุปกรณ์การจัดการเรียนการสอน 4) การอบรมครู 5) เทคนิคและวิธีการสอน และ 6) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิถีใหม่ภายใต้การจัดการการศึกษาอิสลามขั้นพื้นฐานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19)

การนำผลวิจัยไปใช้ เป็นแนวทางให้กับผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษาและบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในการปรับรูปแบบและวิธีการจัดการศึกษาต่อไปในอนาคตหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19)

Author Biography

สุวรรณี หลังปูเต๊ะ, คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

สาขาการสอนอิสลามศึกษา

References

Athikiat, K. and Sarthueankaew, T. (2007). kānsō̜n bǣp thansamai læ theknik withī sō̜n nǣo mai. [Modern teaching and innovative teaching techniques]. Retrieved 29 March 2021 from https://regis.skru.ac.th/RegisWeb/webpage/addnews/data/2017-07-24_078.pdf

Bunnamudom, P. (2020). hō̜ng rīan nai fan khō̜ng kānsưksā satawat thī yīsipʻet: botbāt samkhan khō̜ng hō̜ng rīan nai kān songsœ̄m kānrīanrū nai lōk samai mai. [Dream classroom in 21st century education: the role of classroom in Promoting in the New World]. Retrieved 28 January 2021 from https://www.educathai.com/knowledge/articles/123

House of Senate Education Standing Committee (2020). Khō̜sanœ̄ chœ̄ng nayōbāi rēngdūan wādūai kānbō̜rihān čhatkān sưksā ʻēkkachon nai chūang sathānakān kān rabāt khō̜ng rōk titchư̄a wairat khōrōnā sō̜ngphansipkāo (covid-19) thī mo̜som kap sangkhom Thai. [Urgent appropriate Policy recommendation on Private Education management in the Pandemic Covid-19 for Thai Society]. Bangkok: Office of Standing Committee 3, Office of House of Senate Secretary.

Jantharakantee, A. (2014). The Development of Pre-Service Science Teachers’ Attitude about Teacher Characteristics by Using Case Study of Teacher Somporn who Teaches Monkeys. Silpakorn University Journal, 34(1), 161-179.

Khemmanee, T. (2010). Sāt kānsō̜n: ʻongkhwāmrū phư̄a kānčhat krabūankān rīanrū thī mī prasitthiphāp. [Teaching Science: Knowledge for Effective learning Process]. Chulalongkorn University Publisher.

Kumsuprom, S. (2020 May, 5). phœ̄i kān rīankān sō̜n rabop ʻō̜nlai chalui hēt dek keng theknōlōyī. [Revealing the qualitative online teaching system Why kids are good at technology]. Retrieved 22 December 2020 from https://www.thaipost.net/main/detail/65137

Ministry of Education. (2020). Nǣothāng kānčhatkān rīan kānsō̜n khō̜ng rōngrīan sangkat samnakngān khana kammakān kānsưksā naphư̄n thān nai sathānakān kān phrǣ rabāt khō̜ng rōk titchư̄a wairat khōrōnā sō̜ngphansipkāo (COVID - 19) pīkānsưksā 2563. [Teaching management approaches in schools under the Office of the Basic Education Commission in the Pandemic Covid-19 for academic year 2020]. Office of the Basic Education Commission.

Pinyosinwatt, P. (2020, May, 7). čhatkān rīan kānsō̜n yāngrai nai sathānakān khō wit -19: čhāk botrīan tāngprathēt sū kānčhatkān rīanrū khō̜ng Thai [How to manage teaching and learning in the Pandemic Covid-19: Lesson learn from abroad to Thai learning management]. Retrieved 16 December 2020 from https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic/

Prachāchāt online. (2020, June, 16). Globish phœ̄i sī new normal nǣothāng kānsưksā Thai [Globish declared four New Normal Thai Educational Approaches]. Retrieved 28 December 2020 from https://www.prachachat.net/education/news-478376

Sittisamarn, S. (2020, July, 1). Rīan bǣp New Normal kō̜ tō̜ng plīan withī pramœ̄n dūai [New Normal Learning style must change evaluation method too]. Retrieved 19 November 2020 from https://mgronline.com/qol/detail/9630000067379

Tongkaew, T. (2020). New Normal Based Design in Education: Impact of COVID-19. Journal of Teacher Professional Development, 1(2), 1-10.

Wongyai. V. and Pattapol, M. (2020). Kānpramœ̄n kānrīanrū New normal. [Learning Assessment in New Normal]. Postgraduate Srinakharinwirot University.

Wongyai. V. and Pattapol, M. (2020). New normal thāngkān rīanrū [Learning in New normal]. Postgraduate Srinakharinwirot University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-06-2021

How to Cite

หลังปูเต๊ะ ส. ., & มะเก็ง ม. . (2021). แนวโน้มการจัดการการศึกษาอิสลามขั้นพื้นฐานในจังหวัดชายแดนภาคใต้หลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) . วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(1), 1–13. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/250389