“มนุษยสังคมสาร” ฉบับนี้มาพร้อมกับปกหน้า-หลังที่ออกแบบใหม่เพื่อให้สะท้อนถึงตัวตนของวารสาร ด้วยการใช้อักษรที่อ่านง่ายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และที่สำคัญคือได้ใช้โทนสีหลักๆ คือ สีม่วง-เหลือง ซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และสีแดง ซึ่งเป็นสีประจำของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดย “มนุษยสังคมสาร” จะใช้ปกที่ออกแบบใหม่นี้สำหรับทุกฉบับที่เผยแพร่ แต่จะเปลี่ยนเฉพาะในส่วนของตัวเลขปีที่พิมพ์ (Volume) และฉบับที่พิมพ์ (Issue) เท่านั้น

          “มนุษยสังคมสาร” ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2567) ฉบับนี้ประกอบด้วยบทความวิจัย จำนวน 10 บทความ เป็นบทความภาษาไทย จำนวน 8 บทความ และบทความภาษาอังกฤษ จำนวน 2 บทความ โดยแต่ละบทความได้ผ่านการ พิชญพิจารณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewer) จากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 ท่านตามข้อกำหนด นอกจากนั้น ทุกบทความก็ได้ผ่านการตรวจการคัดลอกผลงานและความซ้ำซ้อน (Plagiarism / Similar index) ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์แล้ว และผลการตรวจพบว่าบทความทั้งหมดในฉบับนี้มีความซ้ำซ้อนอยู่ระหว่างร้อยละ 1.00-15.00  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์และเงื่อนไขของวารสารทุกประการ

             กองบรรณาธิการวารสาร ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewer) จากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่ได้ประเมินทุกบทความตามหลักวิชาการ ขอขอบพระคุณผู้นิพนธ์บทความ (Authors) ที่ได้ให้เกียรติและความไว้วางใจทางวิชาการกับ “มนุษยสังคมสาร” ด้วยการส่งบทความมาตีพิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง พร้อมทั้งขอขอบพระคุณกองบรรณาธิการทุกท่านและทีมงานวารสารทุกคนที่ได้ทุ่มเททำงานเพื่อบริหารจัดการ “มนุษยสังคมสาร” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถสร้างความมั่นใจในในด้านคุณภาพวิชาการของวารสารให้กับผู้นิพนธ์ นักวิจัย และนักวิชาการตลอดจนถึงทุกส่วนฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ  ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจในการจัดทำวารสารของกองบรรณาธิการและทีมงานทุกคน จึงส่งผลให้ “มนุษยสังคมสาร” เป็นวารสารที่มีคุณภาพ และสามารถนำองค์ความรู้จากทุกบทความที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนี้ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้

 

                                                            รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม

                                                                                    บรรณาธิการ

เผยแพร่แล้ว: 27-08-2024

อัตลักษณ์ร่วมของผ้าทอลุ่มน้ำโขงไทย-ลาว

ปกกสิณ ชาทิพฮด, ญาณิกา แสนสุริวงค์, กิโต่ พมมะไกสอน, ไอลดา ทิพย์เสนา, ยุทธพิชัย วรรณสังข์

1-20

การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 พื้นที่อำเภอวานรนิวาสและอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร

แสนสุรีย์ เชื้อวังคำ, ธนกร ราชพิลา, นะกะวี ด่านลาพล, ปกกสิณ ชาทิพฮด, ศศิกานต์ สังข์ทอง, วาสนา แผลติตะ

41-60