การออกแบบเครื่องเรือน โดยการประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ ลวดลายผ้าพื้นเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลวดลายหัตถกรรมผ้าพื้นเมืองจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อออกแบบเครื่องเรือน จากการประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ลวดลายผ้าพื้นเมืองจังหวัดศรีสะเกษ 3) ประเมินความพึงพอใจจากการประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ลวดลายที่เหมาะสมในการออกแบบเครื่องเรือน ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตลักษณ์ลวดลายผ้าพื้นเมืองจังหวัดศรีสะเกษ มีลวดลายลักษณะเฉพาะถิ่น ใช้รูปแบบสีที่มีความงามเฉพาะที่คงไว้ซึ่งภูมิปัญญาที่สั่งสมมาจากอดีต 2) ลวดลายจากหัตถกรรมผ้าทอศรีสะเกษที่เหมาะสมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องเรือน ได้แก่ ลายขอ (= 4.20) ลายเชิงเทียนประยุกต์ ( = 4.18) และลายเชิงเทียนคู่ ( = 4.16) ในการออกแบบเครื่องเรือนมีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ผ้าพื้นเมือง จังหวัดศรีสะเกษ จากการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน โดยเก้าอี้ เป็นเครื่องเรือนที่คงความมีอัตลักษณ์มากที่สุด (= 4.37) และ 3) การประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง 100 คน พบว่า มีความพึงพอใจด้านรูปทรงและโครงสร้าง ( = 4.39) ด้านลวดลายและความงาม ( = 4.36)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Chatnuntaphorn, P. (2024). Study and development of souvenirs at community tourism spots according to the Kui cultural identity of Ban Rong Ra Prangku District, Sisaket Province. Journal of Humanities & Social Sciences (JHUSOC), 21(1), 40 – 59. doi.org/10.14456/jhusoc.2024.3 [in Thai]
Kaewphichit, S. (2008). Folk wisdom in producing Pak Thong Chai silk for developed into product standard products Community. [Master of Arts in Cultural Sciences Graduate School]. Mahasarakham University. [in Thai]
Leesuwan, W. (1989). Thai arts and crafts. Dan Suttha Printing. [in Thai]
Leesuwan, W. (1996). Folk arts and crafts. Compact Print. [in Thai]
Office of The National Econimic and Social Development Council. (2024). The Thirteenth plan (2023-2027). www.nesdc.go.th,
Saributr, U. (2007). Furniture design. Odeon Store. [in Thai]
Sikkha, S. (2011). Unique fabric patterns of Sisaket Province. Printing House Ubonkit Offset. [in Thai]
Siljaru, T. (2012). Research and analysis of statistical data using SPSS and AMOS (13th ed.). Bangkok Business R&D. [in Thai]
Suwanthada, P. (2014). Local woven fabric from southern Isan. Siritham Offset. [in Thai]
Wetsiyanan, T. (2005). Silk wisdom of the Khmer ethnic group, Ban Tha Sawang, Mueang [Graduate School Development Surindra]. Surindra Rajabhat University. [in Thai]