การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานทุนวัฒนธรรม ชุมชนเมืองโบราณเวียงลอ ตำบลลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทุนวัฒนธรรมชุมชนเมืองโบราณเวียงลอ และ 2) จัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานทุนวัฒนธรรมชุมชนเมืองโบราณเวียงลอ กลุ่มเป้าหมายหลักคือคนสามวัย ได้แก่ เด็กเยาวชน กลุ่มวัยแรงงาน และผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า เวียงลอเป็นเมืองที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และแหล่งโบราณคดีมากกว่า 1,000 ปี จึงอุดมไปด้วยมรดกทางศิลปวัฒนธรรม มีบุญประเพณีประจำปีที่สำคัญ คือ พิธีปูจาพญาลอ ประเพณียี่เป็งและล่องสะเปา พิธีเลี้ยงดงหมู พิธีสืบชะตาแม่น้ำอิง และประเพณีสิบสองเป็ง (เปตพลี) ฯลฯ และมีภูมิปัญญาท้องถิ่นหลากหลายซึ่งบ่งชี้อัตลักษณ์ของคนลุ่มน้ำอิง ผู้วิจัยได้นำทุนวัฒนธรรมมาใช้ในกระบวนการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดย (1) พัฒนาคู่มือมัคคุเทศก์สามวัย (2) พัฒนานักเล่าเรื่อง และ Ebook “ตามรอยเรื่องเล่าเมืองเก่าเวียงลอ” (3) พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวและโปรแกรมท่องเที่ยวชุมชนเมืองโบราณเวียงลอ และ (4) พัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ผ่านกลุ่ม “เวียงลอคราฟท์”
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination of the future. Tourism Management, 21, 97 – 116. [in Thai]
Charoensrirungrueng, R. (2020). Factors associated with participation active aging among elderly people in Krokphra district, Nakonsawan Provinec [Master’s thesis, Naresuan University]. NU Intellectual Repository.
https://shorturl.at/glCJ2. [in Thai]
Kanjanapan, A. (1995). Culture and development. Kansassana. [in Thai]
Keawtep, K. (2010 ). The management folk culture participate in research innovation. The Thailand Research Fund. [in Thai]
Office of the National economic and social development council. (2017). The Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). https://shorturl.asia/E1OND. [in Thai]
Prichanjit, S. (2004). Restoring community power through archaeological and museum resource management: concepts, methods, and experiences from Nan Province. Thammasat University. [in Thai]
Phukpoo, W. (2021). Cultural tourism development datterns : Case study of the cultural tourism prototype community of department of cultural promotion, Ministry of Culture. Department of Cultural Promotion. [in Thai]
Representative of Tourism Council of Thailand. (2023). The third Tourism Development Plan (2023 - 2027). https://shorturl.asia/OW59u. [in Thai]
Sanyawiwat, S. (2000). Theory and development strategy (2nd ed.). Chulalongkorn University. [in Thai]
World Health Organization. (2002). Active ageing: A policy framework. https://shorturl.asia/uAGK9