การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 พื้นที่อำเภอวานรนิวาสและอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาการสร้างมูลค่าสินค้าตามห่วงโซ่การผลิตผ้าย้อมคราม ในสถานการณ์โรคโควิด-19 คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง คือ ผู้ผลิตผ้าย้อมครามใน อ.วานรนิวาสและ อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร จำนวน 59 คน โดยการวิจัยแบบผสมผสาน การศึกษาบริบทชุมชนพบว่า การผลิตเน้นภูมิปัญญาดั้งเดิม สีไม่สม่ำเสมอ ผลิตภัณฑ์ไม่ตรงต่อความต้องการของตลาด และจำหน่ายได้น้อย การพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าพบว่า ความเสถียรของน้ำย้อมคราม มีอัตราส่วนคราม น้ำด่าง น้ำมะขาม เป็น 1:2:2 การพัฒนาครามผงพร้อมย้อม โดยการลดอนุภาคในระดับนาโนด้วย pin mill ผสมสารรีดิวซ์ในรูปแบบผง สามารถเก็บรักษาได้นาน วิธีการใช้ไม่ซับซ้อน การพัฒนาฟืมทอผ้าขยายขนาด 2.50 เมตร ได้ผ้าขนาดใหญ่ขึ้นแปรรูปได้หลากหลาย การพัฒนาทักษะการตัดเย็บด้วยการเพิ่มมิติ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความ แปลกใหม่ สามารถจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์ได้ การศึกษารายได้เฉลี่ยก่อนเข้าร่วมโครงการเท่ากับ 6,533.33 บาท/คน/เดือน และหลังสิ้นสุดโครงการมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 14,408.77 บาท/คน/เดือน ซึ่งเพิ่มขึ้น 7,875.44 บาท/คน/เดือน หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 50.92
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Ampansirirat, A., Wongchaiya, P. (2017). The Participatory Action Research: Key Features and Application in Community. Journal of Humanities and Social Sciences. Mahasarakham University, 36(6), 192-202.
Arthan, S., Lasopa, S. (2018). The development of Indigo Dye dyeing of cotton Fabric in Sakon Nakhon province by the chemical process [Research report]. Sakon Nakhon Rajabhat University. [in Thai]
Bunchai, K. (2020). A study on socio-economic impact assessment and adaptation of rural communities against the COVID 19 epidemic [Research report]. King Prajadhipok's Institute. [in Thai]
Intachai, S. (2020). Aerators with Indigo of productivity Indigo paste for Indigo Dyed cloth producer group. The 34th Conference of Mechanical Engineering Network of Thailand. Huahin: Prachuap Khiri Khan. [in Thai]
Keativipak, K. (2020). Study and Development Applies Products from Cotton Hand Made to Products Design, Case Study: The Cotton Hand Weaving Groups at Donluang Village, Amphur Pasang, Lamphun Province. The Fine & Applied Arts Journal, 11(1), 13-51. [in Thai]
Kunpluem, P. (2021). Business adaptation after the COVID-19 era. Journal of Politics, Administration and Law. Burapha University, 12(2), 99-110. [in Thai]
Saitong, A. (2006). Seminar on techniques for preparing indigo and natural indigo dyeing. Sakon Nakhon Rajabhat University. [in Thai]
Senathum, P. (2021). Strategic adaptation of local Mau-Hom cloth entrepreneurs during the Covid-19 pandemic in Phrae province [Research report]. Mae Fah Luang University. [in Thai]
Sittigul, S. (2014). Isolation, identification and microbial inoculum production for using in Indigo dyeing. Pibulsongkram Rajabhat University. [in Thai]
Sukkhamnert, D. (2021). Lecture documents on economic inequality analysis. Kasetsart University. [in Thai]
The Sakon Nakhon Provincial. (2021). Sakon Nakhon Province 5-year development plan. [in Thai]