พระนามของพระศรีมหาอุมาเทวีในคัมภีร์ศรีลลิตาสหัสรนาม ในมุมมองของคติชนวิทยาสามมิติ

Main Article Content

อาทิมา พงศ์ไพบูลย์
อรอุษา สุวรรณประเทศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพระนามของพระศรีมหาอุมาเทวีที่ปรากฏในคัมภีร์ศรีลลิตา สหัสรนาม ในมุมมองของคติชนวิทยาสามมิติ เป็นการวิจัยจากเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า พระศรีมหาอุมาเทวีเป็นเทวสตรีผู้มีความหลากหลายทางด้านพระนาม รูปลักษณ์ บุคลิกภาพ ทรงสำแดงองค์ได้หลายบทบาท มีปรากฏแพร่หลายในเทพปกรณัมทางศาสนาฮินดู สะท้อนถึงประวัติ ความเชื่อมโยงกับเทพเจ้าอื่น ๆ ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม วีรกรรมต่าง ๆ ทำให้ผู้สนใจได้เรียนรู้ผ่านเทพปกรณัม ด้วยสารสาระที่มีรายละเอียดและมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ทำให้พระศรีมหาอุมาเทวีมีพระนามที่ผู้คนเรียกขานเป็นจำนวนมาก ปรากฏในคัมภีร์ศรีลลิตาสหัสรนาม (Sri Lalita Sahasaranama) ถึง 1,000 พระนาม พระนามจากคัมภีร์นี้ได้มีผู้นำมาเป็นบทสวดมนตรา เพื่อใช้เจริญสติและสมาธิ สร้างพลังมันตระ สามารถนำไปสู่ความหลุดพ้นตามหลักศาสนาฮินดูได้ นอกจากนี้ความหมายของพระนามต่าง ๆ ยังสะท้อนคุณลักษณะส่วนพระองค์ของพระศรีมหาอุมาเทวีได้อย่างชัดเจน ได้แก่ คุณลักษณะพิเศษแห่งความเป็นมหาเทวีทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม บทบาทในฐานะชายาและศักติของพระศิวะ บทบาทในฐานะมารดาแห่งโลก ความเชื่อมโยงกับเทพเจ้าพระองค์อื่น และสะท้อนถึงสิ่งที่พระศรีมหาอุมาเทวีโปรดปราน

จากความหมายของพระนาม สามารถเชื่อมโยงได้ตามแนวคิดคติชนวิทยาสามมิติ ได้แก่ มิติแห่งปัจเจกบุคคล มิติแห่งสังคมและวัฒนธรรม และมิติแห่งเทพปกรณัม ทำให้เข้าใจปรากฏการณ์การนับถือพระศรีมหาอุมาเทวีมากขึ้น ทุกพระนามและทุกเทพปกรณัมล้วนเป็นบทเรียนของชีวิต มีบทบาทในการเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และจรรโลงจิตวิญญาณเพื่อให้มีพลัง มีกำลังใจและตั้งมั่นอยู่ในความดี ทั้งยังมีส่วนในการสร้างสังคมที่ดีต่อไป

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2558). เทวสตรี: คติพุทธ พราหมณ์ และความเชื่อในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2558ก). Pleroma เพลอโรมา. พิษณุโลก: สุรสีห์กราฟฟิค.

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2558ข). บางเรื่องจากข้อคิดงานเขียนประกอบการเรียนการสอนวิชาคติชนวิทยาของ กิ่งแก้ว อัตถากร. มปท.

แคทรียา อังทองกำเนิด. (2557). อาร์คีไทพ์อวตาร : ปรากฏการณ์ทางเทพปกรณัมในศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

แคมพ์เบลล์ โจเซฟ, และมอยเยอร์ส บิลล์. (2551). พลานุภาพแห่งเทพปกรณัม [The Power of Myth] (บารนี บุญทรง, ผู้แปล) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1991).

ประจักษ์ สายแสง, และเจือง ถิ หั่ง. (2560). ทวิภาวะ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 9(1), 1-36.

ประยูร อุลุชาฎะ [พลูหลวง]. (2530). เทวโลก. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

ศุภมาศ เชยศักดิ์. (2552). เทวีมาหาตมยะ : การบูชาสรรเสริญเทวีในวรรณคดีสันสกฤต (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัทรดิศ ดิศสกุล, หม่อมเจ้า. (2547). ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม. กรุงเทพฯ: มติชน.

อมเรศ ศิริวัฒน์. (2564). เทวีมาหาตมยะ พระเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่แห่งพระเทวี. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม.

อรอุษา สุวรรณประเทศ. (2555). กว้างกว่าโลก เหนือจักรวาล ขอบข่ายอันไพศาลของวิชาคติชนวิทยา. วิทยาจารย์, 111(3), 25-28.

อุปนิษัท: คัมภีร์เพื่อความสงบศานติ. (2553). (สวามี ประภาวนันทะ, และเฟดเดอริค แมนเชสเตอร์; กิ่งแก้ว อัตถากร, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1957).

ฮักสลีย์ แอลดัส. (2556). ปรัชญาอมตะ. (กิ่งแก้ว อัตถากร, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1944, 1945)

Bae, J. H. (2001). In a world of gods and goddesses: The mystic art of indra sharma. San Rafael, CA: Mandala Publishing.

Chinnaiyan, K. M. (2017). Shakti rising: Embracing shadow and light on the goddess path to wholeness. Oakland: Non-Duality Press.

Dehejia, H. (1999). Parvati: Goddess of love. Singapore: Maping.

Dharma, K. (2004). Beauty, power and grace: The many faces of the goddess. San Rafael, CA: Mandala Publishing.

Ellik, E. C. (2015). The shakti coloring book: Goddesses, mandalas, and the power of sacred geometry. Boulder: Sounds True.

Harding, E. U. (1993). Kali: The black goddess of dakshineswar. Berwick: Nicolas – Hays.

Huyler, S. P. (1999). Meeting god: Elements of Hindu devotion. New Haven, CT: Yale University Press.

Menon, T. V. N. (2011). The thousand names of the divine mother: Sri Lalita Sahasranama. (M.N. Namboodiri, Trans.) (9th ed.). Kerala, India: Mata Amritanandamayi Mission Trust. (Original work published 1996).

Zimmer, H. (1992). Myths and symbols in Indian art and cilization. Princeton, NJ: Princeton University Press.