การรักษาโรคด้วยพิธีกรรมการสู่ขวัญ: ความหมาย คุณค่า และตัวตนของคนไทยภาคเหนือและอีสาน

Main Article Content

สุรเชษฐ์ คูหาเลิศ
อรอุษา สุวรรณประเทศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาความหมาย คุณค่าของการรักษาโรคด้วยพิธีกรรมการสู่ขวัญ และภาพสะท้อนตัวตนของคนไทยภาคเหนือและอีสานจากการประกอบพิธีกรรมดังกล่าว โดยใช้วิธีการสังเคราะห์ข้อมูลทางคติชนวิทยา จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคด้วยพิธีกรรมการสู่ขวัญที่มีผู้ศึกษาไว้ก่อนแล้วในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2530-2560 ผลการศึกษาพบว่า การรักษาโรคด้วยพิธีกรรมการสู่ขวัญ เป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญต่อกลุ่มชนในสังคมวัฒนธรรมสุขภาพแบบพื้นบ้าน ในความหมายของ “พิธีกรรมการสู่ขวัญ” เป็นการเรียกขวัญให้กลับมาสู่ร่างกายของผู้ป่วย ส่งผลทำให้หายจากอาการเจ็บป่วย ซึ่งการรักษาโรคด้วยพิธีกรรมมีคุณค่าทางตรงเกี่ยวข้องกับการดูแล การป้องกัน และการรักษาโรคทางกายและจิตใจของผู้ป่วย และคุณค่าทางอ้อมเกี่ยวข้องกับการรักษาแบบแผนพฤติกรรมอันดีของคนในสังคมวัฒนธรรม อีกทั้งยังสะท้อนภาพตัวตนของคนไทยภาคเหนือและอีสานที่มี “ลักษณะร่วมกัน” ได้แก่ การเคารพสิ่งเหนือธรรมชาติ การเป็นสังคมเกษตรกรรม และ “ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน” ได้แก่ การใช้ภาษาถิ่นในพิธีกรรม นอกจากนี้ การรักษาโรคด้วยพิธีกรรมการสู่ขวัญ ยังเป็นกลไกทางสังคมวัฒนธรรมสำคัญในฐานะพลังขับเคลื่อนทางชีวิตและจิตวิญญาณ เพื่อช่วยให้มนุษย์ผ่านวิกฤตการณ์ในชีวิตไปได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้บุคคลสามารถเชื่อมโยงตนกับสังคม และเชื่อมโยงตนกับโลกธรรมชาติและระบบจักรวาล

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

กิตติภัทร อ่างบุญตา. (2549). การดูแลรักษาสุขภาพทางจิตโดยหมอสู่ขวัญในจังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2527). ลักษณะพิธีกรรมในสังคมไทย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาไทยคดีศึกษา: อารยธรรมหน่วยที่ 6-11. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กิ่งแก้ว อัตถากร, และธนรัชฎ์ ศิริสวัสดิ์. (2542). ความเชื่อ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 8 (คติชนวิทยาสำหรับครู: หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2552). พิธีกรรมคือการเชื่อมโยง. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 6(1), 1-9.

ขวัญฤทัย ธนารักษ์. (2549). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความเชื่อในพิธีกรรมเรียกขวัญของล้านนา และความต้องการจิตวิญญาณที่มีต่อสุขภาวะทางจิตวิญญาณ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จักรกฤษณ์ อู่ตุ้ม. (2557). การวิเคราะห์บทสู่ขวัญตามวัฒนธรรมล้านนา จังหวัดอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ญาวิณีย์ ศรีวงศ์ราช. (2544). การศึกษาแนวคิดเชิงปรัชญาเรื่อง "ขวัญ" ในวรรณกรรมพิธีกรรมล้านนา (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิตินันท์ พันทวี. (2544). การศึกษาพิธีกรรมท้องถิ่นในฐานะทุนวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญอีสาน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญธรรม ทองเรือง. (2536). วรรณกรรมคำสู่ขวัญอีสาน (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์. (2557). การสู่ขวัญ: พิธีกรรมแห่งชีวิตชาวไทลื้อที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 34(2), 23-42.

ปิยะพันธ์ สรรพสา. (2546). วิเคราะห์บทสู่ขวัญของชาวกูย อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ (วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยิ่งยง เทาประเสริฐ, และกันยานุช เทาประเสริฐ. (2547). ตำราการแพทย์พื้นบ้านล้านนาสาขาหมอพิธีกรรมบำบัด. เชียงราย: วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมราชบัณฑิต พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วิทยา ภูครองหิน. (2553). พิธีสู่ขวัญ: การอนุรักษ์และสืบสานพิธีกรรมจรรโลงใจของคนในสังคมอีสาน (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริพร สุวรรณศรี. (2536). ประเพณีการสู่ขวัญของชาวอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมพงษ์ จิตอารีย์. (2545). การศึกษาบทสู่ขวัญและพิธีสู่ขวัญของชาวไทลื้อ อำเภอปัว จังหวัดน่าน (วิทยานิพนธ์ศิลปศาศตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรเชษฐ์ คูหาเลิศ. (2558). กระบวนการรักษาโรคและบทบาทหน้าที่ของหมอพิธีกรรมพื้นบ้านในอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุรเชษฐ์ คูหาเลิศ, และอรอุษา สุวรรณประเทศ. (2561). ภูมิปัญญาการรักษาโรคที่ปรากฏในวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน. ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2561 (น. 366-376). อุบลราชธานี:มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สุวิภา จำปาวัลย์, และชัปนะ ปิ่นเงิน. (2560). พิธีกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ไทยวน ไทใหญ่: การดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงภายใต้อิทธิพลของสังคมโลกาภิวัตน์. ใน เอกสารประชุมวิชาการการรักษาโรคกับการใช้ยาสมุนไพรในวัฒนธรรมไทย-ไท (น. 21). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายหยุด บัวทุม, กาญจนา วิชญาปกรณ์, และประจักษ์ สายแสง. (2560). บทสู่ขวัญหลวงของลาวกับอีสาน: โครงสร้างทางวรรณกรรมและบทบาทหน้าที่. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(1), 29-45.

อานันท์ กาญจนพันธุ์, และฉลาดชาย รมิตานนท์. (2533). พิธีกรรมและความเชื่อในการรักษาพยาบาลพื้นบ้านภาคเหนือ. ใน ลือชัย ศรีเงินยวง (บ.ก.), พฤติกรรมสุขภาพ: รวมบทความจากการประชุมวิชาการพฤติกรรมสุขภาพครั้งที่ 1 (น. 113-124). กรุงเทพฯ: ศูนย์ประสานงานทางการแพทย์และสาธารณสุข.

อุดม พลเสน. (2547). ศึกษาการสู่ขวัญของหมอสูตรบ้านสันติสุข ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อนุศาสน์ ป้องศิริ. (2548). บทบาทหมอสู่ขวัญ กรณีอำเภอปากชม จังหวัดเลย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.