การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมในนิทานเมียนมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการจำแนกประเภทและความถี่ของการเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมในนิทานเมียนมา โดยใช้ข้อมูลนิทานเมียนมาจากหนังสือรวมเล่มนิทานนุหยี่ง (နုယဉ်ပုံပြင်ပေါင်းချုပ်) จำนวน 30 เรื่อง ผลการศึกษาพบประเภทของการเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อม โดยเรียงลำดับความถี่ที่ปรากฏจากมากไปน้อย ได้แก่ การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมแบบแสดงลำดับเวลา (ร้อยละ 65) ปรากฏความถี่มากที่สุด เนื่องด้วยตัวบทนิทานเมียนมาของนุหยี่ง เป็นลักษณะที่เล่าเรียงตามลำดับเวลา เพื่อให้ผู้ฟังและผู้อ่านเข้าใจต่อเนื้อหาโดยง่าย รองลงมาคือ การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมแบบแสดงเหตุแสดงผล (ร้อยละ 12.27) การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมแสดงจุดหมาย (ร้อยละ 8.31) การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมแสดงเงื่อนไข (ร้อยละ 6.11) การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมแบบคล้อยตาม (ร้อยละ 4.93) และการเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมแบบขัดแย้ง (ร้อยละ 3.38) ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุฑามาศ มีชูวาศ. (2549). การเชื่อมโยงความในวรรณกรรมค่าวซอภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชลธิชา บำรุงรักษ์. (2558). ระบบข้อความ. ใน ดียู ศรีนราวัฒน์, และชลธิชา บำรุงรักษ์ (บ.ก.), ภาษาและภาษาศาสตร์ (น. 133-168). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ซัลมาณ ดาราฉาย, และวรวัช วาสนปรีชา. (2562). การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมในคำวินิจฉัยทางศาสนาอิสลามภาษาไทยของจุฬาราชมนตรี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 11(1), 338-357.
นิโลบล ศิริยุทธ. (2560). การเชื่อมโยงความระหว่างพาดหัวข่าวกับความคิดเห็นของผู้อ่านในเพจ
เฟซบุ๊ก “เรื่องเล่าเช้านี้” (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ภัทรวดี อุทธา. (2555). การเชื่อมโยงความในวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานเรื่อง ขูลูนางอั้ว (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Halliday, M.A.K., & Hasan, R. (1976). Cohesion in English. London: Longman.
Nuyin. (2012). Nuyin ponepyin paungchount [နုယဉ်ပုံပြင်ပေါင်းချုပ်]. Yangon, Myanmar: Synergy Publications.