อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของศาสนาพุทธและคริสต์ในภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบมโนทัศน์และถ้อยคำอุปลักษณ์ที่สะท้อนมโนทัศน์ของศาสนาพุทธและคริสต์ในภาษาไทย โดยศึกษาจากถ้อยคำอุปลักษณ์ที่ปรากฏในงานเขียนทางวิชาการ งานเขียนกึ่งวิชาการ เรื่องแต่ง หนังสือพิมพ์ และเบ็ดเตล็ดในคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติของภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฎีอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ ผลการวิจัยพบว่า อุปลักษณ์ศาสนาพุทธและคริสต์สามารถจำแนกเป็น 2 มโนทัศน์หลัก ได้แก่ [ศาสนา คือ สิ่งมีชีวิต] และ [ศาสนา คือ สิ่งที่ไม่มีชีวิต] ทั้งนี้ ศาสนาพุทธและคริสต์มีอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ย่อยที่เหมือนกัน 5 มโนทัศน์ ได้แก่ [ศาสนา คือ แบบเรียน] [ศาสนา คือ สิ่งปลูกสร้าง] [ศาสนา คือ สถานที่ปิดล้อม] [ศาสนา คือ ครู] และ [ศาสนา คือ ผู้มีอำนาจ] ส่วนอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ย่อยที่แตกต่างกันของทั้งสองศาสนาคือ [ศาสนาพุทธ คือ ผู้ช่วยเหลือ] และ [ศาสนาพุทธ คือ พืช] ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า คนไทยมองศาสนาพุทธแตกต่างจากศาสนาคริสต์ กล่าวคือ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่พึ่งพาได้ แต่ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นศาสนาที่ต้องได้รับการทำนุบำรุงให้ดำรงอยู่ต่อไปเช่นกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2507). ประวัติกระทรวงศึกษาธิการ 2435-2507. พระนคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
คทาวุธ โลกาพัฒนา. (2542). 50 ปี โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน 1949-1999. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน.
เดือน คำดี. (2541). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา.
พระมหาธิติ อนุภทฺโท (พิมพ์เสน). (2553). การศึกษาวิเคราะห์อุปลักษณ์ในหนังสือพระปฐมสมโพธิ ตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นันทนา วงษ์ไทย. (2555). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับความตายในภาษาไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 31(1), 43–64.
ประทีป ฉัตรสุภางค์, และวรยุทธ ศรีวรกุล. (2560). ศาสนาคริสต์. ใน พิเชฎฐ์ กาลามเกษตร (บ.ก.), วิถีชีวิต 5 ศาสนิกในประเทศไทย. (น.131-174). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2555). ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ: หนึ่งกระบวนการสามองค์ประกอบของการศึกษาพุทธวิชชา. วารสารพุทธศาสน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 19(1), 3–7.
ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์. (2559). อุปลักษณ์เชิงรูปธรรม (Ontological Metaphor) ในภาษาไทย. รมยสาร, 14(1), 65-73.
ปิยภรณ์ อบแพทย์. (2542). อุปลักษณ์เกี่ยวกับชีวิตในหนังสือธรรมะ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผาสุก อินทราวุธ. (2547). ดาวดึงส์: สวรรค์ของศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาพุทธ?. ดำรงวิชาการ, 3(5), 96-110.
พนมกร คำวัง. (2560). ปรัชญาประเพณีของศาสนาคริสต์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย. วารสารพุทธมัคค์, 2(1), 15-21.
พุทธรักษ์ ปราบนอก. (2558). ศาสนาโลก. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 32(3), 49-69.
ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). คลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ 3 (Thai National Corpus II). สืบค้น 20 มิถุนายน 2564, จาก http://www.arts.chula.ac.th/~ling/TNCII/corp.php
ยมลภัทร ภัทรคุปต์. (2553). อุปลักษณ์ความตายในหนังสือธรรมะ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยอด เนตรสุวรรณ. (2564). ร่วมราก ร่วมนครา สานศรัทธา “อาเซียน” พราหมณ์-ฮินดู พุทธ. สืบค้น 24 มิถุนายน 2565, จาก http://article.culture.go.th/index.php/template-features/243-2021-03-24-09-30-49
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
วรเดช อมรวรพิพัฒน์. (2560). พระพุทธศาสนา. ใน พิเชฎฐ์ กาลามเกษตร (บ.ก.), วิถีชีวิต 5 ศาสนิกในประเทศไทย. (น. 19-64). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ. (2555). กิเลส: การศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในภาษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์, 19(2), 24-41.
ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์. (2562). นิสัย: การศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ ตามแนวอรรถศาสตร์ปริชานและวัจนปฏิบัติศาสตร์. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 41(1), 23-42.
สโรช สันตะพันธุ์. (2548). บทบาทของคริสตศาสนจักรโรมันคาธอลิกในระบบการเมืองยุโรปยุคกลาง. สืบค้น 23 มิถุนายน 2565, จาก http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=767
สาโรจน์ บัวพันธุ์งาม. (2559). อิทธิพลของคำยืมภาษาบาลีและสันสกฤตต่อภาษาไทย. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 35(1), 105-124.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2541). ประวัติศาสตร์ศาสนา. กรุงเทพฯ: อักษรพิทยา.
สุรพศ ทวีศักดิ์. (2561). พุทธ พราหมณ์ ผีไทยๆ คือ ‘ความหลากหลาย’ จริงหรือ?. สืบค้น 24 มิถุนายน 2565, จาก https://thestandard.co/thai-religion/
แสง จันทร์งาม. (2542). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
อนันตชัย ขันโพธิ์น้อย. (2560). ความทุกข์ในอริยสัจ 4. วารสารพุทธจิตวิทยา, 2(2), 45-58.
อมรา พงศาพิชญ์. (2519). พุทธศาสนาชาวบ้าน. วารสารสังคมศาสตร์, 13(3), 27-44.
เอกพล ดวงศรี. (2561). กรรม : อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่สะท้อนความเชื่อในสังคมไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 86-102.
Claudi, U., & Heine, B. (1986). On the Metaphorical Base of Grammar. Studies in Language, 10 (2), 297-335.
Eakapont, T. & Wongpinunwatana, W. (2014). Metaphors on Suffering in Thai Language. In Proceedings of the 15th Graduate Research Conferences (pp. 2330-2339). Khonkaen: Khonkaen University.
Evan, V. & Green, M. (2006). Cognitive Linguistics: An Introduction. Edinburgh: Edinburgh University Press.
Kövecses, Z. (2010). Metaphor: A Practical Introduction. (2nd ed.) Oxford: Oxford University Press.
Lakoff, G. & Johnson, M. (1980). Metaphors We Live By. Chicago: The University of Chicago Press.
Lakoff, G., & Turner, M. (1989). More than Cool Reason: A Field Guide to Poetic Metaphor. Chicago: The University of Chicago Press.
Ungerer, F., & Schmid, H. J. (1996). An Introduction to Cognitive Linguistics. New York: Longman.