การวิเคราะห์ระบบใจความหลักของข้อความเกี่ยวกับภาษีบนทวิตเตอร์ (X)

Main Article Content

วิชชกานต์ เมธาวิริยะกุล
เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาหน้าที่ด้านตัวบทของภาษาที่ปรากฏในข้อความเกี่ยวกับภาษีของคนไทยบนทวิตเตอร์ และมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบใจความหลัก กลุ่มตัวอย่างข้อมูลคือ ข้อความเกี่ยวกับภาษีในระหว่างปี 2562-2563 จำนวน 1,447 ทวีต โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์ระบบใจความหลักของ Halliday and Matthiessen (2004, 2014) และ Patpong (2006, 2009) ผลการศึกษาพบใจความหลักแสดงเรื่องมากที่สุด จำนวน 984 ทวีต (ร้อยละ 68) โดยพบชนิดกระบวนการที่เกี่ยวกับการกระทำในใจความหลักแสดงเรื่องมากที่สุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นการใช้คำกริยาในใจความหลักโดยละประธานหรือผู้กระทำที่ผู้เขียนและผู้อ่านรับรู้ร่วมกัน อันดับที่สองพบใจความหลักแสดงปฏิสัมพันธ์ จำนวน 309 ทวีต (ร้อยละ 21) โดยพบคำอ้างถึงที่เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 1 มากที่สุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นพวกพ้องระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน อันดับสุดท้ายคือใจความหลักแสดงตัวบท จำนวน 154 ทวีต (ร้อยละ 11) โดยพบคำเชื่อมความแสดงการคาดคะเนมากที่สุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความคาดหวังของผู้เขียนข้อความ นอกจากนี้ผลการวิจัยได้สะท้อนความคิดเกี่ยวกับภาษี 3 ประการ ได้แก่ 1) การเสียภาษี 2) ภาษีกับรัฐบาล และ 3) ภาษีกับข้าราชการ

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

กุลธิดา กลิ่นเฟื่อง. (2544). การใช้คำอ้างถึงบุรุษที่ 1 และคำลงท้ายในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิตติมา ลิ้มกระยารส. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีเงินได้ (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนกพร อังศุวิริยะ. (2560). วาทกรรมการเงิน: สินเชื่อจากสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(1), 95-106.

ณฐ อังศุวิริยะ. (2562). ภาษากับอุดมการณ์ทางการเงินในสื่อโฆษณาการเงินทางโทรทัศน์ไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 39(2), 32-51.

ธร ปีติดล. (2560). เปลี่ยนแปลงอนาคตประเทศไทยด้วยการปฏิรูปภาษี. สืบค้น 24 สิงหาคม 2563, จาก https://www.the101.world/tax-reform-proposal/

ธวัช คําทองทิพย์. (2561). การชมในเฟซบุ๊กของชาวญี่ปุ่น. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 8(3), 131-144.

ปะการัง ชื่นจิตร. (2557). วัฒนธรรมในระบบภาษีของไทย (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

เปิดฐานผู้เสียภาษีเงินได้บุุคคลธรรมดาล่าสุดปี’57 คนไทย 66 ล้านคน ยื่นภาษี 10 ล้านคน มีแค่มนุษย์เงินเดือน 4 ล้านคนจ่าย เก็บได้ 3 แสนล้านบาท. (2559, 11 มกราคม). ไทยพับลิก้า. สืบค้น 3 เมษายน 2565, จาก https://thaipublica.org/2016/01/personal-income-tax-structure-29/

พรวิภา ไชยสมคุณ. (2560). การวิเคราะห์โฆษณาประเภทเรื่องเล่าของสินค้าเพื่อสุขภาพ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 34(3), 118-145.

พิจิตรา อินคาคร. (2551). มูลเหตุของการไม่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: กรณีศึกษาผู้เสียภาษีที่อยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบของสํานักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 10 (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต. (2561). วาทกรรมบนเว็บไซต์เฟซบุ๊กระหว่างอาจารย์และนิสิตในกลุ่มรายวิชาภาษาศาสตร์เบื้องต้น. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 10(1), 59-79.

มณทิรา ลือสระน้อย. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีในอําเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ(การศึกษาค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มาริญญา นวลสะอาด. (2561). ปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสินค้าจับต้องไม่ได้ ทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิชชกานต์ เมธาวิริยะกุล, เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต, และศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์. (2563). การวิเคราะห์หัวข้อข่าวสรรพากร: มิติอภิหน้าที่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(6), 99-114.

ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับภาพตัวแทนทัวร์จีนในเว็บไซต์พันทิป: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 41(2), 23-44.

สมรักษ์ มุกดา. (2553). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษา จังหวัดภูเก็ต (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2563). ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาล. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.fpo.go.th/main/Statistic-Database.aspx

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2565). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้น 30 เมษายน 2565, จาก https://dictionary.orst.go.th/

สิริลักษณ์ หุ่นศรีงาม. (2544). การศึกษาประโยคภาษาไทยที่มีคำว่า “ทำไม” ทางด้านอรรถศาสตร์และวัจนปฏิบัติศาสตร์ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หนี้สาธารณะ: นักเศรษฐศาสตร์เห็นพ้องเพิ่มเพดานหนี้ แต่รัฐบาลต้องใช้เงินให้เกิดประโยชน์. (2564, 21 กันยายน). บีบีซี นิวส์ ไทย. สืบค้น 3 เมษายน 2565, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-58638110

อธิภัทร มุทิตาเจริญ. (2561). มองย้อน ‘ภาษีไทย’ จากข่าวฟ่าน ปิงปิง. สืบค้น 24 สิงหาคม 2563, จาก https://www.chula.ac.th/cuinside/13686/

Arunsirot, S. (2013). An analysis of textual metafunction in Thai EFL students’ writing. Novitas-ROYAL (Research on Youth and Language), 7(2), 160-174.

Au-on, S., Trakulkasemsuk, W., & Vungthong, S. (2017). Who is burning down Rohingya villages? The portrayal of Rohingya in media through transitivity analysis. Reflections, 24, 20-35.

Bräutigam, D. A. (2008). Introduction: Taxation and state-building in developing countries. In D. Brautigam, O. H. Fjeldstad, and M. Moore (Eds.), Taxation and state-building in developing countries: Capacity and consent (pp. 1-33). Cambridge: Cambridge University Press.

Halliday, M. A. K., & Matthiessen, C. M. I. M. (2004). An introduction to functional grammar (3rd ed.). London: Hodder Arnold.

Halliday, M. A. K., & Matthiessen, C. M. I. M. (2014). Halliday's introduction to functional grammar (4th ed.). Oxon: Routledge.

Hui, M. (2020). People in Thailand distrustful of Twitter are flocking to a crypto social network instead. Retrieved July 11, 2020, from https://qz.com/1860804/thai-users-ditch-twitter-for-crypto-social-network-minds/

Hutchinson, L. (2017). Writing to have no face: The orientation of anonymity in Twitter. In D. M. Walls, and S. Vie (Eds.), Social writing/social media: Publics, presentations, and pedagogies (pp. 179-207). Colorado: University Press of Colorado.

Jeeraumporn, J. (2015). A comparison of narrative discourse between typically developing children and children with autism: A systemic functional linguistic approach (Doctoral dissertation). Nakhon Pathom: Mahidol University.

Khwaja, M. S., & Iyer, I. (2014). Revenue potential, tax space, and tax gap: A comparative analysis. Policy Research Working Paper No.6868. Washington, DC: World Bank.

Kongpolphrom, N. (2013). A textual structure analysis of English argumentative essays on tourism (Doctoral dissertation). Nakhon Pathom: Mahidol University.

Nakim, T. (2010). A discourse analysis of Thai historical texts from Sukhothai period to the present: Systemic functional approach (Doctoral dissertation). Nakhon Pathom: Mahidol University.

OECD. (2019a). Public comments on the discussion draft on “What is driving tax morale?” Retrieved January 31, 2021, from https://www.oecd.org/tax/tax-global/compilation-public-comments-what-is-driving-tax-morale.pdf

OECD. (2019b). Tax morale: What drives people and businesses to pay tax? Retrieved January 31, 2021, from https://www.oecd-ilibrary.org/sites/552896d8-en/index.html?itemId=/content/component/552896d8-en

Osiri, S. (2013). A discourse analysis of Tai Dam ritual procedural texts (Master’s thesis). Nakhon Pathom: Mahidol University.

Patpong, P. (2006). A systemic functional interpretation of Thai grammar: An exploration of Thai narrative discourse (Doctoral dissertation). Sydney: Macquarie University.

Patpong, P. (2009). Thai persuasive discourse: A systemic functional approach to an analysis of amulet advertisements. Revista Alicantina de Estudios Ingleses, 22, 195-217.

Peddinti, S. T., Ross, K. W. & Cappos, J. (2017). User anonymity on Twitter. IEEE Security & Privacy, 15(3), 84-87.

Potter, L. (2016). Ideological representations and theme-rheme analysis in English and Arabic news reports: A systemic functional approach. Functional Linguistics, 3(5), 1-20.

Pugsee, P., & Niyomvanich, M. (2015). Sentiment analysis of food recipe comments. ECTI Transactions on Computer and Information Technology, 9(2), 182-193.

Riani, D. (2015). An analysis of themes in “the magic” and its indonesian translation (a systemic functional grammar approach). Passage, 3(1), 40-55.

Smyth, A. H. (1907). The writings of Benjamin Franklin. New York: Macmillan.

Sungroong, P. (2015). A multimodal analysis of the use of English, Thai and images in meaning making on Thai magazine covers (Doctoral dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University.

The World Bank. (2022). Tax revenue (% of GDP) - Thailand. Retrieved April 3, 2022, from https://data.worldbank.org/indicator/GC.TAX.TOTL.GD.ZS?end=2019&locations=TH&most_recent_value_desc=false&start=1972&view=chart

Van Dijk, T. A. (1998). Ideology: A multidisciplinary approach. London: Sage.

Zappavigna, M. (2011). Ambient affiliation: A linguistic perspective on Twitter. New Media & Society, 13(5), 788-806.